Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
KUN หุ้นกู้ฮอต สถาบัน-รายใหญ่เชื่อมั่นธุรกิจ
MAI
NUT เตรียมเปิดตัวสินค้าใหม่ ดันสัดส่วนออนไลน์ 75.7%
IPO
HANN ไอพีโอ 160 ล้านหุ้น เคาะราคาหุ้นละ 0.70 บาท
บล./บลจ
Webull จัดหนัก! อัด “ผลตอบแทนสูงสุด 4% ต่อปี”
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
ครม. เคาะ "วิทัย รัตนากร" ผู้ว่าฯ ธปท. คนใหม่ มีผล 1 ต.ค. 68
การค้า - พาณิชย์
SME D Bank ออกมาตรการเร่งด่วน ‘พัก-ตัด-ลด-ขยาย-เติม’
พลังงาน - อุตสาหกรรม
PTG เปิดต้นแบบสถานีชาร์จ EV ครบวงจร
คมนาคม - โลจิสติกส์
"สุริยะ" เตรียมเปิดลงทะเบียนรับสิทธิ์ใช้รถไฟฟ้า 20 บ.
แบงก์ - นอนแบงก์
EXIM BANK ออกมาตรการช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากพายุวิภา
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
ลีสซิ่งกสิกรไทยคว้ารางวัล Best Automobile Financing 2 ปีซ้อน
SMEs - Startup
KBANK จับมือ Google Cloud โชว์ความสำเร็จโครงการ Earth KATALYST
ประกันภัย - ประกันชีวิต
คปภ. เดินหน้า “OIC : Be Smart First Jobber ปีที่ 4”
รถยนต์
เมอร์เซเดส-เบนซ์ สานต่อแคมเปญ “Welcome Back Stars” ปีที่ 2
ท่องเที่ยว
Coral ผนึกพันธมิตร เปิดตัว 4 แคมเปญหนุนเที่ยวไทยครึ่งปีหลัง
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัยอัดแคมเปญพิเศษ ตอบแทนทุกกลุ่มพันธมิตร
การตลาด
ออมสิน เร่งช่วยเหลือ ชายแดนไทย-กัมพูชา-ภาคเหนือตอนบน
CSR
KBANK จับมือ Google Cloud โชว์ความสำเร็จโครงการ Earth KATALYST
Information
EXIM BANK ร่วมงานสัมมนา Thailand Smart SME 2025
Gossip
SUMX แกร่ง! อัตราผู้เช่าสูงต่อเนื่อง
Entertainment
พีทีจี จับมือ เตรียมอุดมศึกษา จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ‘TU Co-Learning Space by PTG’
สกุ๊ป พิเศษ
"รุ่ง-วิทัย" ใครจะเข้าวิน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ
KBANK โกยกำไรปี 64 กว่า 3.8 หมื่นล.
2022-01-21 15:17:52
392
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – KBANK โชว์กำไรสุทธิปี 64 จำนวน 38,053 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.05% หลังค่าใช้จ่ายในการสำรอง ECLลดลง 7.38%
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิสำหรับปี 64 จำนวน 38,053 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 8,566 ล้านบาท หรือ 29.05% ส่วนหนึ่งเกิดจากการลดลงของสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) จำนวน 3,216 ล้านบาท หรือ 7.38% โดยธนาคารและบริษัทย่อยพิจารณาตั้งสำรองฯ ในปี 64 จำนวน 40,332 ล้านบาท ซึ่งยังคงเป็นสำรองฯ ภายใต้หลักความระมัดระวัง และมีอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ณ วันที่ 31 ธ.ค.64 สูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 159.08% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 ที่อยู่ที่ระดับ 149.19% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดสำหรับความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศที่อาจชะลอลงอีกครั้งในช่วงต้นปี 65 จากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน รวมทั้งการดำเนินการเชิงรุกของธนาคารและบริษัทย่อยที่ให้ความช่วยเหลือลูกค้าผ่านมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยมีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจำนวน 7,822 ล้านบาท หรือ 6.13% โดยหลักๆ เกิดจากการให้สินเชื่อใหม่ตามยุทธศาสตร์ของธนาคารแก่ลูกค้าที่มีศักยภาพ และมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าโดยการเสริมสภาพคล่องให้ลูกค้าสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ปกติ รวมทั้งลูกค้าบางส่วนยังอยู่ภายใต้มาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ทำให้ธนาคารยังคงต้องมีการบริหารจัดการดอกเบี้ยค้างรับอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (NIM) อยู่ที่ระดับ 3.21%
สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 1,910 ล้านบาท หรือ 4.17% ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้จากการจำหน่ายหลักทรัพย์ และรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยที่ลดลง แม้ว่ารายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 2,312 ล้านบาท หรือ 7.01% ซึ่งหลักๆมาจากค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุน และค่านายหน้ารับจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ในส่วนของค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 1,048 ล้านบาท หรือ 1.50% เกิดจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ในขณะที่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายกิจกรรมทางการตลาดลดลง โดยอัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 43.49%
โดย ณ วันที่ 31 ธ.ค.64 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,103,399 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 63 จำนวน 444,601 ล้านบาท หรือ 12.15% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนสุทธิ และการเติบโตของเงินให้สินเชื่อที่มีศักยภาพ รวมทั้งมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้า สำหรับเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) ณ วันที่ 31 ธ.ค.64 อยู่ที่ระดับ 3.76% โดยธนาคารมีการติดตามดูแลคุณภาพเงินให้สินเชื่อของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบอย่างใกล้ชิด ขณะที่สิ้นปี 63 อยู่ที่ระดับ 3.93% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 ธ.ค.64 อยู่ที่ 18.77% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 16.49%
KUN หุ้นกู้ฮอต สถาบัน-รายใหญ่เชื่อมั่นธุรกิจ
THAI พร้อมกลับเข้าซื้อขายบนกระดาน 4 ส.ค.นี้
WP สัญญาณดี! ธุรกิจครึ่งปีหลังแนวโน้มโตสวย
GUNKULเดินกลยุทธ์สร้าง Resilient Growth รุก 3 ธุรกิจหลัก
THAI พร้อมคืนชีพกระดาน SET - LHBANK วางกลยุทธ์ครึ่งปีหลัง รุกSME-เทรดไฟแนนซ์
ตลท. มีมติตั้ง 2 กรรมการรายใหม่