Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
COCOCO ติดอันดับดัชนี SET 100 ปักธงรายได้แตะหมื่นล. - DEMCO Backlog ทะลุ 3.6 พันล.
MAI
LEO ส่งซิกผลงาน Q4/67 สดใส มั่นใจสร้างผลตอบแทนผถห.ต่อเนื่อง
IPO
PIS จัดทัพโรดโชว์ จ่อขายไอพีโอ Q1/68
บล./บลจ
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ไฟเขียวผู้เสียหายจาก STARK ดำเนินคดีแบบกลุ่ม
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
กรุงศรี ชี้เงินบาทเคลื่อนไหว 34.25 บ. หลัง กนง. ตรึงดอกเบี้ย
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์หนุน SME ใช้ FTA ลดเสี่ยง “ทรัมป์ 2.0”
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE ชนะประมูลโรงไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 รวม 136.1 MW
คมนาคม - โลจิสติกส์
“สุริยะ” สั่งเฝ้าระวังเหตุน้ำท่วมภาคใต้ 6 จังหวัด
แบงก์ - นอนแบงก์
KBANK หนุนงานวิจัยหาแนวทางสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘มันนี่ทันเดอร์’ คว้ารางวัล Prime Minister’s Export Award 2024
SMEs - Startup
บีคอน วีซี เดินหน้ากองทุน Beacon Impact Fund
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต ชูแบบประกันพิเศษ - โปรโมชันเด่น ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์
รถยนต์
กระหึ่มโลก! “เปิดฤดูกาล MotoGP2025” ครั้งแรกในไทย
ท่องเที่ยว
ทีทีบี ชวนเที่ยว “พิพิธภัณฑ์ครุฑ” ช่วงเทศกาลปีใหม่
อสังหาริมทรัพย์
ORN เปิดรอบพิเศษในงาน EXCLUSIVE AGENT DAY
การตลาด
EURO ขึ้นแท่นตัวแทนจำหน่าย Bang & Olufsen
CSR
บีคอน วีซี เดินหน้ากองทุน Beacon Impact Fund
Information
EXIM BANK ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย-ออสเตรเลีย
Gossip
SINO คาดผลงาน Q4/67 แข็งแกร่ง
Entertainment
IMET MAX สานต่อการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ปีที่ 7 เสริมทัพอุทยานผู้นำ
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO รุกซื้อหนี้เติมพอร์ต อัพผลงานโตเกิน 20%
EXIM BANK โชว์ผลงาน 9 เดือนสินเชื่อโต9.21%
2021-11-01 17:35:49
247
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - EXIM BANK เดินหน้าบทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนา สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการลงทุนและการค้าเพิ่มขึ้น รวมเป็นสินเชื่อคงค้าง 147,678 ล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 64 สร้างปริมาณธุรกิจ 137,605 ล้านบาท ส่งผลให้มีกำไรก่อนสำรอง 1,789 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 822 ล้านบาท ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 64 แม้เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกจะยังได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 แต่ธนาคารยังสามารถขยายบทบาทการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดย ณ สิ้นเดือนก.ย.64 ธนาคารมีสินเชื่อคงค้าง 147,678 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12,450 ล้านบาท หรือ 9.21% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเพื่อการลงทุน 110,806 ล้านบาท สะท้อนการขับเคลื่อน EXIM BANK สู่การเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา (Development Bank) และอีก 36,872 ล้านบาทเป็นสินเชื่อเพื่อการค้า โดยการให้สินเชื่อทั้งหมดของ EXIM BANK ทำให้เกิดปริมาณธุรกิจ (Business Turnover) 137,605 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นปริมาณธุรกิจของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เท่ากับ 50,058 ล้านบาท หรือคิดเป็น 36.38%
ขณะที่ธนาคารมีวงเงินสะสมสนับสนุนสินเชื่อโครงการระหว่างประเทศรวมทั้งสิ้น 102,296 ล้านบาท โดยเป็นสินเชื่อคงค้างจำนวน 65,650 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.43% หรือ 9,266 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 63 จากจำนวนนี้เป็นสินเชื่อคงค้างแก่ผู้ประกอบการไทยที่ขยายการส่งออกและการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศ CLMV และตลาดใหม่ (New Frontiers) จำนวน 47,947 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.61% หรือ 8,193 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 63 สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของธนาคารในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้รุกตลาดต่างประเทศ รวมทั้ง CLMV โดยเฉพาะเวียดนามซึ่งยังมีเสถียรภาพและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19
ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้นำเข้าในต่างประเทศมีโอกาสชำระเงินล่าช้าหรือปฏิเสธการชำระเงินค่าสินค้า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 64 ธนาคารมีปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออกและการลงทุนเท่ากับ 134,876 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.74% หรือ 9,684 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกันธนาคารได้สนับสนุนผู้ประกอบการทั้งในด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน ด้วยการออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาการชำระเงิน และการพักชำระหนี้ รวมทั้งสนับสนุนด้านข้อมูลและความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs สามารถปรับตัวและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ผ่านการให้คำปรึกษาและจัดอบรม/สัมมนาออนไลน์ ณ สิ้นเดือนก.ย.64 ธนาคารได้ช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินแก่ผู้ประกอบการประมาณ 10,800 ราย เป็นวงเงินรวมกว่า 68,500 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม โควิด-19 ยังมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ EXIM BANK มีอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) ณ สิ้นเดือนก.ย.64 อยู่ที่ 3.71% โดยมีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวน 5,472 ล้านบาท แต่มีค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) จำนวน 12,925 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง คิดเป็นอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Coverage Ratio) 236.19% โดย 9 เดือนแรกของปี 64 ธนาคารมีกำไรก่อนสำรองเท่ากับ 1,789 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 822 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 2,162 ล้านบาท จากผลขาดทุนสุทธิ 1,340 ล้านบาทของปี 63 โดยคาดการณ์ผลการดำเนินงานสิ้นปี 64 จะมีกำไรไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ บทบาทสำคัญของธนาคารและสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง มั่นคง และมีเสถียรภาพเห็นได้จากการที่ธนาคารได้รับการจัดอันดับเครดิตโดยบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารที่ระดับสูงสุด “AAA(tha)” และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ระดับ “F1+(tha)” และมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ (Stable) เป็นปีที่ 16 ติดต่อกัน สำหรับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวยังคงอยู่ที่ระดับ “BBB+” และมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ (Stable) ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตของรัฐบาลไทย
ขณะที่ปัจจุบันธนาคารยังคงมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้กลับมาฟื้นตัวและเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์และเครื่องมือทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงินใหม่ ๆ อาทิ EXIM Biz Transformation Loan สนับสนุนการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือขยายกำลังการผลิต นำไปสู่การยกระดับมาตรฐานสินค้าส่งออก อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 2% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย ผ่อนชำระนานสูงสุด 7 ปี และสินเชื่อเอ็กซิมเพื่อ EEC และเครือข่ายนิคมอุตสาหกรรม สนับสนุนการลงทุนในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) นิคมอุตสาหกรรม เขตเศรษฐกิจพิเศษ สวนอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิบัตรจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ดอกเบี้ยต่ำสุด 3.25% ต่อปีสำหรับวงเงินกู้ระยะยาว และ 3.75% ต่อปีสำหรับวงเงินหมุนเวียน และสำหรับผู้ประกอบการทั่วไป ดอกเบี้ยต่ำสุด 3.00% ต่อปีสำหรับวงเงินกู้ระยะยาว และ 3.50% ต่อปีสำหรับวงเงินหมุนเวียน ระยะเวลาผ่อนชำระสำหรับวงเงินกู้ระยะยาวสูงสุด 10 ปี
“EXIM BANK ทำงานอย่างแข็งขันเพื่อพลิกวิกฤตเป็นทางรอดของผู้ประกอบการและทุกภาคส่วนในสังคม โดยใช้นโยบาย Dual-track Policy เชื่อมโยงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเข้ากับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของผู้ประกอบการไทย เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการไทยทุกขนาดธุรกิจและทุกภาคอุตสาหกรรมใน Supply Chain การส่งออกสินค้าและบริการของไทยไปตลาดโลก ขณะเดียวกันเราไม่หยุดพัฒนาธุรกิจและบริการของธนาคาร ตลอดจนขยายความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ภาคธุรกิจและประเทศไทยก้าวผ่านวิกฤตและเดินหน้าสู่อนาคตที่สดใสในโลก Next Normal ระยะข้างหน้า” ดร.รักษ์กล่าว
COCOCO ติดอันดับดัชนี SET 100 ปักธงรายได้แตะหมื่นล. - DEMCO Backlog ทะลุ 3.6 พันล.
MEDEZE ทุ่มงบ 100 ลบ. ตั้งบ.ย่อยลุยธุรกิจ ‘Health and Wellness’
PCC คว้า 3 โครงการ มูลค่า 273.67 ลบ.
COCOCO ปลื้ม! ติดอันดับคำนวณดัชนี SET 100
DEMCO ปิดดีล! ลุยสร้างสถานีไฟฟ้า มูลค่า 270 ล้านบ.
GUNKUL โบรกฯ เคาะเป้า 5.40 บ./หุ้น - NER ออกหุ้นกู้ อายุ 5 ปี จ่ายดอกเบี้ย 3.41%