Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
XPG มั่นใจรายได้ทะลุเป้า 1 พันล. ลุยขยายพอร์ตการลงทุน
MAI
TBN เดินหน้าบุกตลาด AI ตุ้น Backlog 242 ล้านบาท
IPO
SNPS เคาะราคา IPO 4.20 บ. เทรด SET 29 พ.ย. นี้
บล./บลจ
‘โกลเบล็ก’ คัด 4 หุ้นเด่น รับอานิสงส์แจกเงิน 10,000 บาท
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
กรุงศรี ประเมินกรอบเงินบาท 33.30 – 34.50 บ./ดอลลาร์
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์กระชับสัมพันธ์ผู้นำเข้าข้าวจากฮ่องกง
พลังงาน - อุตสาหกรรม
‘กรีนเอิร์ธพาวเวอร์’ เดินหน้าก่อสร้างโครงการ “โรงไฟฟ้ามินบู” เมียนมาร์ เฟส 2
คมนาคม - โลจิสติกส์
AOT เตรียมยกระดับเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาค
แบงก์ - นอนแบงก์
CIMBT รุกจำนำทะเบียน เปิดตัว ‘สินเชื่อรถปลดล็อก’ หวังยอดสินเชื่อ3พันล.
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
SGC คลอดหุ้นกู้ครั้งแรก ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.25% ต่อปี
SMEs - Startup
orbix จับมือ G.U.Group ผลักดันบล็อกเชนในระบบการเงินดิจิทัล
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 3 รางวัลใหญ่จากสำนักงาน ก.ล.ต.
รถยนต์
เมอร์เซเดส-เบนซ์ คว้ารางวัล “Thailand EV of the Year 2024”
ท่องเที่ยว
Pet tourism : เทรนด์ท่องเที่ยวพร้อมเพื่อนซี้สี่ขา
อสังหาริมทรัพย์
BAM จัดงาน ESG DAY 2024 ย้ำจุดยืนองค์กรแห่งความยั่งยืน
การตลาด
MOSHI เปิดตัวคอลเลกชันใหม่ ส่งท้ายปี 67
CSR
orbix จับมือ G.U.Group ผลักดันบล็อกเชนในระบบการเงินดิจิทัล
Information
ธนาคารออมสิน คว้ารางวัลชนะเลิศกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่น 2 ปีซ้อน
Gossip
FVC เคาะแจกปันผล 0.01 บาท XD 28 พ.ย. นี้
Entertainment
ปราสาทสัจธรรม – วิริยะฯ – สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี จัดพิธี 5 ศาสนา ถวายเป็นพระราชกุศลในหลวงร.9
สกุ๊ป พิเศษ
NER พร้อมปรับตัวกับยุค AI เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน
SCB EIC จับสัญญาณ กนง. หั่นดอกเบี้ยสู่ 2.00% ในQ1/68
2024-10-17 20:00:17
284
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – SCB EIC คาด กนง. ปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งภายในไตรมาส 1/68 เพื่อผ่อนคลายภาวะการเงินเพิ่มเติม โดยภาพเศรษฐกิจและภาวะสินเชื่อชะลอตัวจะยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงความน่ากังวลของสถานการณ์จะเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า ขณะที่ภาวะการเงินโลกจะเริ่มผ่อนคลายลง
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 นายนนท์ พฤกษ์ศิริ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 5 ต่อ 2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.25% โดย 2 เสียงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.50% เนื่องจาก กนง. เห็นว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงนี้จะไม่ได้ฉุดรั้งกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ (Debt deleveraging) ท่ามกลางภาวะสินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง (รูปที่ 1) และเป็นระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังอยู่ในขอบเขตสอดคล้องกับศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย กล่าวคือเป็นระดับที่ไม่ได้กระตุ้นหรือชะลอเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ SCB EIC มองว่าการสื่อสารของ กนง. ไม่ได้ Dovish ลงจากการประชุมครั้งก่อนมากนัก เพราะยังให้ความสำคัญกับเสถียรภาพระบบการเงิน การรักษา Policy space ของนโยบายการเงิน และมุมมองอัตราดอกเบี้ยไม่ควรต่ำเกินไปจนเป็นการสะสมความเสี่ยงในระยะยาว ในส่วนของแนวโน้มเศรษฐกิจการเงิน กนง. ยังมองภาพใกล้เคียงเดิม โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะขยายตัว 2.7% และในปี 2568 จะขยายตัว 2.9% ใกล้เคียงประมาณการในการประชุมเดือนมิ.ย. ที่ 2.6% และ 3.0% ตามลำดับ ขณะที่ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปีนี้ โดยประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 0.5% และ 1.2% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ ลดลงจากประมาณการเดิมในเดือนมิ.ย. ที่ 0.6% และ 1.3% เล็กน้อย ส่วนภาวะการเงินตึงตัวขึ้นตามการแข็งค่าของเงินบาท และปริมาณสินเชื่อโดยรวมที่เติบโตชะลอลง โดยกลุ่มธุรกิจ SMEs เผชิญภาวะสินเชื่อหดตัวสูงขึ้น ขณะที่คุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลงต่อเนื่อง โดย กนง. จะติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อตลาดสินเชื่อและเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม SCB EIC มอง กนง. จะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับภาวะการเงินเป็นหลัก โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้เป็นการปรับลดเพื่อผ่อนคลายภาวะการเงิน ท่ามกลางภาวะสินเชื่อที่เติบโตชะลอลงและคุณภาพสินเชื่อทยอยปรับด้อยลง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ภาวะการเงินตึงตัวจะส่งผลกดดันเศรษฐกิจมากขึ้นในระยะต่อไป ซึ่งสะท้อนในการสื่อสารของ กนง. รอบนี้ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยพยายามรักษาสถานะความเป็นกลาง (Neutral stance) ของนโยบายการเงินไว้ตามแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ กนง. ประเมินว่ายังใกล้เคียงกับการประชุมครั้งก่อน
นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญปัจจัยเสถียรภาพระบบการเงินเช่นเดียวกับการประชุมครั้งก่อน ๆ โดย กนง. มองว่าอัตราดอกเบี้ยควรมีบทบาทในกระบวนการ Debt deleveraging โดยไม่ควรต่ำเกินไปจนเป็นการกระตุ้นการก่อหนี้ครัวเรือนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินในระยะยาว จึงทำให้จังหวะการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้าขึ้นอยู่กับผลกระทบของภาวะการเงินตึงตัวต่อกิจกรรมเศรษฐกิจเป็นหลัก
ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินว่าจะเห็น กนง. ปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งภายในไตรมาส 1/2568 เพื่อผ่อนคลายภาวะการเงินเพิ่มเติม โดยภาพเศรษฐกิจและภาวะสินเชื่อชะลอตัวจะยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง ความน่ากังวลของสถานการณ์จะเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า แต่จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ภาวะการเงินโลกจะเริ่มผ่อนคลายลง โดย 1.สถานการณ์สินเชื่อ SCB EIC ประเมินว่า นอกจากความกังวลของ กนง. เกี่ยวกับสินเชื่อธุรกิจ SMEs แล้ว การขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนจะเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติม จากมาตรฐานการให้สินเชื่อครัวเรือนของสถาบันการเงินซึ่งจะยังมีแนวโน้มเข้มงวดขึ้น สอดคล้องกับคุณภาพสินเชื่อครัวเรือนที่ปรับด้อยลงอย่างต่อเนื่อง
2.ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทย SCB EIC ประเมินว่าความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะปรับสูงขึ้นตามความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่ปรับเพิ่มขึ้น ทั้งปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ หลังการเลือกตั้งในปีนี้ ซึ่งอาจเป็นแรงกดดันต่อภาคการส่งออกสินค้าไทยได้ แม้ปัจจุบันการส่งออกจะกลับมาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยท่ามกลางอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอลง และ 3.ภาวะการเงินโลกจะผ่อนคลายลงต่อเนื่อง ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางหลัก สภาพแวดล้อมทางการเงินโลกจะเอื้อต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยมากขึ้น
SCB EIC จึงประเมินว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งไปอยู่ที่ 2.00% ภายในไตรมาส 1/2568
XPG มั่นใจรายได้ทะลุเป้า 1 พันล. ลุยขยายพอร์ตการลงทุน
ASIAN โชว์กำไร Q3/67 โตแกร่ง 51%
TEKA ส่งซิก Q4 ฟื้นตัว เตรียมร่วมวงประมูลงานใหม่ปี 68
NRF โชว์กำไร Q3/67 โตแกร่ง ลุยแผนขยายสาขาลอนดอน
ITEL แย้มผลงานโค้งท้ายสุดแกร่ง ทยอยรับรู้รายได้จาก Backlog
WHA Open House 2024 เปิดบ้านโชว์ศักยภาพธุรกิจ