Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
IRPC ชนะประมูลโซลาร์เซล 74.88 MW - ADVANC โบรกฯ ให้เป้า 294 บ.
MAI
CHO ลุยส่งมอบรถลำเลียงอาหาร ลุ้นออเดอร์ปี 68 พุ่ง
IPO
PIS ปิดฉากโรดโชว์หัวเมืองใหญ่ ลุยระดมทุนตลาด mai
บล./บลจ
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ไฟเขียวผู้เสียหายจาก STARK ดำเนินคดีแบบกลุ่ม
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
กอช. จัดใหญ่ส่งท้ายปี “ยิ่งออมมาก รับสิทธิเพิ่ม"
การค้า - พาณิชย์
พิชัย หารือเลขา ครม.ญี่ปุ่น ดึงดูดการลงทุนเข้าไทย
พลังงาน - อุตสาหกรรม
IRPC คว้าประมูลผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 74.88 เมกะวัตต์
คมนาคม - โลจิสติกส์
“สุริยะ” เปิดงานรณรงค์ลดอุบัติเหตุช่วงปีใหม่
แบงก์ - นอนแบงก์
EXIM BANK ออกมาตรการของขวัญพิเศษปีใหม่ 68
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘มันนี่ทันเดอร์’ คว้ารางวัล Prime Minister’s Export Award 2024
SMEs - Startup
บีคอน วีซี เดินหน้ากองทุน Beacon Impact Fund
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต จ่ายสินไหมกรณีอุบัติเหตุสายการบินเชจูแอร์
รถยนต์
กระหึ่มโลก! “เปิดฤดูกาล MotoGP2025” ครั้งแรกในไทย
ท่องเที่ยว
ทีทีบี ชวนเที่ยว “พิพิธภัณฑ์ครุฑ” ช่วงเทศกาลปีใหม่
อสังหาริมทรัพย์
PROUD ลุยยกระดับสุขภาพคนไทยกับโครงการ "Wellness District ชุมชนสุขภาพดี"
การตลาด
PLUS ได้รับการรับรองเป็นสมาชิก CAC ยกระดับองค์กรโปร่งใส
CSR
บีคอน วีซี เดินหน้ากองทุน Beacon Impact Fund
Information
ไทยวา คว้ารางวัล Prime Minister’s Export Award 2024 ด้านความยั่งยืน
Gossip
DEMCO ย้ายกลุ่มธุรกิจต้อนรับปีใหม่
Entertainment
เดินหน้าจัดกิจกรรม "ส่งเสริมสุขภาพใจ ใส่ใจสุขภาพจิต"
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO รุกซื้อหนี้เติมพอร์ต อัพผลงานโตเกิน 20%
KTB ชี้ “ไรเดอร์” แรงขับเคลื่อนใหม่ตลาดสองล้อ
2021-09-23 15:52:11
581
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - Krungthai COMPASS ระบุ ยอดขายมอเตอร์ไซค์ในประเทศ 7 เดือนแรก ขยายตัว 13.7% หลังจากหดตัว 11.8% ในปีก่อน มองระยะข้างหน้า ตลาด On Demand Delivery ที่คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง และครอบคลุมพื้นที่ในภูมิภาคมากขึ้น จะเป็นแรงขับเคลื่อนตลาดจักรยานยนต์ควบคู่ไปกับรายได้เกษตรกร
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ระบุว่า ย้อนกลับไปในช่วง 5 ปีก่อนเกิดโควิด-19 ตลาดมอเตอร์ไซค์มียอดขายสูงสุด 1.8 ล้านคันในปี 60 ก่อนจะชะลอต่อเนื่องจนถึงปี 63 โดยผู้ประกอบการหลายราย ยอมรับว่าตลาดเริ่มอิ่มตัวจากยอดจดทะเบียนสะสมที่อยู่สูงราว 21 ล้านคัน ส่งผลให้สัดส่วนการครอบครองมอเตอร์ไซค์ต่อประชากรอยู่ระดับสูง ซึ่งการที่ตลาดเริ่มอิ่มตัว ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายปรับทิศทางการตลาดโดยให้น้ำหนักกับตลาดมอเตอร์ไซค์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงกว่า อย่างมอเตอร์ไซค์ที่มีขนาด 250 ซีซีขึ้นไป ทำให้ตลาดมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ของไทยเติบโตขึ้นสวนทางกับตลาดมอเตอร์ไซค์หลักที่เริ่มชะลอลง
อย่างไรก็ตาม ตลาดมอเตอร์ไซค์ 7 เดือนแรกของปีนี้กลับมาโตได้ดีในอัตราที่สูงกว่าที่หดตัวในปีก่อน โดยภาพรวมทั้งประเทศช่วง 7 เดือนแรก ขยายตัว 13.7% หลังจากหดตัว 11.8% ในปีก่อน ขณะที่ยอดขายรถยนต์ทั้งประเทศ 7 เดือนแรก ขยายตัวเพียง 9.7% หลังจากหดตัว 21.4% ในปีก่อน ซึ่งการขยายตัวของยอดขายมอเตอร์ไซค์จึงไม่ได้มีสาเหตุจากปัจจัยจากฐานต่ำในปีก่อนเพียงอย่างเดียว แต่สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของตลาดมอเตอร์ไซค์เมื่อเทียบกับตลาดรถยนต์
ทั้งนี้ การเติบโตของตลาดมอเตอร์ไซค์ในปีนี้มาจากภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่ โดยการวิเคราะห์รายภาคและรายจังหวัดดูจากยอดจดทะเบียนรถใหม่ป้ายแดง ในช่วง 7 เดือนแรกของปี ยอดจดทะเบียนมอเตอร์ไซค์ใหม่ในส่วนภูมิภาคเติบโตถึง 16.9% ในขณะที่เป็นการเติบโตในเขตกรุงเทพและปริมณฑลเพียงแค่ร้อยละ 5.8% การเติบโตของยอดจดทะเบียนมอเตอร์ไซค์เขตกรุงเทพและปริมณฑลที่ต่ำกว่าในภูมิภาค ทำให้สัดส่วนยอดจดทะเบียนในกรุงเทพและปริมณฑลเมื่อเทียบกับทั้งประเทศลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน
อย่างไรก็ตาม แม้ตลาดมอเตอร์ไซค์ในปีนี้จะโตดี แต่ภาคอีสานเป็นเพียงภาคเดียวที่ฟื้นตัวกลับมาเทียบเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 การวิเคราะห์ว่า ตลาดมอเตอร์ไซค์ในแต่ละภาคกลับมาในระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้วหรือไม่ คำนวณจากสัดส่วนของยอดจดทะเบียนเฉลี่ยรายเดือนในปี 2564 กับยอดจดทะเบียนเฉลี่ยรายเดือน 5 ปีก่อนเกิดโควิด-19 (ปี 2558-2562) ซึ่งจากวิเคราะห์ข้อมูลรายภาค พบว่า มีเพียงภาคอีสานเท่านั้นที่ยอดจดทะเบียนมอเตอร์ไซค์เฉลี่ยรายเดือนกลับมาเท่ากับระดับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ด้านภาคเหนือก็มีระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ที่ประมาณ 97% ขณะที่ ภาคอื่นๆ ยังมียอดจดทะเบียนในระดับที่ต่ำกว่าพอสมควร โดยเฉพาะกรุงเทพ และปริมณฑล ที่คาดกันว่าจะได้รับผลบวกจากการบริการขนส่งสินค้าในยุค New Normal แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น
ทั้งนี้ รายได้เกษตรกรในภาพรวมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก มีผลต่อตลาดมอเตอร์ไซค์ในปีนี้ ตลาดมอเตอร์ไซค์พึ่งพาตลาดต่างจังหวัดมากกว่า 70% ทำให้ตลาดขึ้นอยู่กับรายได้เกษตรกรค่อนข้างมาก และด้วยรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปีก่อนก็มีผลทำให้ตลาดมอเตอร์ไซค์ขยายตัวไปด้วย
โดยรายได้เกษตรกรคำนวณจากดัชนีราคาสินค้าเกษตรกร และดัชนีผลผลิตเกษตรในแต่ละช่วงเวลา ในปี 64 ราคาสินค้าเกษตรหลักอย่างข้าวหดตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ ราคาอ้อย ยางพารา และมันสำปะหลัง ปรับตัวสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ในด้านผลผลิต พบว่า ยางพาราและมันสำปะหลังมีผลผลิตที่ขยายตัวดีขึ้น แต่อ้อยกลับมีปริมาณผลผลิตที่ลดลงทำให้เกษตรกรที่เพาะปลูกอ้อยเป็นหลักอาจไม่ได้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากนัก
ขณะที่จังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังและยางพาราเป็นจำนวนมาก กระจุกตัวในภาคอีสานมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์ภาพรายจังหวัด พบว่า หลายจังหวัดที่มียอดจดทะเบียนเฉลี่ยรายเดือนในปีนี้ สูงกว่ายอดจดทะเบียนเฉลี่ยรายเดือนในช่วง 5 ปีก่อนโควิด และอีกหลายจังหวัดที่เกือบจะเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 เป็นจังหวัดที่มีการปลูกพืชอย่างมันสำปะหลัง ยางพารา เป็นจำนวนมาก ซึ่งในปีนี้มีราคาและผลผลิตที่ขยายตัวสูง สอดคล้องกับดัชนีรายได้เกษตรกรในปีนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นจากมันสำปะหลังและยางพาราเป็นหลัก โดยจังหวัดเหล่านี้กระจุกตัวอยู่ในภาคอีสานมากที่สุด และเป็นสาเหตุให้ยอดจดทะเบียนมอเตอร์ไซค์ในภาคอีสานเพิ่มสูงขึ้นมาได้จนเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด-19
ทั้งนี้ การเติบโตของตลาดมอเตอร์ไซค์ในปีนี้ยังมาจากรายได้เกษตรกรเป็นหลัก และไม่ได้รับอานิสงส์จากกิจกรรม On Demand Delivery มากนัก เป็นที่น่าสังเกตว่า ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ยกเว้นนครปฐม) รวมทั้ง จังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาคที่คาดว่ากิจกรรม On Demand Delivery มากกว่าจังหวัดอื่นในภาค กลับไม่ได้มียอดจดทะเบียนฟื้นตัวกลับมาเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ซึ่งก็อาจมองได้ว่า การเติบโตของตลาดมอเตอร์ไซค์ในปีนี้เป็นผลมาจากรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ตลาด On Demand Delivery ที่เติบโต ส่งผลต่อความต้องการไรเดอร์ และตลาดมอเตอร์ไซค์จะได้รับอานิสงส์ จากข้อมูลยอดจดทะเบียนมอเตอร์ไซค์รายจังหวัด พบว่า ตลาดมอเตอร์ไซค์ของไทยยังมีสัดส่วนอยู่ในภูมิภาคมากกว่า 70% และขับเคลื่อนจากรายได้เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยค่อนข้างมาก แต่ในอนาคตตลาด On Demand Delivery ที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อเนื่อง จะขยายขอบเขตไปในภูมิภาคมากขึ้นตามลำดับ ทำให้ความต้องการไรเดอร์มีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ คุณสมบัติเบื้องต้นที่แพลตฟอร์มส่วนใหญ่ต้องการ คือ ผู้ที่มาสมัครเป็นไรเดอร์ต้องมีรถมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเอง ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อตลาดมอเตอร์ไซค์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งรายงานเรื่อง “ไรเดอร์-ฮีโร่-โซ่ตรวนสภาพการทำงานและหลักประกันทางสังคมของของแรงงานส่งอาหารบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มในสถานการณ์แพร่ ระบาดของโควิด-19“ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่ารายได้เฉลี่ยของไรเดอร์ทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณ 18,000 บาทต่อเดือน หักต้นทุนค่าน้ำมัน ค่าสึกหรอ ค่าอินเตอร์เน็ต เฉลี่ยประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน จะเหลือเงินประมาณ 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งรายได้หลังหักต้นทุนนี้อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถผ่อนชำระค่างวดของมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมกับไรเดอร์ (ไม่เกิน 150 ซีซี และเป็นเกียร์อัตโนมัติ) ซึ่งอยู่ในช่วง 2,035-4,207 บาทต่อเดือน1 หรือคิดเป็น 13.6-28.1% ของรายได้หลังหักต้นทุนโดยเฉลี่ย
ขณะที่แพลตฟอร์มหลายแห่ง เช่น Robinhood Grab ยังมีการสนับสนุนสินเชื่อพิเศษในการซื้อจักรยานยนต์ที่อาจทำให้ภาระต่อเดือนในการซื้อมอเตอร์ไซค์ลดลงได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกต่อตลาดมอเตอร์ไซค์ข้างต้น ก็อาจจะถูกท้าทายด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ล่าสุดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในไตรมาส 1/64 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 90.5% สูงสุดในรอบ 18 ปี นอกจากนั้น ตลาดภูมิภาคที่เป็นตลาดหลักของมอเตอร์ไซค์ก็อาจถูกกดดันมากขึ้นไปอีก จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง “X Ray หนี้ครัวเรือนภูมิภาค” ที่ชี้ให้เห็นว่า ภาระหนี้ครัวเรือนในประเทศที่สูงจากส่วนภูมิภาคเป็นหลัก อีกทั้ง สัดส่วนครัวเรือนที่มีความเปราะบางสูงก็กระจุกตัวอยู่ในภูมิภาคเช่นเดียวกัน
IRPC ชนะประมูลโซลาร์เซล 74.88 MW - ADVANC โบรกฯ ให้เป้า 294 บ.
HFT มั่นใจรายได้ปี 67 เข้าเป้า โต 15%
EP เตรียมลุย COD วินด์ฟาร์มเวียดนาม
PRM เปิดแผนปี 68 บุ๊กรายได้ลูกค้าใหม่ประเดิมต้นปี
ACC อนุมัติล้างขาดทุนสะสม ย้ำ! กลับมาเทิร์นอะราวด์ - GFC ลุยแผนเปิด2สาขาใหม่
ACC เดินเกมล้างขาดทุนสะสม โวผลงานปีนี้เทิร์นอะราวด์