Phones





TMBหั่นจีดีพีเหลือ2.7%รับพิษส่งออกทรุดหนัก

2019-08-19 17:39:44 351




นิวส์ คอนเน็คท์ – TMB ปรับลดจีดีพีของไทยปี 62 เหลือ 2.7% จากเดิมคาดกาณ์ไว้ที่ 3.0% หลังภาคส่งออกหดตัวแรงในทุกตลาดสำคัญ ขณะที่การลงทุนภาครัฐชะลอตัวจากความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณปี 63


นายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหาร TMB Analytics ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า ตัวเลขเศรษฐกิจของไทยในปี 62 นี้ ทางฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจของ TMB ได้ปรับลดคาดกาณ์ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีลงมาอยู่ที่ระดับ 2.7% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.0% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวต่ำกว่าคาด ทำให้แรงส่งต่อไปยังในช่วงที่เหลือมีข้อจำกัด มณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐช่วยพยุงการบริโภคในประเทศ ท่ามกลางแรงกดดันจากปัจจัยต่างประเทศ


สำหรับสถานการณ์ส่งออกไทยหดตัว 2.7% เนื่องจากซัพพลายเชนโลกได้รับผลกระทบมากกว่าที่คาดไว้ โดยหดตัวเกือบทุกตลาดส่งออกสำคัญ ทั้งจีน อาเซียน ยุโรป และเป็นการหดตัวเกือบทุกสินค้าสำคัญ นอกจากนี้ หากสหรัฐฯประกาศขึ้นภาษีในหมวดยานยนต์และชิ้นส่วนที่อัตรา 25% จากทุกประเทศในเดือนพ.ย.62 จะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกยานยนต์ทั่วโลก ซึ่งของไทยคิดเป็น11% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด สอดคล้องกับที่ IMF ปรับประมาณการการค้าโลกลงจาก 3.4% เหลือเพียง 2.5%


ขณะที่การลงทุนภาครัฐมีการชะลอกว่าที่คาด เนื่องจากรองบประมาณปี 63 การเบิกจ่ายงบลงทุนมีแนวโน้มต่ำกว่าเป้า โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ ซึ่งหากทียบเม็ดเงินลงทุนของรัฐบาลกลาง และ ฐวิสาหกิจแล้วก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนมากนัก โดยเฉพาะงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ที่ลดลงจากปีก่อนเกือบ 25% เหลือเพียง 3.33 แสนล้านจาก 4.45 แสนล้านในปีก่อน


ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มจะไม่ขยายตัวในช่วงครึ่งปีหลัง โดยทั้งปี 62 คาดว่าจะเติบโต 1.8% แม้บริษัทไทยจะมีสภาพคล่องเหลือค่อนข้างมาก แต่ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกชะลอ ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตต่ำกว่าปีที่ผ่านมาโดยอยู่ที่ระดับ 68% กดดันความต้องการขยายการลงทุน สะท้อนจากความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่อยู่ระดับต่ำกว่า 50 เป็นไตรมาสแรกในรอบเกือบสามปี


อย่างไรก็ตาม คาดว่าแนวโน้มการลงทุนเอกชนจะเริ่มปรับดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4/62 เป็นต้นไปจากมาตรการกระตุ้นการลงทุนของรัฐบาล ทั้งนโยบายภาษีและการช่วยเหลือ SME ผ่านมาตรการสินเชื่อ ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ โดยทั้งปีคาดขยายตัวได้ 3.8% จากแรงหนุนเพิ่มจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเริ่มต้นปลายไตรมาส 3/62


ด้านทิศทางดอกเบี้ยคาด ธปท. ลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในไตรมาส 4/62 ทำให้อยู่ในระดับต่ำสุดในนประวัติการณ์ และอาจลดได้อีก 1 ครั้ง ถ้าเศรษฐกิจแย่กว่าคาด และเงินเฟ้อยังคงต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย ส่วนค่าเงินนบาทในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มแข็งค่าแตะ 30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือแข็งค่า 6% เนื่องจากนักลงทุนยังมองเงินบาทเป็นสินทรัพย์เสี่ยงน้อย ขณะที่ค่าเงินสกุลอื่นๆในเอเชียในช่วงนี้อ่อนค่าลงตามเงินหยวนจากการที่ทางการจีนปล่อยให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าจนทะลุ 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ