Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
A5 ประกาศ Sold Out ‘แซงค์ รอยัล กรุงเทพกรีฑา’ มูลค่ากว่า 3.5 พันล.
MAI
MPJ รุกเปิดพื้นที่ลานตู้คอนเทนเนอร์ 'ลาดกระบัง-แหลมฉบัง'
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
InnovestX คงเป้า SET ที่ 1,250 จุด ชี้ตลาดหุ้น Q3 ผันผวนสูง
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY วางกรอบเงินบาท 32.10-32.75 มองภาษีทรัมป์กดดันตลาดการเงินโลก
การค้า - พาณิชย์
บสย. ผนึก “เงินดีดี” หนุน Micro SMEs รายย่อย-อาชีพอิสระ เข้าถึงแหล่งทุน
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
KTB ปลื้ม ‘KTWC-INCOME-A’ ยอดจองทะลุ 1.3 พันล.
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
กรุงศรี ออโต้ เปิดพฤติกรรมผู้ใช้รถใหม่ทั่วภูมิภาคของไทย
SMEs - Startup
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต มอบรางวัลเกียรติยศ รพ.คู่สัญญา
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SA เตรียมขายหุ้นกู้ 2 ชุดใหม่ ดอกเบี้ยสูงสุด 7.25% ต่อปี
การตลาด
Shopee ผนึกพันธมิตร คว้าวง ENHYPEN เขย่าหัวใจแฟนคลับชาวไทย
CSR
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
Information
ธพว. บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
Gossip
PTG หุ้นคุณภาพดี ครบเครื่อง!
Entertainment
เมืองไทย Smile Trip : เที่ยว กิน ฟิน มู @นครศรีธรรมราช
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
SCB EIC ชี้ธุรกิจโรงไฟฟ้าสดใส กลุ่มพลังงานสะอาดโดดเด่น
2024-09-25 21:17:49
1968
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – SCB EIC ประเมินธุรกิจโรงไฟฟ้าปี 2568 กลุ่มพลังงานหมุนเวียนเติบโตเด่น ขณะที่โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลถูกผลักดันให้เร่งปรับตัวเพื่อผลิตไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ คาดความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศพุ่งต่อเนื่องตามการเติบโตของเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 นายจิรวุฒิ อิ่มรัตน์ นักวิเคราะห์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าในไทยปี 2568-2571 ยังคงเติบโตตามการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยแนวโน้มของการผลิตไฟฟ้านอกระบบทยอยเพิ่มสัดส่วนมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการผลิตไฟฟ้าใช้เอง โดยเฉพาะในกลุ่มพลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้คาดว่าการใช้ไฟฟ้าทั้งในและนอกระบบการไฟฟ้าจะขยายตัว 2.5% ในปี 2568 และ 3.0% (CAGR) ในปี 2569-2571 จากการส่งเสริม Direct PPA/IPS ที่มากขึ้น ขณะที่ค่าไฟฟ้าปี 2568 คาดว่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงปี 2567 ที่ 4.1-4.2 บาทต่อหน่วย จากนโยบายลดค่าพลังงานของรัฐบาล ส่วนในปี 2569-2571 คาดว่าค่าไฟฟ้าจะทยอยลดลงและต่ำกว่า 4 บาทต่อหน่วยในปี 2571 จากราคาก๊าซธรรมชาติโลกที่ลดลง
ทั้งนี้ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิลจะมีแรงกดดันที่มากขึ้นจากการลดสัดส่วนการผลิตในระยะยาวตามร่างแผน PDP 2567 ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของโรงไฟฟ้าในกลุ่มที่ใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำหรือมีการปล่อย GHG สูง และจะมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงขึ้นจากการนำเชื้อเพลิงสะอาดทดแทนอย่างไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำเข้ามาเป็นเชื้อเพลิง
สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนปี 2568 ในไทยยังมีแนวโน้มเติบโต โดยจะขยายตัวต่อเนื่องที่ 5% และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องโดยเฉลี่ยที่ 7% (CAGR) ในปี 2569-2571 จากทั้งแผน COD จาก RE ที่ทยอยเข้าระบบราว 700-1,000 MW ต่อปี โดยเฉพาะจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ชีวมวล และขยะชุมชน รวมถึงความต้องการไฟฟ้านอกระบบ (IPS/SPP direct) และ Private PPA ที่หนุนให้ไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น โดยแนวโน้มในระยะข้างหน้าจนถึงปี 2573 ยังเติบโตต่อเนื่อง จากการประกาศรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอีก 3,731 MW โดยส่วนใหญ่จะเป็นไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเป็นหลัก
นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนจากแผน PDP 2567 ที่เพิ่มสัดส่วน RE มากกว่า 51% ภายในปี 2580 โดยจะมีกำหนด COD ราว 3,700 MW ภายในปี 2573 และมีมากกว่า 31,000 MW ที่จะทยอย COD ตั้งแต่ 2574-2580 ยิ่งไปกว่านั้น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกก็มีแนวโน้มเติบโต โดยเฉพาะทวีปเอเชียและออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามจากการที่จะมี Adder กว่า 2,000 MW ที่จะทยอยครบกำหนดมากกว่า 50% ในปี 2567-2568 ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ของโรงไฟฟ้า RE ในกลุ่ม Solar และ Wind ที่มีรายได้อิงกับ Adder
ขณะที่ความต้องการแผงโซลาร์ยังคงเติบโตได้ดีในปี 2568 แต่ในอัตราที่ชะลอลง และคาดว่าจะชะลอลงต่อเนื่องไปถึงในช่วงปี 2569-2571 เนื่องจากตลาดจีนและตลาดยุโรปที่เป็นสัดส่วนใหญ่ของตลาดมีอัตราเติบโตของความต้องการแผงโซลาร์ที่ชะลอตัวลงจากที่เคยเติบโตสูงในช่วงปี 2562-2566 อย่างไรก็ตาม ความต้องการแผงจะขยายตัวราว 9% ในปี 2568 และกําลังการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นยังถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจาก 1. ความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีมากขึ้นตาม Net zero pathway ของหลายประเทศ และ 2. ราคาของแผงโซลาร์และราคาแบตเตอรี่ที่ทยอยลดลงจะหนุนให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ลดลงอยู่ในระดับต่ำ
ทั้งนี้ ความเสี่ยงที่ต้องจับตาในระยะข้างหน้า คือ สถานการณ์ Oversupply ของแผงโซลาร์ตลอดทั้ง Value chain ซึ่งจะส่งผลต่อแนวโน้มราคาในปี 2568 ที่คาดว่าจะลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะจาก 1. อุปทานที่ล้นตลาดของแผงโซลาร์โดยเฉพาะในประเทศจีน, 2. การแข่งขันของผู้ผลิต Module ที่รุนแรงมากขึ้น และ 3. เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไวจนผู้ผลิตต้องขายสินค้าที่ค้างสต็อกในราคาส่วนลด และคาดการณ์ว่าภาวะนี้จะยังคงมีอยู่ต่อเนื่องไปในปี 2568 นอกจากนี้ ยังต้องติดตามความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันทางการค้าที่มากขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐฯ และความเสี่ยงของผู้ประกอบการจากการแข่งขันในด้านราคาซึ่งส่งผลให้อัตรากำไรมีแนวโน้มลดลง
อย่างไรก็ตาม ESG เป็นประเด็นสำคัญที่เร่งให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าถูกผลักดันให้ปรับตัว จากเป้าหมาย Carbon neutrality และ Net zero emission ทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ ที่กดดันให้โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนสูงต้องเร่งศึกษาและนำเทคโนโลยีที่ช่วยลดคาร์บอนมาใช้ เช่น ไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ, CCS และเร่งเพิ่มพลังงานหมุนเวียนให้มีสัดส่วนมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกัน โรงไฟฟ้าบางชนิดก็เริ่มได้รับผลกระทบจาก Climate change ที่ทำให้การผลิตไฟฟ้าลดลง เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ (Hydro) ที่ลดลงจากสถานการณ์ El Nino เป็นต้น
อ่านต่อบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่
https://www.scbeic.com/th/detail/product/Power-SolarPV-200924
A5 ประกาศ Sold Out ‘แซงค์ รอยัล กรุงเทพกรีฑา’ มูลค่ากว่า 3.5 พันล.
BJC ปลื้ม! ยอดจองหุ้นกู้เกินเป้ากว่า 5.5 เท่า
PLUS มั่นใจภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ไม่กระทบออเดอร์
GBS ชี้เป้าหุ้นหลบภัย 'ทรัมป์' TISCO - BGRIM เด่น - CH ธุรกิจครึ่งปีหลังยังดี ลุย EXPO - เพิ่มฐานลูกค้า
KBANK เปิดบริการสแกนจ่าย QR ครอบคลุมกลุ่มอาเซียน - ADVANC โบรกฯ เคาะเป้า 315 บ.
ตลท. ดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย. 68 ปิดที่ 1,089.56 จุด