Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
MAI
AUCT ปลื้ม! ถูกจัดเป็นหุ้น ROE สูงกว่า 15% ต่อเนื่อง 3 ปี
IPO
MASTEC ปิดโรดโชว์ 10 จังหวัด ลุย IPO 79 ล้านหุ้น
บล./บลจ
orbix INVEST ออกแคมเปญช่วยชดเชยขาดทุน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์ เดินสายโซนตะวันออกจัดสัมมนาเชิงเทคนิค ครั้งที่ 2
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
EXIM BANK สานต่อโครงการ “คุณสู้ เราช่วย เฟส 2”
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
ประกันภัย - ประกันชีวิต
MTL ตอกย้ำดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบและโปร่งใส
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM ยกทรัพย์กว่า 4,000 รายการ พร้อมโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าหาดใหญ่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
Information
BAM สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน ในกิจกรรม “BAM x ปันกัน ปันของรัก ส่งน้องเรียน”
Gossip
AMARC สุดฮอต โบรกฯ เพิ่มเป้าราคา 2.70 บาท
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
SCB แนะเอสเอ็มอีรับมือเศรษฐกิจโลกเผชิญความไม่แน่นอนสูง
2022-09-15 17:41:02
275
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – SCB จัดงานสัมมนา “SME OF THE FUTURE อนาคต SMEs ไทยไปต่ออย่างไรดี เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเอสเอ็มอีรับมือกับปัจจัยเสี่ยงและความท้าทายในแง่มุมต่างๆ และช่วยเป็นแนวทางในการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับโลกธุรกิจในอนาคต ชู 3 กลยุทธ์ “บริหารเสี่ยง-ยึดลูกค้าศูนย์กลาง-ปรับโมเดลธุรกิจสอดคล้องสถานการณ์”
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า แม้เศรษฐกิจโลกจะมีความไม่แน่นอนสูงจากปัจจัยลบดังกล่าวข้างต้น แต่ยังมีความย้อนแย้งในหลายมิติ เช่น ภาคการผลิตโลกโดยรวมยังดี สวนทางกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวโดยเฉพาะในสหรัฐฯ สวนทางกับตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง
ในส่วนของประเทศไทย การจับจ่ายใช้สอยในประเทศเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคและการเปิดประเทศ แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงภายนอกเข้ามากระทบเศรษฐกิจในประเทศ เป็นต้น โดยความย้อนแย้งดังกล่าวนี้สะท้อนว่า เศรษฐกิจโลกกำลังยืนอยู่บน “รอยต่อของการเปลี่ยนแปลงระหว่างดีกับไม่ดี”
ขณะที่ในระยะยาว แม้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จะเริ่มคลี่คลาย แต่ธุรกิจในโลกจากนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น รูปแบบการผลิต การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เป็นผลให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวรับมือกับปัญหาทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้า และปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะยาว เพราะต่อให้เศรษฐกิจกลับมาสู่ภาวะปกติมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าสินค้าจะกลับมาขายดี โดยเฉพาะผู้ผลิตที่ปรับตัวไม่ทัน
“ในสหรัฐฯภาคแรงงานยังเข้มแข็ง ญี่ปุ่นแม้อัตราการติดเชื้อโควิด19 สูง แต่ภาคส่งออกและการบริโภคยังดี ส่วนประเทศที่น่าเป็นห่วงคือ ยุโรป และจีน ถามว่าประเทศไหนจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ยุโรปน่าจะมาก่อน อังกฤษน่าจะเป็นประเทศแรก เนื่องจากเผชิญกับราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น และส่อจะขาดแคลนก๊าซธรรมชาติ เป็นผลพวงจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่ยอดขายและการผลิตสินค้าในยุโรปปรับตัวลดลง และจีนที่มรสุมเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากนโยบายซีโร่โควิดที่กระทบต่อภาคการผลิต ต่อเนื่องมาถึงกำลังซื้อของคนจีนเริ่มหายไประดับหนึ่ง ลามมาเกิดปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์” ดร.สมประวิณ กล่าว
อย่างไรก็ตาม มองว่าอาเซียนยังเป็นตลาดที่น่าสนใจ ได้รับผลกระทบไม่มากจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากขนาดของกำลังซื้อที่เพิ่มสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในปีนี้ โดยเห็นว่าการเพิ่มอัตราการค้าร่วมกันระหว่างอาเซียน จะเป็นแนวทางลดผลกระทบเศรษฐกิจโลกที่ดี เช่นเดียวกับเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะแตะ 10 ล้านคนในปี 65 ส่งผลให้รายได้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องปรับตัวสูงขึ้น ช่วยเพิ่มกำลังซื้อในประเทศ ขณะที่ภาคส่งออกไทยดีขึ้นในบางสินค้าในบางประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกไปยังอาเซียน แต่ในระยะถัดไปการส่งออกจะถูกขับเคลื่อนด้วยราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าในเชิงปริมาณ สะท้อนกำลังซื้อทั่วโลกที่ลดลง แต่สินค้าราคาแพงขึ้น
โดยมีคำแนะนำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรับมือความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างผ่าน 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1. การรักษาระดับการเติบโตและบริหารความเสี่ยงธุรกิจ ด้วยการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและบริหารวัตถุดิบ เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำธุรกิจให้ปรับตัวรับวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว ดูแล balance sheet โดยลดสินค้าคงคลัง ลดหนี้ และดูแลความเสี่ยงให้ครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่ การ Hedging เพื่อลดความผันผวนของราคาวัตถุดิบ และสร้างความมั่นคงและความยืดหยุ่นของซัพพลายเชนผ่านการบริหารความเสี่ยงของคู่ค้า รวมถึงการบริหารสินค้าคงคลัง
2.การยึดหลักลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ เน้นการเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคและแนวโน้ม new normal อย่างใกล้ชิด การวิเคราะห์ข้อมูลให้เข้าใจความต้องการลูกค้า การนำเสนอสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคในรูปแบบใหม่ๆ และการสร้าง Customer journey เพื่อช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัลได้เร็วขึ้น
3.การทรานส์ฟอร์มธุรกิจให้หลากหลายและลงทุนธุรกิจแห่งอนาคต โดยปรับโมเดลธุรกิจให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคและสอดคล้องกับสภาวะตลาด หันไปลงทุนในธุรกิจด้านอื่นๆ เพื่อลดการพึ่งพารายได้จากช่องทางเดียว การลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริหารจัดการ การลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน จัดทำแผน retain และ reskill พนักงานให้สอดรับกับการเข้ามาของเทคโนโลยีและเทรนด์ใหม่ๆ และมองหาโอกาสในการควบรวมธุรกิจ เป็นต้น
สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถติดตามข้อมูลเคล็ดลับธุรกิจ และกิจกรรมงานสัมมนาที่จะเป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจจากธนาคารไทยพาณิชย์และพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการลูกค้าเอสเอ็มอี ผ่านช่องทาง website : www.scb.co.th/th/sme-banking Facebook: www.facebook.com/groups/scbsme/ หรือ ติดต่อสอบถามข้อมูลธุรกิจได้ทาง SCB SME Business Call Center โทร. 02-722-2222
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
KUN ยื่นไฟลิ่งเตรียมออกหุ้นกู้ รองรับแผนพัฒนาโครงการใหม่
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
NL สอยงานใหม่เข้าพอร์ต Backlog ทะลุ 2.5 พันล. - PRAPAT ขยายตลาดบังคลาเทศ