Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
KBANK ปักเป้าสินเชื่อรวมปี 66 โต 7% ลุยขยายตลาด AEC+3
MAI
DITTO ได้สิทธิ์เข้าร่วมปลูกป่าเพิ่ม บล.บัวหลวงเคาะเป้า 90 บาท
IPO
SVR เคาะราคาไอพีโอ 2.20 บาท/หุ้น พร้อมเข้าเทรด mai 8 ก.พ.นี้
บล./บลจ
KTB เปิดตัว ‘NEXT INVEST’ ซูเปอร์ฟีเจอร์เพื่อการลงทุน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ประเมินศก. ปี 66 รับอานิสงส์จีนเปิดประเทศ
การค้า - พาณิชย์
CardX จับมือ บสย. เสริมแกร่งการเงิน SMEs รายย่อย
พลังงาน - อุตสาหกรรม
สวทช. จับมือ EA เล็งจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา BCG Industry
คมนาคม - โลจิสติกส์
EA ส่งหัวรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ ‘MINE Locomotive’ ทดลองวิ่ง
แบงก์ - นอนแบงก์
SCB มาตามนัด ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก-เงินกู้
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
SCAP แต่งตั้ง ‘วิชิต พยุหนาวีชัย’ ขึ้นแท่น CEO - บอร์ดเคาะจ่ายปันผล
SMEs - Startup
SCB 10X เผยโฉม ‘SCB 10X DISTRICTX’ ศูนย์กลางคอมมูนิตี้ด้านบล็อกเชน-Web 3.0
ประกันภัย - ประกันชีวิต
“เมืองไทยประกันภัย” นำเสนอ “ประกันภัยสุขภาพ Health ติดเป๋า”
รถยนต์
ACG ชู “ออโตคลิก” ธุรกิจ Fast-Fit เจ้าแรกใช้ e-Tax invoice & e-Receipt รองรับลูกค้า
ท่องเที่ยว
“Robinhood Travel” แท็กทีม “The Standard” อัดโปรแรงประเดิมปีใหม่
อสังหาริมทรัพย์
NOBLE เดินเกมรุกปี 66 จ่อเปิด 10 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 2.3 หมื่นล.
การตลาด
‘KTC’ จับมือ ‘ชอปปี้’ จัดแคมเปญเอาใจลูกค้าสายแลกแต้มสะสม
CSR
SCB 10X เผยโฉม ‘SCB 10X DISTRICTX’ ศูนย์กลางคอมมูนิตี้ด้านบล็อกเชน-Web 3.0
Information
บ้านปูมอบเสื้อกันหนาวให้แก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล รวมมูลค่า 500,000 บาท
Gossip
WP พร้อมผงาด!
Entertainment
KBank Private Banking เผย 4 เทคนิค ยุติศึกชิงธุรกิจครอบครัว
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO โต๊โต - จ่ายปันผลต่อเนื่อง
KBank Private Banking และ Lombard Odier มองศก.โลกเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 66
2022-11-02 19:25:59
178
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - KBank Private Banking ร่วมกับ Lombard Odier และศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 66 ชะลอตัวเข้าสู่ภาวะถดถอยจากจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดของเฟด ขณะที่จีนยังคงนโยบายโควิดเป็นศูนย์ และส่งสัญญาณเปิดประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งวิกฤตราคาพลังงานที่ยังพุ่งขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องในยุโรป
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ตลอดปี 65 ตลาดลงทุนมีความกังวลต่อเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง กดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบรุนแรงและรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนลากยาวต่อเนื่องและยังไม่มีท่าทีว่าจะจบลง ราคาพลังงานในยุโรปขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เงินเฟ้อปรับสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน จีนแม้ยังไม่มีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยเหมือนกับประเทศอื่นๆ แต่นโยบายการเปิดประเทศแบบค่อยเป็นค่อยไป และการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังมีแนวโน้มจะช่วยให้เศรษฐกิจจีนเติบโตได้แต่ก็ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ KBank Private Banking ในฐานะที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนแนะให้ลูกค้ากระจายการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด ทั้งหุ้นนอกตลาด ตราสารหนี้ และอสังหาริมทรัพย์นอกตลาดเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต นอกจากนั้นยังแนะนำลดสัดส่วนของกองทุนรวมหุ้น และถือเงินสดเพิ่มเติมราว 5-15% ของพอร์ต เพื่อลดความผันผวน และรอจังหวะเข้าลงทุนในอนาคตเมื่อสถานการณ์ชัดเจนขึ้น
ทั้งนี้ ธนาคารยังคงแนะนำกระจายการลงทุนในหลายๆ สินทรัพย์ผ่านกองทุนผสมเพื่อลดความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตลง โดยกองทุนผสมอย่าง K-ALLROAD Series ที่ได้เปิดตัวไปตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้า ด้วยสภาพตลาดการลงทุนในปัจจุบัน ธนาคารยังแนะนำให้ลูกค้ากระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ เช่น กองทุนหุ้นนอกตลาด (Private Equity Fund) ซึ่งกองทุนที่ธนาคารแนะนำสามารถสร้างผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนที่ดีให้กับพอร์ตลูกค้าได้สูงถึง 47.83% และ 25.67% นอกจากนี้ ธนาคารยังได้แนะนำกองทุนด้านความยั่งยืน อย่าง K-CLIMATE โดยผลการดำเนินงานตั้งแต่จัดตั้งกองทุน Master funds ให้ผลตอบแทนที่ 16.15% ต่อปี
โดยในปี 66 ธนาคารยังมีแผนที่จะแนะนำผลิตภัณฑ์ทางเลือกการลงทุนอื่นอย่างต่อเนื่อง อาทิ กองทุนรวมตราสารหนี้นอกตลาด กองทุนรวมหุ้นนอกตลาด และกองทุนอสังหาริมทรัพย์นอกตลาด เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพื่อสร้างผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจให้กับพอร์ตการลงทุนของลูกค้าได้ในปี 66
ด้านดร.เชาว์ เก่งชน Executive Chairman ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจว่า เมื่อเศรษฐกิจหลักของโลกเผชิญภาวะถดถอย เศรษฐกิจไทยย่อมได้รับผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการส่งออกที่ต้องเผชิญกับการเติบโตที่ลดลงในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ ในด้านการเติบโตของ GDP จะขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยคาดว่าภาคการท่องเที่ยวจะยังฟื้นตัวต่อเนื่อง ช่วยประคองให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไปได้ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยยังเผชิญความท้าทายจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกที่คาดว่าจะต่ำตลอดปี 66 ทำให้เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนทางสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 67 รวมถึงปีต่อๆ ไปด้วย
ขณะที่ Lombard Odier มีมุมมองเศรษฐกิจโลกโดยมี 3 ประเด็นสำคัญได้แก่ 1.การขึ้นดอกเบี้ยของเฟด เพื่อสกัดเงินเฟ้อสหรัฐฯ เป้าหมายสำคัญของเฟดคือการทำให้เงินเฟ้อสหรัฐฯปรับตัวลงมาอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ โดยการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด มีโอกาสสูงที่จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย จากการประเมินของ Lombard Odier เชื่อว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในเดือน พ.ย. และอีก 0.5% ในเดือน ธ.ค. และจบด้วยการขึ้น 0.25% ในเดือน ก.พ. ปีหน้า ซึ่งจะเป็นจุดสูงสุดของดอกเบี้ยในวัฏจักรรอบนี้ที่ 4.75% ด้านแนวโน้มเงินเฟ้อ Lombard Odier เชื่อว่าจะค่อยๆ ปรับตัวลงมาอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ ภายในกลางปีหน้า โดยปัญหาห่วงโซ่อุปทานล่าช้า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และค่าใช้จ่ายการขนส่งที่ดูดีขึ้น จะทำให้เงินเฟ้อที่มาจากราคาสินค้าปรับตัวลง
นอกจากนี้ ตลาดอสังหาที่ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่สูงขึ้นประกอบกับราคาบ้านที่สูงขึ้น เริ่มกดดันให้ความต้องการซื้อบ้านชะลอลง แต่ยังต้องจับตา 2 ตัวแปรสำคัญ คือ (1) เงินเฟ้อที่มาจากราคาบริการยังไม่คลี่คลาย และ (2) ตลาดแรงงานแม้ว่าจะมีการปรับตัวลงมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูง ทั้งนี้ อัตราการว่างงานต้องสูงขึ้นกว่านี้ เพื่อดึงให้เงินเฟ้อให้ปรับลดลงอีก อย่างไรก็ดี ปัจจัยพื้นฐานรวมถึงความแข็งแกร่งภาคธนาคาร ภาคครัวเรือน และภาคเอกชนในปีนี้ แตกต่างจากการเกิดวิกฤตในปี 2551 Lombard Odier จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงวิกฤตทางการเงินได้ แม้ว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็ตาม
ประเด็นที่ 2. คือ จีน ต่อเนื่องจากการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป Lombard Odier เชื่อว่าจีนยังต้องการผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโต หลัง ปธน.สี จิ้น ผิง รวบรวมอำนาจเบ็ดเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว โดย Lombard Odier มองว่ามี 2 เส้นทางที่จะผลักดันให้จีนเติบโตได้ คือ (1) การเปิดประเทศ ซึ่งจีนเลือกที่เปิดประเทศแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยจะเห็นแนวโน้มชัดเจนขึ้นในปีหน้า และ (2) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง นอกเหนือจากนี้ ยังมีนโยบายการเงินที่ยังช่วยหนุนอยู่ ด้วยเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ จีนจึงเป็นประเทศเดียวที่อยู่ในทิศทางการลดดอกเบี้ย ซึ่งเป้าหมายก็คือการประคับประคองภาคอสังหาฯ โดยเร่งการปล่อยสินเชื่อบ้าน ซึ่งเพียงพอให้จีนสามารถหลีกเลี่ยงฮาร์ดแลนด์ดิ้ง และหนุนให้แนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาสต่อจากนี้ให้ดีขึ้นได้
ประเด็นที่ 3 คือ วิกฤตราคาพลังงานในยุโรป จากการที่ราคาพลังงานในยุโรปพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ราคาพลังงานเริ่มปรับตัวลงแล้ว โดยมีหลายปัจจัยที่กระทบต่อความผันผวนของราคาพลังงานในยุโรป ไม่ว่าจะเป็น อากาศที่ไม่ได้หนาวมากในยุโรป ทำให้ภาคครัวเรือนยังไม่ได้ต้องการใช้พลังงานในการทำความร้อน นอกจากนี้ รัฐบาลต่างๆ ในยุโรป ก็มีความพยายามในการกักเก็บพลังงานสำรอง กระจายแหล่งที่มาของพลังงาน อาทิ การขยายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และโรงไฟฟ้าถ่านหิน และที่สำคัญที่สุดคือการหันมาใช้พลังงานทางเลือกให้มากขึ้น โดย Lombard Odier มองว่านโยบายของยุโรปโดยรวม แม้ว่าจะไม่สามารถทำให้หลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ แต่อย่างน้อยก็น่าจะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์เลวร้ายที่สุดได้
KBANK ปักเป้าสินเชื่อรวมปี 66 โต 7% ลุยขยายตลาด AEC+3
MILL วางกลยุทธ์ธุรกิจปี 66 ตั้งเป้ารายได้โต 10%
TGE ชนะประมูลโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน จ.ชัยนาท 8 MW
DITTO จ่อออกเหรียญยูทิลิตี้ หนุนกำไรส่วนเพิ่ม - GPI กางแผนธุรกิจปี66 รุกหนักเอ็กซิบิชั่น
VRANDA มั่นใจผลงานปีนี้เติบโตอย่างมีศักยภาพ
ETC เข้าชิงโรงไฟฟ้าขยะ กำลังการผลิตรวม 100 เมกะวัตต์