Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
TEGH ลุยแปรสภาพ ‘TEBP’ ส่งประกวดตลาด mai
MAI
KJL เขย่าตลาดไฟฟ้า! เปิดตัว “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์”
IPO
‘BKA’ ฮอต หุ้น IPO 60 ล้านหุ้น ขายเกลี้ยง
บล./บลจ
Webull ส่ง ‘Daily Interest’ รับมือตลาดผันผวน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY ชี้เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า จับตาบอนด์สหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. โชว์ผลงานไตรมาส 1/68 ลุยปลดล็อก SMEs
พลังงาน - อุตสาหกรรม
SCB EIC ส่องอุตฯน้ำมันปาล์มสดใส ราคาน้ำมันปาล์มดิบพุ่ง 6.6%
คมนาคม - โลจิสติกส์
WSOL ส่ง SABUY Speed ชิงส่วนแบ่งตลาดขนส่ง 5%
แบงก์ - นอนแบงก์
CIMBT โชว์กำไรสุทธิ Q1/68 โต 33.9% แตะระดับ 838 ล.
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘กรุงศรี มอเตอร์ไซค์’ ครองแชมป์สินเชื่อสองล้อ ดันยอดสินเชื่อโต 10%
SMEs - Startup
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
ประกันภัย - ประกันชีวิต
“เมืองไทยประกันชีวิต” คลอดแคมเปญ “ShieldLife”
รถยนต์
GPI ลุยธุรกิจใหม่จัดอีเวนต์ด้าน Sport สู่กลุ่มเด็ก
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
SAM ฉลอง 25 ปี คิกออฟมาตรการพิเศษช่วยลูกค้าทุกกลุ่ม
การตลาด
CardX ลุยช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
CSR
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
Information
บสย. หารือสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ปลุกยอดค้ำประกัน “กระบะพี่ มีคลังค้ำ”
Gossip
บ้านปู ชวนร่วมงาน “ดีค้าบ เฟสติวัล”
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
SCB EIC มอง ‘BNPL’ ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง ตัวแปรใหม่ของการช้อปปิ้ง
2023-09-11 20:08:21
605
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB EIC ระบุว่า Buy Now, Pay Later (BNPL) หรือ การซื้อสินค้าแบบ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” เป็นการซื้อสินค้าที่มีการแบ่งชำระเงินออกเป็นงวด ๆ เท่า ๆ กัน โดยงวดแรกเกิดขึ้น ณ วันทำการซื้อขาย และการชำระครั้งต่อไปจะเรียกเก็บจากบัญชีธนาคาร บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิตของผู้ใช้บริการ จนกว่าจะชำระเต็มจำนวน ซึ่งการซื้อก่อนจ่ายทีหลังจะมีค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต่ำ ไม่มีดอกเบี้ยหากชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด BNPL ได้รับความนิยมในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ โดยเฉพาะผู้บริโภคกลุ่ม Millennials และ Gen Z เนื่องจากสะดวก และเข้าถึงง่าย
ทั้งนี้ BNPL เป็นอีกทางเลือกในการชำระเงินของผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ที่มีงบประมาณไม่เพียงพอซึ่งจะสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการชำระเงิน และอาจทำให้มูลค่าการซื้อสินค้าในแต่ละครั้งของลูกค้าเพิ่มขึ้นเนื่องจากลูกค้าสามารถแบ่งชำระเป็นงวดได้ นอกจากนี้ BNPL มีความแตกต่างจากบัตรเครดิต ที่ผู้ใช้สามารถสมัครได้โดยไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบประวัติเครดิตบูโร และได้รับการอนุมัติอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การมี BNPL เป็นทางเลือกในการชำระค่าสินค้าและบริการ ยังอาจมีส่วนช่วยให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ
โดยผู้ค้าปลีกไทยสามารถนำ BNPL มาใช้เป็นทางเลือกเพื่อเพิ่มยอดขายได้ 2 รูปแบบ คือ 1.ให้บริการผ่าน Platform ของตนเอง หรือ 2.ผ่าน Third party โดยผู้ประกอบการอาจจะพัฒนาระบบ Online BNPL ของร้านค้าโดยเฉพาะ เพื่อนำ BNPL มาใช้เฉพาะในห้างร้านของตน ในทางกลับกัน ผู้ประกอบการสามารถใช้บริการจาก Third party company ที่ให้บริการ BNPL โดยเฉพาะ และต้องพิจารณาว่าวิธีใดเหมาะสมกับธุรกิจตน เช่น ประเมินความคุ้มค่าที่จะได้จากการเพิ่มช่องทางการชำระเงินให้ผู้ซื้อแบบ Buy Now, Pay Later โดยอาจพิจารณาจากต้นทุนค่าธรรมเนียมที่จะต้องเสียให้กับ Partner ที่ให้สินเชื่อ BNPL และยอดขาย กำไร ที่จะได้รับเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มช่องทาง BNPL หรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหากร้านค้าเลือกจะเป็นผู้ให้บริการ BNPL เสียเอง แต่การนำ BNPL มาใช้ในธุรกิจค้าปลีกก็มีข้อควรระวัง อาทิ ประเด็นในเรื่องการบริหารสภาพคล่องของร้านค้าจากการที่ต้องรอการชำระเงินจากผู้ให้บริการ BNPL อีกทั้ง ยังมีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้กับผู้ให้บริการ BNPL รวมถึงภาระในการบริหารจัดการระบบที่อาจมีความซับซ้อนมากกว่าการชำระเงินตามปกติ
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเติบโตของ BNPL ยังมีความเสี่ยงและความท้าทาย ซึ่งอาจลดทอนแรงสนับสนุนต่อธุรกิจค้าปลีก แม้ภาพรวมตลาด BNPL ที่ยังมีแนวโน้มเติบโต จะช่วยหนุนยอดขายของกลุ่มค้าปลีก แต่ยังมีความเสี่ยงและความท้าทายของผู้ให้บริการ BNPL ที่ต้องเผชิญ เช่น ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ ต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น และคู่แข่งทางธุรกิจ รวมไปถึงมาตรการการจัดการหนี้ครัวเรือนจาก ธปท. ซึ่งอาจส่งผลให้แรงสนับสนุนของ BNPL ต่อธุรกิจค้าปลีกชะลอลงบ้าง
TEGH ลุยแปรสภาพ ‘TEBP’ ส่งประกวดตลาด mai
TTB แหกโค้ง กำไร Q1/68 หดตัว 5.2%
CH วางแผนรับมือกำแพงภาษี "ทรัมป์"
BBL กำไรโค้งแรกโตสลุต 20% - SAFE พื้นฐานดี! ต้องมีติดพอร์ต
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
JMART เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ชุดใหม่ 5.50% เสริมแกร่งการเงิน