Phones





ธอส. ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 30401 และมาตรฐาน ISO56002

2024-02-14 19:59:10 66



 
นิวส์ คอนเน็คท์ - ธอส. รับมอบประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐาน ISO 30401 ขอบเขตทั่วทั้งองค์กรและมาตรฐาน ISO 56002 ขอบเขตระบบนวัตกรรมองค์กรและการนำไปปฏิบัติของธนาคาร สะท้อนความเป็นเลิศในการบริหารจัดการองค์กรด้วยการจัดการความรู้ที่เป็นระบบทั่วทั้งองค์กร และนวัตกรรมที่เป็นมาตรฐานสากล
 
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง กรรมการธนาคาร ในฐานะประธานกรรมการกำหนดกลยุทธ์และนโยบายทางด้าน IT และนวัตกรรม ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ธอส. เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการความรู้ (ISO 30401) ขอบเขตทั่วทั้งองค์กร และเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) แห่งแรกของไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการนวัตกรรม (ISO56002) ขอบเขตระบบนวัตกรรมองค์กรและการนำไปปฏิบัติของธนาคาร จากบริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด
 
ด้านนายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ธอส. ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 30401 และ ISO 56002 สะท้อนให้เห็นว่าการทำงานของ ธอส. มีความเป็นเลิศในด้านการบริหารจัดการองค์กร ด้วยการจัดการความรู้ที่เป็นระบบทั่วทั้งองค์กร และมีระบบการจัดการนวัตกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลซึ่งในส่วนของมาตรฐาน ISO 30401“” ขอบเขตทั่วทั้งองค์กรที่ ธอส. ได้รับในครั้งนี้ เนื่องจากความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรด้วยการจัดการความรู้ที่เป็นระบบทั่วทั้งองค์กร ครอบคลุมทุก ฝ่าย/สำนัก/ภาค/ศูนย์ในสำนักงานใหญ่ และทุกสาขาของธนาคารทั่วประเทศด้วยมาตรฐานสากล 2553
 
โดย ธอส.ได้นำระบบการจัดการความรู้มาใช้ในองค์กรตั้งแต่ปี ตามระบบการประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ โดยนำการจัดการความรู้มาใช้ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บรรลุยุทธศาสตร์องค์กร ทั้งในการพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาองค์กร มุ่งเดินหน้าตามพันธกิจ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” เพื่อช่วยให้คนไทยได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง สอดรับกับนโยบายของนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
 
ขณะที่ มาตรฐาน ISO56002 ขอบเขตระบบนวัตกรรมองค์กรและการนำไปปฏิบัติของธนาคาร เป็นการการันตีได้ว่า ธอส. มีระบบการจัดการนวัตกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล สอดคล้องตามเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ Core Business Enablers ของรัฐวิสาหกิจที่มุ่งเน้นในการยกระดับนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานทางธุรกิจ ทั้งด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ (Productand Service Innovation) ProcessInnovation) นวัตกรรมการกระบวนการ ( และนวัตกรรมรูปแบบธุรกิจ/ภารกิจใหม่ (Business Model Innovation) รวมถึงยกระดับองค์กรเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม