Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
TEGH ลุยแปรสภาพ ‘TEBP’ ส่งประกวดตลาด mai
MAI
KJL เขย่าตลาดไฟฟ้า! เปิดตัว “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์”
IPO
‘BKA’ ฮอต หุ้น IPO 60 ล้านหุ้น ขายเกลี้ยง
บล./บลจ
Webull ส่ง ‘Daily Interest’ รับมือตลาดผันผวน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY ชี้เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า จับตาบอนด์สหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. โชว์ผลงานไตรมาส 1/68 ลุยปลดล็อก SMEs
พลังงาน - อุตสาหกรรม
SCB EIC ส่องอุตฯน้ำมันปาล์มสดใส ราคาน้ำมันปาล์มดิบพุ่ง 6.6%
คมนาคม - โลจิสติกส์
WSOL ส่ง SABUY Speed ชิงส่วนแบ่งตลาดขนส่ง 5%
แบงก์ - นอนแบงก์
CIMBT โชว์กำไรสุทธิ Q1/68 โต 33.9% แตะระดับ 838 ล.
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘กรุงศรี มอเตอร์ไซค์’ ครองแชมป์สินเชื่อสองล้อ ดันยอดสินเชื่อโต 10%
SMEs - Startup
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
ประกันภัย - ประกันชีวิต
“เมืองไทยประกันชีวิต” คลอดแคมเปญ “ShieldLife”
รถยนต์
GPI ลุยธุรกิจใหม่จัดอีเวนต์ด้าน Sport สู่กลุ่มเด็ก
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
SAM ฉลอง 25 ปี คิกออฟมาตรการพิเศษช่วยลูกค้าทุกกลุ่ม
การตลาด
CardX ลุยช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
CSR
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
Information
บสย. หารือสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ปลุกยอดค้ำประกัน “กระบะพี่ มีคลังค้ำ”
Gossip
บ้านปู ชวนร่วมงาน “ดีค้าบ เฟสติวัล”
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
KTC คอนเฟิร์มพอร์ตลูกหนี้ทะลุแสนล. อวดกำไรโค้งแรกปี65โต7%
2022-04-20 20:12:08
277
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - KTC ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/65 มีกำไรสุทธิ 1,752 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ขณะที่พอร์ตลูกหนี้รวมเพิ่มขึ้นทะลุ 90,208 ล้านบาท มั่นใจมูลค่าพอร์ตสินเชื่อรวมปี 65 อยู่ในระดับสูงกว่า 100,000 ล้านบาท แต่ยังให้ความสำคัญกับคุณภาพพอร์ตสินเชื่อ
เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565 นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่างๆ รวมถึงนโยบายการเปิดประเทศและมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน ตลอดจนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้ทำให้เกิดการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ ส่งให้การใช้จ่ายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยสะท้อนผลมาสู่ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของ KTC ในไตรมาส 1/65 ให้ขยายตัวขึ้น 7.9% ด้วยมูลค่า 52,247 ล้านบาท
ขณะที่พอร์ตลูกหนี้ยังคงมีการเติบโต และรักษาคุณภาพพอร์ตที่ดี ทำให้การตัดหนี้สูญน้อยลง ด้วยนโยบายการบริหารที่เน้นการรักษาคุณภาพของพอร์ตอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ให้อยู่ในอัตราต่ำอย่างต่อเนื่อง และพร้อมรับมือกับการขยายฐานลูกค้าใหม่ในกรอบความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา อัตราการอนุมัติสินเชื่อ (Approval Rate) ของ KTC ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยหากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจยังคงรักษาระดับเช่นนี้และดีขึ้นต่อเนื่อง เชื่อว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้ตามที่วางไว้
สำหรับแนวทางการเติบโตทางธุรกิจในปี 65 โดยในส่วนของธุรกิจบัตรเครดิตจะเน้นขยายฐานบัตรร่วมกับพันธมิตรรายใหญ่ ทั้งการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ พัฒนาปรับปรุงบัตรเครดิตร่วม (Co-brand) ด้วยเป้าหมายการเติบโตของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ 10% หรือประมาณ 220,000 ล้านบาท ส่วนธุรกิจสินเชื่อบุคคลจะขยายฐานสมาชิกใหม่ที่มีศักยภาพ ด้วยการนำเสนอบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” เจาะกลุ่มผู้มีรายได้ประจำและมีฐานรายได้ที่สูงขึ้น โดยประมาณการเติบโตที่ 7%
ในส่วนของธุรกิจ “เคทีซี พี่เบิ้ม” และกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง ตั้งเป้ามียอดลูกหนี้ 11,500 ล้านบาท ผ่านความร่วมมือกับเครือข่ายธนาคารกรุงไทยกว่า 900 สาขาทั่วประเทศ รวมทั้งการรักษาพอร์ตลูกหนี้ให้มีคุณภาพที่ดีในระดับเดิม ทั้งนี้ การจะนำพาธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เคทีซี จะมีค่าใช้จ่ายเชิงกลยุทธ์ในด้านการตลาดที่มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้ได้มาซึ่งส่วนแบ่งการตลาดที่สูงขึ้น
โดยคาดว่าในปี 65 KTC จะมีมูลค่าพอร์ตสินเชื่อรวมมากกว่า 100,000 ล้านบาท และกำไรที่สูงขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งจะมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนไทย และยกระดับองค์กรสู่การเป็นผู้นำทางธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ที่บูรณาการความยั่งยืนให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับประเทศและระดับสากล
สำหรับผลการดำเนินงานของ KTC ในงวดไตรมาส 1/65 เทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน มีกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการและงบการเงินรวม 1,752 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3% และ 1,747 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.9% ตามลำดับ ฐานสมาชิกรวม 3,263,842 บัญชี แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,510,221 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวม 90,208 ล้านบาท จากการเข้าซื้อกิจการในบริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด (KTBL) อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวม (NPL) อยู่ที่ระดับ 3.6% เท่ากับไตรมาสก่อนหน้า
ในส่วนของเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 57,929 ล้านบาท NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.2% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 753,621 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม 29,125 ล้านบาท NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 2.6% และ พอร์ตลูกหนี้ตามสัญญาเช่ามูลค่า 3,155 ล้านบาท โดยแนวโน้มยอดสินเชื่อลูกหนี้ใหม่ (New Booking) ของสินเชื่อเคทีซี พี่เบิ้ม และกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง (KTBL) ในไตรมาส 1/65 เพิ่มขึ้น 112.6% จากไตรมาส 1/64 และเพิ่มขึ้น 27.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
ทั้งนี้ KTC ยังคงคำนึงถึงการสร้างความสมดุลของรายได้และค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยควบคุมต้นทุนทางการเงินให้อยู่ในระดับใกล้เคียงเดิม และสร้างพอร์ตที่มีระดับความเสี่ยงสอดคล้องกับรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นผลให้บริษัทมีฐานการขยายตัวของกำไรต่อเนื่อง โดยไตรมาส 1/65 มีรายได้รวม 5,357 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.7% จากไตรมาส 1/64 มีรายได้ค่าธรรมเนียมใกล้เคียงเดิม และมีหนี้สูญได้รับคืน 857 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 834 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวมลดลง 3.1% จากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ลดลงที่ 13.2% และต้นทุนทางการเงินลดลง 7.4% ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้น 5.0% และค่าใช้จ่ายด้านโปรโมชันทางการตลาดสูงขึ้น เพื่อการลงทุนในการสร้างพอร์ต ที่หวังสร้างรายได้และผลกำไรให้กับธุรกิจในระยะยาว
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ดำเนินการนโยบายต่อเนื่อง เพื่อร่วมแบ่งเบาภาระสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค.65 KTC ได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในทุกสถานะเป็นจำนวนเงิน 2,278 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.63% ของพอร์ตลูกหนี้รวม
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มี.ค.65 บริษัทมีเงินกู้ยืมทั้งสิ้น 50,367 ล้านบาท ลดลง 4.9% จากช่วงเดียวกันของปี 64 โดยมีโครงสร้างแหล่งเงินทุนมาจากเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาว คิดเป็นสัดส่วน 29% ต่อ 71% ต้นทุนการเงินอยู่ที่ 2.6% อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.0 เท่า ซึ่งต่ำกว่าภาระผูกพันที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า และมีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) 29,259 ล้านบาท
TEGH ลุยแปรสภาพ ‘TEBP’ ส่งประกวดตลาด mai
TTB แหกโค้ง กำไร Q1/68 หดตัว 5.2%
CH วางแผนรับมือกำแพงภาษี "ทรัมป์"
BBL กำไรโค้งแรกโตสลุต 20% - SAFE พื้นฐานดี! ต้องมีติดพอร์ต
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
JMART เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ชุดใหม่ 5.50% เสริมแกร่งการเงิน