Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
MAI
AUCT ปลื้ม! ถูกจัดเป็นหุ้น ROE สูงกว่า 15% ต่อเนื่อง 3 ปี
IPO
MASTEC ปิดโรดโชว์ 10 จังหวัด ลุย IPO 79 ล้านหุ้น
บล./บลจ
orbix INVEST ออกแคมเปญช่วยชดเชยขาดทุน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์ เดินสายโซนตะวันออกจัดสัมมนาเชิงเทคนิค ครั้งที่ 2
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
EXIM BANK สานต่อโครงการ “คุณสู้ เราช่วย เฟส 2”
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต ส่งมอบโครงการปรับปรุงศูนย์กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM ยกทรัพย์กว่า 4,000 รายการ พร้อมโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าหาดใหญ่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
Information
BAM สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน ในกิจกรรม “BAM x ปันกัน ปันของรัก ส่งน้องเรียน”
Gossip
AMARC สุดฮอต โบรกฯ เพิ่มเป้าราคา 2.70 บาท
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
เงินเฟ้อเดือน พ.ย. สูงขึ้น 5.5% แต่ชะลอตัวเป็นเดือนที่ 3
2022-12-08 09:48:30
283
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - อัตราเงินเฟ้อของไทยเดือน พ.ย. สูงขึ้น 5.5% แต่เป็นการชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในกลุ่มอาหาร คาด ธ.ค.ยังทรงตัวในระดับสูง ประเมินทั้งปีอยู่ในช่วง 5.5-6.5%
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค. กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนพฤศจิกายน 2565 เท่ากับ 107.92 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 102.25 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้น 5.55% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 (จาก 6.41% และ 5.98% ในเดือนกันยายน และตุลาคม 2565 ตามลำดับ) ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะผักสด ผลไม้สด เนื้อสัตว์ และเครื่องประกอบอาหาร เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่มีมากกว่าเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเงินเฟ้อของต่างประเทศ (ข้อมูลล่าสุดเดือนตุลาคม 2565) พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับดีกว่าหลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิตาลี เม็กซิโก อินเดีย รวมถึงประเทศในอาเซียน ทั้งลาว ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 8.40% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่สูงขึ้น 9.58% ตามราคาผักสดที่ลดลงค่อนข้างมาก (ผักกาดขาว ผักคะน้า ขึ้นฉ่าย ฟักทอง) เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมน้อยกว่าปีที่ผ่านมา และมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น ทำให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ สินค้าในกลุ่มผลไม้ เนื้อสุกร และไก่สด ปริมาณผลผลิตที่มีมากกว่าเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ความต้องการในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้ราคาชะลอตัว รวมถึงเครื่องประกอบอาหารที่ราคาชะลอตัว และส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการที่สมดุลระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้าและผู้บริโภค ของกระทรวงพาณิชย์ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 3.59% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการสูงขึ้นของสินค้ากลุ่มพลังงาน ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม รวมทั้งค่าโดยสารสาธารณะ นอกจากนี้ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด อาทิ ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม และน้ำยาล้างจาน ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย
ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้น 3.22% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้น 3.17% ตามต้นทุนการผลิตที่เกิดจากราคาพลังงานยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ราคาขายปลีกสินค้าและบริการปรับเพิ่มขึ้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนพฤศจิกายน 2565 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 มาอยู่ที่ระดับ 49.9 จากระดับ 47.7 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งใกล้จะเข้าสู่ช่วงความเชื่อมั่น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 38.7 มาอยู่ที่ระดับ 40.4 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต
(3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 53.7 มาอยู่ที่ระดับ 56.3 อยู่ระดับที่มีความเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ มาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่มีต่อเนื่อง รวมทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม
แม้ว่าเศรษฐกิจของไทยจะปรับตัวดีขึ้น แต่มีปัจจัยเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในต่างประเทศ รวมถึงราคาสินค้าและบริการในประเทศที่ยังอยู่ในระดับสูง จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในระยะต่อไป
สำหรัลแนวโน้มเงินเฟ้อเดือนธันวาคม 2565 คาดว่าจะยังขยายตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากราคาพลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม) สินค้ากลุ่มอาหาร (อาทิ เนื้อสัตว์ ไข่และผลิตภัณฑ์นม และอาหารสำเร็จรูป) และค่าโดยสารสาธารณะ ยังสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน รวมทั้ง อุปสงค์ในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรบางชนิดที่มีมากกว่าปีที่ผ่านมา มาตรการดูแลค่าครองชีพของภาครัฐ แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท และการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่จะเป็นปัจจัย ที่อาจลดทอนอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือได้ ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 อยู่ที่ระหว่าง 5.5 - 6.5% (ค่ากลาง 6.0%) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
KUN ยื่นไฟลิ่งเตรียมออกหุ้นกู้ รองรับแผนพัฒนาโครงการใหม่
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
NL สอยงานใหม่เข้าพอร์ต Backlog ทะลุ 2.5 พันล. - PRAPAT ขยายตลาดบังคลาเทศ