Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
TTB แหกโค้ง กำไร Q1/68 หดตัว 5.2%
MAI
KJL เขย่าตลาดไฟฟ้า! เปิดตัว “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์”
IPO
‘BKA’ ฮอต หุ้น IPO 60 ล้านหุ้น ขายเกลี้ยง
บล./บลจ
Webull ส่ง ‘Daily Interest’ รับมือตลาดผันผวน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY ชี้เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า จับตาบอนด์สหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. โชว์ผลงานไตรมาส 1/68 ลุยปลดล็อก SMEs
พลังงาน - อุตสาหกรรม
RT ผนึก กรมโยธาฯ ตรวจสอบอาคารในกรุงเทพฯ
คมนาคม - โลจิสติกส์
WSOL ส่ง SABUY Speed ชิงส่วนแบ่งตลาดขนส่ง 5%
แบงก์ - นอนแบงก์
EXIM BANK ออกมาตรการช่วยผู้ประกอบการรับมือนโยบายภาษีสหรัฐฯ
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘กรุงศรี มอเตอร์ไซค์’ ครองแชมป์สินเชื่อสองล้อ ดันยอดสินเชื่อโต 10%
SMEs - Startup
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
ประกันภัย - ประกันชีวิต
“เมืองไทยประกันชีวิต” คลอดแคมเปญ “ShieldLife”
รถยนต์
GPI ลุยธุรกิจใหม่จัดอีเวนต์ด้าน Sport สู่กลุ่มเด็ก
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
SAM ฉลอง 25 ปี คิกออฟมาตรการพิเศษช่วยลูกค้าทุกกลุ่ม
การตลาด
CardX ลุยช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
CSR
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
Information
CHO ผู้ถือหุ้นกู้อนุมัติทุกวาระ
Gossip
บ้านปู ชวนร่วมงาน “ดีค้าบ เฟสติวัล”
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
แบงก์พาณิชย์ช่วยลูกหนี้รับพิษโควิดกว่า 2.8 แสนล.
2022-03-03 18:07:54
435
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – สมาคมธนาคารไทยเผย กลุ่มธนาคารพาณิชย์ช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด -19 แล้วกว่า 2.8 แสนล้านบาท ขณะที่มีการเตรียมพร้อมในการตอบสนองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงผลักดันขับเคลื่อนการเสริมสร้างความสามารถของภาคการเงินและประเทศให้แข่งขันได้ในระดับภูมิภาค
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ภาคธนาคารพาณิชย์เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 63 สมาคมธนาคารไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารสมาชิกสมาคมฯ ได้ร่วมกันดำเนินมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ทั้งในส่วนของการแก้หนี้เดิม เช่น มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ในระยะ 1-3 มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ มาตรการแก้หนี้ระยะยาว มาตรการรวมหนี้ พร้อมกับมาตรการในส่วนของการเติมเงินใหม่ เช่น การให้สินเชื่อดอกเบี้ย และสินเชื่อฟื้นฟู ซึ่งเป็นการรักษาสภาพคล่องเดิม และการเติมเงินใหม่ให้ลูกหนี้รายย่อย ตลอดจนช่องทางการช่วยเหลืออื่นๆ
โดยความคืบหน้าในส่วนของการช่วยเหลือข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 14 ก.พ.65 มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู มีสินเชื่อที่อนุมัติแล้ว 289,359 ล้านบาท จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 124,250 ราย ขณะที่โครงการพักทรัพย์พักหนี้ มียอดอนุมัติแล้ว 39,569 ล้านบาท จำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับความช่วยเหลือ 285 ราย โดยยังมีผู้ประกอบธุรกิจอีกหลายแห่งให้ความสนใจ และอยู่ระหว่างเจรจากับเจ้าหนี้สถาบันการเงิน ซึ่งขณะนี้ถ้าดูจากภาพรวมสินเชื่อธุรกิจขยายตัว 7.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนให้เห็นความต้องการของภาคธุรกิจที่ต้องการเงินทุนเพิ่มขึ้นจากการฟิ้นตัวของสภาพเศรษฐกิจ และธนาคารยังคงปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ
นอกจากนี้ ภาคธนาคารได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น Promptpay และ Smart infrastructure เพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินแบบ Digitlal และทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างต่อเนื่อง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด โดยเมื่อเดือนธ.ค.64 สมาคมธนาคารไทยได้ร่วมมือกับธปท. สภาหอการค้า ส.อ.ท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก้าวข้ามข้อจำกัดการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในรูปแบบเดิมๆ ของผู้ประกอบการ SMEs เพื่อสร้างแนวทางช่วยเหลือ SMEs ให้เข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ง่ายขึ้น ผ่านโครงการ Digital Supply Chain Finance ภายใต้แผนงาน SMART Financial & Payment Infrastructure for Business ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับธุรกรรมการซื้อ-ขายในรูปแบบดิจิทัล ทดแทนการออกและรับเอกสารทางการค้าในรูปแบบกระดาษ ที่มีความไม่คล่องตัว มีข้อกังวลเรื่องการปลอมแปลงเอกสาร และการใช้เอกสารเวียนขอสินเชื่อซ้ำซ้อน (Double Financing)
โดยแพลตฟอร์มนี้จะเป็นตัวกลาง ช่วยลดช่องว่างระหว่างกลุ่มธุรกิจที่เป็นผู้ซื้อ ซึ่งมีสภาพคล่องและเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากกว่าให้มีโอกาสช่วยเหลือซัพพลายเออร์ของตน เพราะขั้นตอนการขายสินค้าหรือบริการของ SMEs หลังจากออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) ต้องรอรับการชำระเงินตามเครดิตเทอม อาจมีผลต่อสภาพคล่อง
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินให้กับผู้ขาย (SMEs) เพื่อให้ได้รับเงินค่าขายสินค้าทันทีเมื่อการส่งสินค้าเสร็จสิ้น หรือเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินให้กับผู้ซื้อเพื่อชำระเงินให้คู่ค้าได้เร็วขึ้น โดยในอนาคตข้อมูลพฤติกรรมผู้ขายและผู้ซื้อภายใต้โครงการ Digital SupplyChain Finance รวมถึงข้อมูลทางเลือกอื่นๆ เช่น ประวัติการชำระค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายรายเดือนโทรศัพท์มือถือ การซื้อขายสินค้าออนไลน์ เป็นต้น จะถูกจัดส่งให้บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB) และด้วยเทคโนโลยี AI และ Data Analytics ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จะสามารถพัฒนาขีดความสามารถทางด้าน Alternative Credit Scoring สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 3 ปีของสมาคมธนาคารไทย ทั้งหมดนี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการเงิน และจะเป็นกลไกสำคัญในการช่วยภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs ให้กลับมามีศักยภาพในการแข่งขันและเติบโตได้อย่างยั่งยืน แสดงถึงเจตนารมณ์ของภาคธนาคารในการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบและโปร่งใส
โดยภาคธนาคารพาณิชย์ยังมีความเข้มแข็ง มีเงินกองทุน เงินสำรองและสภาพคล่องอยู่ในระดับสูงเพียงพอ ในการตอบสนองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศ และมุ่งมั่นสนับสนุนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผลักดันขับเคลื่อนการเสริมสร้างความสามารถของภาคการเงินและประเทศให้แข่งขันได้ในระดับภูมิภาค
TTB แหกโค้ง กำไร Q1/68 หดตัว 5.2%
CH วางแผนรับมือกำแพงภาษี "ทรัมป์"
BBL กำไรโค้งแรกโตสลุต 20% - SAFE พื้นฐานดี! ต้องมีติดพอร์ต
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
JMART เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ชุดใหม่ 5.50% เสริมแกร่งการเงิน
WSOL ยื่นฟ้องลูกหนี้-อดีตผู้บริหาร SABUY กว่า 2,600 ล้านบ.