Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
MAI
AUCT ปลื้ม! ถูกจัดเป็นหุ้น ROE สูงกว่า 15% ต่อเนื่อง 3 ปี
IPO
MASTEC ปิดโรดโชว์ 10 จังหวัด ลุย IPO 79 ล้านหุ้น
บล./บลจ
orbix INVEST ออกแคมเปญช่วยชดเชยขาดทุน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์ เดินสายโซนตะวันออกจัดสัมมนาเชิงเทคนิค ครั้งที่ 2
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
EXIM BANK สานต่อโครงการ “คุณสู้ เราช่วย เฟส 2”
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
ประกันภัย - ประกันชีวิต
MTL ตอกย้ำดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบและโปร่งใส
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM ยกทรัพย์กว่า 4,000 รายการ พร้อมโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าหาดใหญ่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
Information
BAM สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน ในกิจกรรม “BAM x ปันกัน ปันของรัก ส่งน้องเรียน”
Gossip
AMARC สุดฮอต โบรกฯ เพิ่มเป้าราคา 2.70 บาท
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
SCB EIC จับสัญญาณส่งออกเดือน ก.ค. ลุ้นพลิกขยายตัว
2024-07-30 17:07:06
273
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – SCB EIC มองตัวเลขส่งออกเดิน มิ.ย.หดตัวเล็กน้อย รับแรงกดดันจากกลุ่มผลไม้ส่งออกไปจีนแผ่วตัวลงอีกครั้งจากอากาศแล้ง แต่ประเมินตัวเลขส่งออกเดือน ก.ค. จะพลิกขยายตัวได้
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือน มิ.ย. 2567 อยู่ที่ 24,796.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พลิกกลับมาหดตัวเล็กน้อย -0.3% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน หลังจากที่ขยายตัวดี 6.9% ในเดือนก่อนหน้า การหดตัวในเดือนนี้เป็นผลจากปัจจัยฐานสูงเป็นสำคัญ ประกอบกับการส่งออกผลไม้ไปจีนหดตัวอีกครั้งจากภัยแล้งในช่วงก่อนหน้า แม้จะยังมีแรงส่งจากการส่งออกทองคำที่ขยายตัวมากถึง 184.1% ก็ตาม ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกหลังหักทองคำและปัจจัยฐานหดตัวเล็กน้อยที่ -0.4% เทียบกับเดือนก่อนแบบปรับฤดูกาล สะท้อนภาวะการส่งออกของไทยที่ใกล้เคียงเดือนก่อน ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกไทยในครึ่งแรกของปีนี้อยู่ที่ 145,290 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ทั้งนี้ หากพิจารณาสินค้าส่งออกรายหมวด พบว่า 1.สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรหดตัว -4.8% จากที่ขยายตัว 0.8% ในเดือนก่อน โดยผลิตภัณฑ์ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์และอาหารสัตว์เลี้ยงเป็นสินค้าหลักที่ขยายตัว ขณะที่น้ำตาลทรายเป็นสินค้าสำคัญที่หดตัว, 2.สินค้าเกษตรกลับมาหดตัว -2.2% จากที่ขยายตัวมากถึง 36.3% ในเดือนก่อน โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้งที่หดตัว -37.8% หลังขยายตัวสูงถึง 128% ในเดือนก่อน จากอากาศแล้ง โดยเฉพาะตลาดจีนหดตัวถึง -40.2% จากที่ขยายตัวถึง 142.4% ในเดือนก่อน ทั้งนี้ การส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้งเป็นสินค้าสำคัญที่กดดันให้มูลค่าการส่งออกในเดือน มิ.ย. ลดลงถึง -1.4% จากการส่งออกรวมที่หดตัว -0.3% ขณะที่ข้าวและยางพาราเป็นสินค้าเกษตรสำคัญที่ขยายตัว 3.สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 0.3% ชะลอลงจาก 4.2% ในเดือนก่อน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเป็นสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ขณะที่เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ, แผงวงจรไฟฟ้า, เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นสินค้าสำคัญที่หดตัว และ 4.สินค้าแร่และเชื้อเพลิงขยายตัวชะลอลงเหลือ 1.3% หลังจากขยายตัว 2.6% ในเดือนก่อน
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาการส่งออกรายตลาด พบว่า 1.ตลาดฮ่องกงพลิกกลับมาหดตัว -15.5% หลังจากที่ขยายตัว 25.1% ในเดือนก่อน โดยสินค้าส่งออกไปฮ่องกงที่สำคัญสุด 3 ประเภทหดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับหดตัว -14.2% เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบหดตัว -12.9% และแผงวงจรไฟฟ้าหดตัว -16.9%, 2.ตลาดญี่ปุ่นหดตัว -12.3% รุนแรงขึ้นจาก -1% ในเดือนก่อน โดยเป็นการหดตัวที่ค่อนข้างทั่วถึง เพราะ 12 ใน 15 สินค้าส่งออกไปญี่ปุ่นที่สำคัญหดตัวในเดือนนี้ เป็นภาพต่อเนื่องจากที่เห็นการหดตัวทั้ง 15 สินค้าในเดือนก่อน, 3.ตลาดจีนพลิกกลับมาหดตัว -12.3% หลังจากที่ขยายตัวมากถึง 31.2% ในเดือนก่อน ตามการส่งออกสินค้าสำคัญหลายชนิดที่หดตัวเป็นตัวเลขสองหลัก เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้งหดตัวถึง -40.2% เม็ดพลาสติกหดตัว -19.8% ผลิตภัณฑ์ยางหดตัว -17%
4.การส่งออกไปสหรัฐฯ และอินเดียขยายตัวดีในเดือนนี้และครึ่งแรกของปี และมีแนวโน้มเป็นตลาดสำคัญของการส่งออกไทยในช่วงครึ่งหลังของปีต่อไปได้, 5.ตลาดสวิตเซอร์แลนด์ขยายตัวมากถึง 106.9% จากการส่งออกทองคำที่ขยายตัวสูงถึง 1,641.7% และ 6.ตลาด CLMV ขยายตัว 7.5% จากการส่งออกไปกัมพูชาที่ขยายตัว 44.2% โดยเฉพาะจากการส่งออกทองคำไปกัมพูชาที่ขยายตัวมากถึง 648.6% แต่การส่งออกสินค้าไม่รวมทองคำไปกัมพูชากลับหดตัว -4.1% ขณะที่การส่งออกไปยังลาวและเมียนมาหดตัว -0.8% และ -24% และการส่งออกไปเวียดนามขยายตัว 2.6%
สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 24,578.5 พลิกกลับมาขยายตัว 0.3% หลังจากหดตัว -1.6% ในเดือนก่อน โดยการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปขยายตัวดี 6.3% สินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลง 1.3% ขณะที่การนำเข้ายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง สินค้าเชื้อเพลิง และสินค้าทุนหดตัว -22.2% -3.8% และ -2% ตามลำดับ ดุลการค้าระบบศุลกากรในเดือนนี้กลับมาเกินดุล 656.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อเนื่องจาก 656.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน พ.ค. สำหรับภาพรวมครึ่งแรกของปี 2567 ดุลการค้าไทยยังคงขาดดุล -5,242.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกในเดือน ก.ค. มีแนวโน้มพลิกกลับมาขยายตัวได้ จากปัจจัยฐานต่ำเป็นสำคัญ เนื่องจากมูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ค. ปี 2566 หดตัวมากถึง -10.3% ตามเศรษฐกิจโลกที่ไม่สดใสนักในขณะนั้นประกอบกับการส่งออกทองคำหดตัวมากถึง -53.7% ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโลกและเครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมโลกยังเอื้อต่อการส่งออกไทยอยู่บ้าง สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโลกที่ยังอยู่เหนือระดับ 50 แต่ข้อมูลเดือนล่าสุดทยอยปรับลดลงต่ำกว่า 50 ในประเทศพัฒนาแล้ว โดย SCB EIC ประเมินมูลค่าการส่งออกไทยปีนี้จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ 2.6% ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ภาคการผลิตโลก และราคาสินค้าส่งออกที่มีทิศทางเติบโตดีขึ้นกว่ามุมมองก่อนหน้านี้
ขณะที่ในปี 2568 มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องใกล้เคียงปีนี้ ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีเติบโตใกล้เคียงปีนี้และปริมาณการค้าโลกที่มีแนวโน้มเร่งขึ้นจากปีนี้ จากความต้องการบริโภคสินค้าภาคการผลิตที่มากขึ้น ภายใต้แรงกดดันปัญหาเชิงโครงสร้างภาคการส่งออกของไทยที่ไม่สามารถปรับตัวตามความต้องการในตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้เต็มที่ ตลอดจนผลการเลือกตั้งสำคัญในโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่มีแนวโน้มจะทำให้คู่ค้าสำคัญของไทยมีลักษณะเป็น Protectionism และใช้เครื่องมือกีดกันทางการค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหา China overcapacity ยังเป็นความเสี่ยงและปัจจัยกดดันสำคัญที่ต้องจับตามอง เนื่องจากทำให้สินค้าไทยแข่งขันด้านราคากับสินค้าจีนในตลาดโลกได้ยากขึ้น ทั้งนี้ SCB EIC อยู่ระหว่างการประเมินอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกไทยในปี 2567 และ 2568 ใหม่ และจะเผยแพร่ในช่วงปลายเดือน ส.ค.
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
KUN ยื่นไฟลิ่งเตรียมออกหุ้นกู้ รองรับแผนพัฒนาโครงการใหม่
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
NL สอยงานใหม่เข้าพอร์ต Backlog ทะลุ 2.5 พันล. - PRAPAT ขยายตลาดบังคลาเทศ