Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
TTB กำไรงวดครึ่งปีแรกทรุด 6.2%
MAI
MOTHER ลุยเพิ่ม “สินค้าเฮาส์แบรนด์-เปิด 2 สาขาใหม่”
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
KTX เตือนเพิ่มความระวังลงทุน ลดเป้า SET เหลือ 1,116 จุด
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY วางกรอบเงินบาท 32.10-32.75 มองภาษีทรัมป์กดดันตลาดการเงินโลก
การค้า - พาณิชย์
บสย. ผนึก “เงินดีดี” หนุน Micro SMEs รายย่อย-อาชีพอิสระ เข้าถึงแหล่งทุน
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เตรียมออกหุ้นกู้ครั้งแรกภายใต้บริษัทใหม่
คมนาคม - โลจิสติกส์
SCB EIC จับตาโทรคมนาคมไทยหลังประมูลคลื่นความถี่
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน ชวนเข้าโครงการสินเชื่อสร้างเครดิต สร้างโอกาส
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
SAWAD ลุยขายหุ้นกู้ 4 รุ่น ดอกเบี้ยสูงสุด 4.30%
SMEs - Startup
KBANK จับมือ Google Cloud โชว์ความสำเร็จโครงการ Earth KATALYST
ประกันภัย - ประกันชีวิต
OCEAN LIFE ขนทัพประกันสุขภาพจับกลุ่ม Gen Y
รถยนต์
เมอร์เซเดส-เบนซ์ สานต่อแคมเปญ “Welcome Back Stars” ปีที่ 2
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ก.ล.ต. อนุมัติไฟลิ่งหุ้นกู้ KUN ชูดอกเบี้ย 7.40% ต่อปี
การตลาด
Shopee ผนึกพันธมิตร คว้าวง ENHYPEN เขย่าหัวใจแฟนคลับชาวไทย
CSR
KBANK จับมือ Google Cloud โชว์ความสำเร็จโครงการ Earth KATALYST
Information
บีเคไอ โฮลดิ้งส์ คว้ารางวัลเกียรติยศบริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี ในงาน Money & Banking Awards 2025 อย่างโดดเด่น
Gossip
NCP เล็งเป้า “รายได้-กำไร” โตแรง!
Entertainment
พีทีจี จับมือ เตรียมอุดมศึกษา จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ‘TU Co-Learning Space by PTG’
สกุ๊ป พิเศษ
"รุ่ง-วิทัย" ใครจะเข้าวิน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ
กรุงศรี ส่องเงินเฟ้อพุ่งตามราคาพลังงาน
2022-05-10 18:31:13
3425
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – วิจัยกรุงศรีคาดเงินเฟ้อยังมีทิศทางเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นของราคาพลังงาน ขณะที่ภาคท่องเที่ยวมีสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY รายงานว่า แม้อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนชะลอลง แต่มีแนวโน้มทะยานขึ้นในเดือนถัดไป อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนเม.ย.อยู่ที่ 4.65% ชะลอลงจากเดือนก่อนที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีที่ 5.73% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงในปีก่อน และราคาสินค้าบางหมวดปรับลดลง อาทิ ข้าว ผลิตภัณฑ์จากแป้ง เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า
อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าในหมวดพลังงานที่อยู่ในระดับสูงยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อปรับเพิ่ม ได้แก่ ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง (+29.74%) ราคาก๊าซหุงต้มที่มีการทยอยปรับขึ้นหลังสิ้นสุดการตรึงราคา นอกจากนี้ ยังมีราคาสินค้าในหมวดอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ น้ำมันพืช อาหารบริโภคในบ้าน-นอกบ้าน ตามต้นทุนการผลิตและต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี ที่ 2.0% สำหรับในช่วง 4 เดือนแรกของปี 65 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 4.71% และ 1.58% ตามลำดับ
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนพ.ค.มีแนวโน้มจะกลับมาเร่งขึ้นตามการปรับขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงหลังจากมีการยกเลิกตรึงราคาดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร และให้เริ่มทยอยปรับราคาขึ้นแบบขั้นบันไดตั้งแต่ 32 บาทต่อลิตร จนอาจถึงกรอบเพดานใหม่ที่ 35 บาทต่อลิตร จึงอาจกระทบต่อต้นทุนการขนส่งและการผลิตสินค้า รวมถึงยังมีการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม และการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) รอบเดือนพ.ค.-ส.ค. รวมถึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ มาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ส่งผลให้ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง ยังคงเป็นปัจจัยกดดันอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไป ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่อัตราเงินเฟ้อในปีนี้อาจสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 4.8% อย่างไรก็ตาม แม้อัตราเงินเฟ้อสูงเกินกรอบเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง (1-3%) วิจัยกรุงศรีคงคาดการณ์ว่ากนง.จะตรึงดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ 0.50% ตลอดจนถึงสิ้นปี จากการให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
สำหรับภาวะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นสร้างความกังวลต่อภาคธุรกิจ ขณะที่ภาคบริการทยอยปรับดีขึ้นจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนเมษายนอยู่ที่ 48.2 ลดลงจาก 50.7 ในเดือนมี.ค. โดยองค์ประกอบด้านต้นทุนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความเชื่อมั่นปรับลดลง โดยเฉพาะในภาคการผลิตและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากราคาวัตถุดิบและพลังงานที่ผันผวนสูงจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ ผลักดันให้ราคาสินค้าส่วนหนึ่งปรับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ มาตรการพยุงกำลังซื้อในประเทศที่สิ้นสุดลงส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านคำสั่งซื้อ การผลิต และผลประกอบการปรับลดลง
ทั้งนี้ ผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่แรงขึ้น และมาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาดในจีน ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันภาวะชะงักงันของห่วงโซ่การผลิตทั่วโลกรุนแรงขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยมากขึ้นในระยะต่อไป โดยในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมาการผลิตในบางภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชะลอลงเนื่องจากประสบกับปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต อาทิ หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า หมวดชิ้นส่วนและแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขณะเดียวกันกลุ่มอสังหาฯ เผชิญกับภาวะต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ภาคบริการมีแนวโน้มทยอยปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว โดยเฉพาะหลังจากมีการยกเลิกมาตรการ Test & Go จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยเฉลี่ยวันละ 1.9 หมื่นคน (ช่วงวันที่ 1-5 พ.ค.) เพิ่มขึ้นจากเดือนเม.ย. ซึ่งสูงสุดที่ระดับ 1.2-1.3 หมื่นคน นอกจากนี้ ล่าสุดทางการเตรียมขยายโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 4 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่อง
TTB กำไรงวดครึ่งปีแรกทรุด 6.2%
NER ลุ้นผลบวกภาษีสหรัฐฯ โบรกฯ ชี้เป้าหุ้นพี/อีต่ำ-ปันผลสูง
CHAYO ธุรกิจแกร่ง! สินทรัพย์ 9 พันล. - GPI ขยายงานจัดอีเว้นต์ ไลฟ์สไตล์-บันเทิง-กีฬา
GPI เปิดแผนครึ่งปีหลัง รุกหนักอีเว้นต์ไลฟ์สไตล์-บันเทิง
ผู้ถือหุ้นกู้ EA ทั้ง 11 รุ่น โหวตหนุนขยายเวลาไถ่ถอน
BWG แจง! ไม่ได้ขายกิจการทั้งหมดของ BWG-ETC ให้ GULF