Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
TSR เคลียร์! ทุกข้อสงสัย กรณีผู้สอบไม่แสดงความเห็นต่องบปี 67
MAI
APM ยื่นไฟลิ่งหุ้นกู้ DHOUSE มูลค่าไม่เกิน 120 ล.
IPO
BKA เคาะ IPO หุ้นละ 1.80 บาท เปิดจองซื้อ 8-10 เม.ย.นี้
บล./บลจ
SCBAM ประกาศแผนธุรกิจปี 68 ปั้นAUM สู่ 2 ล้านล้าน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
กรุงศรี วางกรอบเงินบาท 33.70-34.30 จับตากำแพงภาษีสหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. ร่วมงาน “พาแบงก์รัฐ มาช่วยราษฎร์” ดันเศรษฐกิจท้องถิ่น
พลังงาน - อุตสาหกรรม
‘ไทยออยล์ - KTB’ ลงนาม MOU ธุรกรรมบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SINO ขยายคลังสินค้าหลังใหม่ในนิคมฯ แหลมฉบัง
แบงก์ - นอนแบงก์
ไทยเครดิต เปิดตัว “น้องตังค์โต” มาสคอตการเงิน
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
PUEAN ผุดหุ้นกู้มีประกัน ดอกเบี้ยคงที่ 7.50% ต่อปี
SMEs - Startup
World นำร่องในไทย 3 แห่ง เปิดตัวเทคโนโลยีพิสูจน์ความเป็นมนุษย์
ประกันภัย - ประกันชีวิต
TQM Home Insurance ประกันภัยบ้าน คุ้มครองมากกว่าแค่อัคคีภัย
รถยนต์
Autoclik ชวนตรวจเช็กรถฟรี 37 รายการ ก่อนเดินทางสงกรานต์
ท่องเที่ยว
BEYOND ปี 68 ดัน รายได้โรงแรมแตะ 3,700 ล้านบ.
อสังหาริมทรัพย์
MK ประกาศ! ชำระคืนหุ้นกู้ 3,383 ล้านบ. ตามกำหนด
การตลาด
TTB ร่วมเปิดโชว์การแสดงระดับโลก Disney On Ice
CSR
World นำร่องในไทย 3 แห่ง เปิดตัวเทคโนโลยีพิสูจน์ความเป็นมนุษย์
Information
MEDEZE แบ่งปันความสุขแก่เด็ก บ้านศรีนครินทร์ มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม
Gossip
DTCENT จัดโปรฯรับสงกรานต์ อัพยอดขาย
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
NER ปี 68 ดันยอดขาย 5 แสนตัน
ไทยเครดิต หนุนไมโครเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุน
2025-04-03 16:07:28
108
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – ธนาคารไทยเครดิต เดินหน้าหนุนลูกค้า SME เปิดตัวสินเชื่อ “SME กล้าสู้” ช่วยผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ตั้งเป้ายอดปล่อยสินเชื่อ 1 - 1.5 หมื่นล้านบาทภายในปีนี้ พร้อมตั้งเป้าคุม NPL ของสินเชื่อSME ไว้ที่ไม่เกิน 3.7% ขณะที่พอร์ตสินเชื่อSME สิ่นปี 67 อยู่ที่ 1.1 แสนล้านบาท ตั้งเป้าปีนี้โต 20%
เมื่อวันที่ เมษายน 2568 นายรอยย์ ออกุสตินัส กุนารา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) หรือ CREDIT เปิดเผยว่า“ผู้ประกอบการไมโครเอสเอ็มอี ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจไทย แม้จะมีศักยภาพในการเติบโต แต่ยังคงต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดังนั้น ธนาคาร จึงได้พัฒนา ‘สินเชื่อ SME กล้าให้’ โดยได้เริ่มให้บริการสินเชื่อดังกล่าวอย่างเป็นทางการในปี 2562 และได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากตลาด
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 6 ปี ‘สินเชื่อ SME กล้าให้’ มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากเดิม 2% ในปี 2562 ขยายตัวเป็น 8% ในปี 2567 นอกจากส่วนแบ่งทางการตลาดแล้ว สินเชื่อในกลุ่มไมโครเอสเอ็มอีของธนาคารฯ ยังมีอัตราการเติบโตที่โดดเด่นในหลายด้าน อาทิ ยอดการปล่อยสินเชื่อใหม่ (New Booking Volume) ตั้งแต่ปี 2562-2567 รวมกว่า 180,000 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเคสในการปล่อยสินเชื่อรวมมากกว่า 28,000 เคส พอร์ตสินเชื่อกลุ่มไมโครเอสเอ็มอี (Loan Balance) มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ระหว่างปี 2562-2567 อยู่ที่ 26.9% ปัจจุบันพอร์ตสินเชื่อกลุ่มไมโครเอสเอ็มอีของธนาคารมีมูลค่ามากกว่า 100,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ท้าทายที่สุดนอกเหนือจากการสร้างการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อแล้ว คือการทลายกรอบเดิมๆ ของระบบการพิจารณาสินเชื่อ เพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อให้ได้มากที่สุด โดยยังคงต้องอยู่ภายใต้กรอบการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม ซึ่งตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ธนาคารสามารถควบคุมและบริหารความเสี่ยงได้ค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ เห็นได้จากภาพสะท้อนการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อกลุ่มไมโครเอสเอ็มอีของธนาคารฯ ที่มีการเติบโตอยู่ในระดับเลขสองหลักมาโดยตลอด โดยในปี 2567 ธนาคาร มีอัตราการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อกลุ่มไมโครเอสเอ็มอีอยู่ที่ 12.8% จากปี 2566 มีอัตราหนี้เสีย (NPL) อยู่ที่ 3.7% สวนทางกับภาพรวมของอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อธุรกิจประเภทวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท อยู่ที่ -5% จากปี 2566 และมีอัตราหนี้เสีย (NPL) อยู่ที่ 7.01%
สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2568 ธนาคารมีแผนขับเคลื่อนองค์กรเพื่อเดินตามพันธกิจที่วางไว้ ผ่านกลยุทธ์สำคัญใน 2 ด้าน ได้แก่ 1. การเติบโตของสินเชื่อหลัก และ 2. Digital Transformation โดยเชื่อมั่นว่า ‘สินเชื่อ SME กล้าให้’ จะเป็นผลิตภัณฑ์หลักในการขับเคลื่อนให้ธนาคารสามารถก้าวไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้ โดยธนาคารตั้งเป้าหมายยอดปล่อยสินเชื่อจากสินเชื่อ SME กล้าให้ไว้ที่ 1-1.5 หมื่นล้านบาท และตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อเอสเอ็มอีปีนี้เติบโตราว 20%
ด้านนายนาธัส กฤตวรานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริหารธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากสภาพเศรษฐกิจที่การฟื้นตัวเป็นไปอย่างล่าช้าและการชะลอตัวของสินเชื่อใหม่จากเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการไมโครเอสเอ็มอีหลายรายประสบปัญหาไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ เพื่อช่วยทลายข้อจำกัดดังกล่าว ธนาคารได้นำโมเดลการพิจารณาสินเชื่อแบบ Risk-based Pricing เข้ามาใช้เป็นครั้งแรกสำหรับกลุ่มลูกค้าไมโครเอสเอ็มอี โมเดลดังกล่าวจะช่วยผ่อนปรนให้ธนาคารสามารถพิจารณาสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการภายใต้เงื่อนไขการบริหารความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ทั้งนี้ ธนาคารจึงได้เปิดตัว ‘สินเชื่อ SME กล้าสู้’ อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 6.95% ต่อปี ใช้เงินฝากเป็นหลักประกัน วงเงินสินเชื่อสูงสุด 5 เท่าของหลักประกัน และไม่เกิน 10 ล้านบาท เชื่อว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการไมโครเอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงเงินทุนในระบบภายใต้สภาวะคับขันทางเศรษฐกิจ และสามารถก้าวข้ามวิกฤตครั้งนี้เพื่อการเติบโตได้อย่างยั่งยืน”
นอกจากนี้ ธนาคารยังขยายเพดานวงเงินสูงสุดสินเชื่อ SME กล้าให้ จากเดิม 35 ล้านบาท เป็น 50 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจไมโครเอสเอ็มอีอย่างเต็มศักยภาพ ตามจุดยืนของธนาคารไทยเครดิตที่พร้อม STANDBY เคียงข้าง SME และที่สำคัญธนาคารฯ ยังมีแผนขยายจุดให้บริการลูกค้าธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี โดยการเปิด Business Center ในจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อไมโครเอสเอ็มอีได้สะดวกและครอบคลุมยิ่งขึ้น
ขณะที่ธนาคารยังถือโอกาสเปิดตัวแคมเปญ ‘Always STANDBY’ ดึงบทเพลง ‘แค่มี’ ที่มีการปรับเนื้อร้องพิเศษให้เป็นแบบฉบับของธนาคารไทยเครดิตโดยเฉพาะ ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘แค่มีเรา STANDBY’ นำเสนอผ่าน MV และภาพยนตร์สั้น 4 เรื่อง สะท้อนภาพชีวิตและการต่อสู้ของผู้ประกอบการไมโครเอสเอ็มอี โดยมีธนาคารไทยเครดิต STANDBY คอยอยู่เคียงข้างเป็นกองหนุนให้ผู้ประกอบการในทุกช่วงเวลา สื่อถึงกำลังใจ ความห่วงใย และความปรารถนาดีของธนาคารส่งไปยังผู้ประกอบการไมโครเอสเอ็มอีไทย
รับชม MV เพลง “แค่มีเรา STANDBY” โดย ธนาคารไทยเครดิต ได้แล้ววันนี้ ผ่านช่องทาง YouTube: Thai Credit Bank SME กล้าให้ และ Facebook: Thai Credit Bank SME กล้าให้
TSR เคลียร์! ทุกข้อสงสัย กรณีผู้สอบไม่แสดงความเห็นต่องบปี 67
SVI ประเมิน ‘ทรัมป์’ ขึ้นกำแพงภาษีคู่ค้า กระทบไม่มาก
TU อนุมัติเพิ่มวงเงิน "ซื้อหุ้นคืน" เป็น 5,000 ล้านบาท
PIN ทุ่มงบ 1,500 ล้านบาท ขยายนิคมฯ โครงการ3 - KUN เจาะ 3 ทำเลทอง ดันรายได้โต 15%
PLUS "ทรัมป์" ขึ้นภาษีนำเข้า ไม่กระทบธุรกิจ
TMAN บุกธุรกิจดิสทริบิวเตอร์ครบวงจร