Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
COCOCO ไตรมาส 1/68 โกยรายได้ 1,550 ลบ. ลุยขยายตลาดตปท.
MAI
NCP สุดฮอต! Q1/68 กำไรโตแรง 112%
IPO
NUT จัดคิวโรดโชว์ เดินหน้าเข้า mai
บล./บลจ
Webull ฉลองครบรอบ 9 ปี ประกาศความสำเร็จในไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
คลังแถลงความพร้อมจัดงาน 150 ปี กระทรวงการคลัง
การค้า - พาณิชย์
กต. ยกระดับตรวจสอบสินค้าส่งออก
พลังงาน - อุตสาหกรรม
WEH จ่อคลอดหุ้นกู้ชุดใหม่ ชูดอกเบี้ยสูง 7.20%
คมนาคม - โลจิสติกส์
PROSPECT REIT โชว์อัตราเช่าสูง 96% ไม่หวั่นต่างชาติย้ายฐานผลิต
แบงก์ - นอนแบงก์
CIMBT เปิดรับที่ปรึกษาการเงิน เสริมแกร่ง ‘Wealth Management’
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
TIDLOR ผลงาน Q1/68 แข็งแกร่ง โชว์กำไรนิวไฮ 1,218 ล.
SMEs - Startup
SCB TechX รับไลน์เซ่นบริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลฯ
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต คว้ารางวัลสุดยอดองค์กรธุรกิจไทย
รถยนต์
เมอร์เซเดส-เบนซ์ ปล่อยแคมเปญ “เปลี่ยนยางฯ 4 เส้น จ่ายเพียง 3 เส้น”
ท่องเที่ยว
หอการค้ากระบี่ หนุนสร้างเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวกระบี่ ช่วงโลว์ซีซัน
อสังหาริมทรัพย์
PROUD โชว์รายได้ Q1/68 พุ่ง 58% ทะลุ 1,693 ลบ.
การตลาด
KBank X POP MART เปิดตัวบัตรเดบิต CRYBABY ใช้ก็คุ้ม พกก็คิวท์
CSR
SCB TechX รับไลน์เซ่นบริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลฯ
Information
วิริยะประกันภัย คว้ารางวัล “สุดยอดนวัตกรรมสินค้าและบริการแห่งปี 68”
Gossip
GFC ทำผู้ถือหุ้นใจฟู รอรับทรัพย์ 27 พ.ค.นี้
Entertainment
SCBX จัดนิทรรศการ “ตามรอยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ฯ เจ้าฟ้านักอนุรักษ์”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
SCB EIC ส่องอุตฯอิเล็กทรอนิกส์ทรงตัว รับผลกระทบศก.โลกชะลอตัว
2023-06-21 20:52:54
185
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – SCB EIC ประเมินอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปี 66 มีแนวโน้มทรงตัว แต่ยังต้องจับตาความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 นางสาวจิรภา บุญพาสุข นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2566 มีแนวโน้มทรงตัว สอดคล้องกับการชะลอตัวลงของภาวะเศรษฐกิจโลกและความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกมีแนวโน้มชะลอลง โดยในปี 2565 มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมขยายตัว 5.1% จากปีก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยหนุนจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางประเภทที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก อาทิ แผงวงจรไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า และเซมิคอนดักเตอร์
สำหรับปี 2566 คาดว่ามูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมมีแนวโน้มทรงตัวจากปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ 0.2% จากปีก่อน สอดคล้องกับความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกมีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ชะลอลงจากปีที่ผ่านมา ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากนโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัวต่อเนื่อง และค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้า Consumer electronics ขณะที่ความต้องการฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ทยอยปรับตัวลดลงจากการถูก Disrupt ของ SSD ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และความต้องการคอมพิวเตอร์ที่เข้าสู่ภาวะอิ่มตัวใน Cycle รอบนี้ รวมทั้งยังมีแรงฉุดจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภทจากไทย
ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มเติบโตได้ดีในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกนำไปใช้ในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ขณะที่ Consumer electronics ชะลอลงตามความต้องการคอมพิวเตอร์ที่เข้าสู่ภาวะอิ่มตัวใน Cycle นี้ โดยอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คาดมูลค่าการส่งออกในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องที่ 5.9% จากปีก่อน โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำคัญ อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ และแผงวงจรพิมพ์ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตสอดคล้องไปกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
ในส่วนของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ คาดมูลค่าการส่งออก HDD ในปีนี้มีแนวโนมหดตัวต่อเนื่องที่ -13.1% จากปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการ HDD ที่ลดลงและจากการถูก Disrupt ของการใช้ Solid State Drive (SSD) ในการจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรม Consumer electronics มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มหดตัวอยู่ที่ -1.9% จากปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความต้องการซื้อคอมพิวเตอร์ที่เริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัวสำหรับ Cycle ของการซื้อรอบนี้ และกำลังซื้อ
ของผู้บริโภคในตลาดโลกที่เริ่มชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า คาดมูลค่าการส่งออกในปีนี้คาดว่าสามารถขยายตัวต่อเนื่องที่ 2.4% จากปีก่อน โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็นที่ใช้ในครัวเรือน และเครื่องซักผ้า ตามลำดับ ทั้งนี้ยังคงต้องติดตามนโยบายการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่อาจส่งผลให้ไทยส่งออกเครื่องใช้ฟ้าไปยังสหรัฐฯแทนจีนได้มากขึ้น ในส่วนของอุตสาหกรรมไฟฟ้ากำลังหรือ Power electronics คาดมูลค่าการส่งออกในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ราว 4.9% จากปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้างโรงไฟฟ้าทั้งในตลาดโลกและอาเซียน
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังมีประเด็นที่ต้องจับตาจากสถานการณ์การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ กระแสการย้ายฐาน การผลิต และมาตรการกีดกันทางการค้าต่าง ๆ ทั้งภาษีและมิใช่ภาษี โดยภาวะการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์โลกเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่เริ่มชะลอลง ประกอบกับอุปทานที่เริ่มเข้ามาเติมในตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาดังกล่าวยังคงส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าขั้นปลายในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
ขณะที่ความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์และกระแสการย้ายฐานการผลิต ความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการออกกฎหมาย CHIPS act ซึ่งเท่ากับเป็นการต่อยอดสงครามทางเทคโนโลยี (Tech war) กับจีนที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2562 ทั้งนี้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดกระแสการย้ายฐานการผลิตและส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก
นอกจากนี้ มาตรการกีดกันทางการค้าในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศคู่ค้า ยังคงต้องจับตาการขยายมาตรการ Safeguard เครื่องซักผ้าของสหรัฐฯ ที่ปกป้องการนำเข้าสินค้าเครื่องซักผ้าและส่วนประกอบของไทย ขณะที่แรงกดดันด้าน ESG ต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งกฎระเบียบและเงื่อนไขทางการค้าที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ความต้องการที่เปลี่ยนไป
ทั้งนี้ SCB EIC มองว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ ดังนี้ 1.กระจายความเสี่ยงในการจัดหาวัตถุดิบและย้ายฐานการผลิต ผู้ประกอบการมีการกระจายความเสี่ยงด้วยการจัดหาชิ้นส่วนจากประเทศอื่นมากขึ้น รวมถึงมีการวางแผนสต็อกชิ้นส่วนในการผลิตและการจัดทำแผนความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงในการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต, 2.พัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของแรงงาน การให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของแรงงาน ทั้งในส่วนการปรับทักษะ (Reskill) หรือเพิ่มทักษะ (Upskill) รวมถึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาแรงงานให้มีทักษะที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อยกระดับทักษะด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นต้น และ 3.การตั้งเป้าหมายและปฏิบัติตามหลัก ESG โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร การวางนโยบายร่วมกับซัพพลายเออร์ของบริษัท และการร่วมมือทางธุรกิจกับ "Eco Partners" ที่ได้รับการรับรองมากขึ้น
COCOCO ไตรมาส 1/68 โกยรายได้ 1,550 ลบ. ลุยขยายตลาดตปท.
MOSHI โชว์ผลงาน Q1/68 กำไรโต 24.4%
TEGH โชว์รายได้ Q1/68 แตะ 5,667 ลบ. กำไรสุทธิ 176 ลบ.
SINO โค้งแรก ทำกำไรสุทธิ 27 ล้านบาท พุ่ง 440%
PLUS ส่งซิกยอดขายไตรมาส 2-3/68 โตแรง
FTI รายได้โค้งแรกปี 68 ที่ 203.78 ลบ.