Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
SCBx กำไรสุทธิ Q2/68 ทะลัก 12,786 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.7%
MAI
MOTHER ลุยเพิ่ม “สินค้าเฮาส์แบรนด์-เปิด 2 สาขาใหม่”
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
บล.ไอร่า ชี้ภาษีวหรัฐ 36% ซ้ำเติมศก.ไทยเปราะบาง
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY วางกรอบเงินบาท 32.10-32.75 มองภาษีทรัมป์กดดันตลาดการเงินโลก
การค้า - พาณิชย์
บสย. ผนึก “เงินดีดี” หนุน Micro SMEs รายย่อย-อาชีพอิสระ เข้าถึงแหล่งทุน
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เตรียมออกหุ้นกู้ครั้งแรกภายใต้บริษัทใหม่
คมนาคม - โลจิสติกส์
SCB EIC จับตาโทรคมนาคมไทยหลังประมูลคลื่นความถี่
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน ชวนเข้าโครงการสินเชื่อสร้างเครดิต สร้างโอกาส
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
SAWAD ลุยขายหุ้นกู้ 4 รุ่น ดอกเบี้ยสูงสุด 4.30%
SMEs - Startup
KBANK จับมือ Google Cloud โชว์ความสำเร็จโครงการ Earth KATALYST
ประกันภัย - ประกันชีวิต
MTL คัดผลิตภัณฑ์เด่น - โปรฯโดนใจ ร่วมงานวันประกันชีวิตฯ
รถยนต์
เมอร์เซเดส-เบนซ์ สานต่อแคมเปญ “Welcome Back Stars” ปีที่ 2
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
KUN ปิดดีลชำระคืนหุ้นกู้ 440 ล้านบ. ตามนัด!
การตลาด
Shopee ผนึกพันธมิตร คว้าวง ENHYPEN เขย่าหัวใจแฟนคลับชาวไทย
CSR
KBANK จับมือ Google Cloud โชว์ความสำเร็จโครงการ Earth KATALYST
Information
XO คว้ารางวัล “บริษัทยอดเยี่ยม mai” 3 ปีซ้อน บนเวที Money & Banking Awards 2025
Gossip
NCP เล็งเป้า “รายได้-กำไร” โตแรง!
Entertainment
พีทีจี จับมือ เตรียมอุดมศึกษา จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ‘TU Co-Learning Space by PTG’
สกุ๊ป พิเศษ
"รุ่ง-วิทัย" ใครจะเข้าวิน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ
KBANK ไตรมาส 2/68 กำไรลด 9.45% รวม 6 เดือนกำไร 2.6 หมื่นล.
2025-07-21 20:53:51
41
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK เปิดผลงาน Q2/68 มีกำไรสุทธิ 12,488 ล้านบาท ลดลง 9.45% จากไตรมาสก่อน จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลงตามภาวะตลาด โดย NIM ลดลงอยู่ที่ระดับ 3.31% ขณะที่งวด 6 เดือนปี 68 มีกำไรสุทธิ 26,280 ล้านบาท ลดลง 0.98%
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2568 นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK เปิดเผยว่า ผลดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2568 เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2568 ธนาคารและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารจำนวน 12,488 ล้านบาท ลดลง 1,303 ล้านบาท หรือ 9.45% หลักๆ จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลงตามภาวะตลาด รวมทั้งการดูแลช่วยเหลือด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระให้ลูกค้ามีความยืดหยุ่นทางการเงินมากขึ้น และช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ
โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin : NIM) ลดลงอยู่ที่ระดับ 3.31% แม้ว่ารายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 13,944 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 266 ล้านบาท หรือ 1.95% สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ มีจำนวน 20,803 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 751 ล้านบาท หรือ 3.75% จากไตรมาสก่อน ส่วนใหญ่จากค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการขยายช่องทางการให้บริการลูกค้าและค่าใช้จ่ายทางการตลาด อย่างไรก็ตาม ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้อยู่ภายใต้องค์รวมของกรอบงบประมาณที่วางไว้ ส่งผลให้เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ลดลง 1.68%
นอกจากนี้ ได้พิจารณาตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 10,050 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 232 ล้านบาท หรือ 2.36% ตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สำรองฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสม รองรับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่อง รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์ในอนาคต
สำหรับผลดำเนินงานงวด 6 เดือนปี 2568 เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2567 ที่ปรับปรุงใหม่ ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้มีจำนวน 56,847 ล้านบาท ลดลง 2,470 ล้านบาท หรือ 4.16% ขณะที่การตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) จำนวน 19,868 ล้านบาท เพื่อให้สำรองฯ มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ และภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนและยังคงเผชิญกับความท้าทาย ส่งผลให้กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารสำหรับงวด 6 เดือน ปี 2568 มีจำนวน 26,280 ล้านบาท ลดลง 260 ล้านบาท หรือ 0.98%
ด้านภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 2568 มีสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการใช้จ่ายของภาคเอกชน การผลิตภาคอุตสาหกรรม และรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งสอดคล้องกับการปรับลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นทั้งในฝั่งผู้บริโภคและภาคธุรกิจ นอกจากนี้ การใช้จ่ายของภาครัฐ ทั้งในส่วนของรายจ่ายประจำและรายจ่ายเพื่อการลงทุนหดตัวลง เพราะเทียบกับฐานที่สูงในช่วงเดียวกันปีก่อนที่ พ.ร.บ. งบประมาณปี 2567 เริ่มมีผล
สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 มองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตในระดับต่ำกว่าครึ่งแรกของปีค่อนข้างมาก หรือมีความเสี่ยงที่จะไม่เติบโต เนื่องจากการส่งออกมีแนวโน้มหดตัวลึกหลังจากขยายตัวสูงไปแล้วในช่วงครึ่งปีแรก ประกอบกับอัตราภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ที่จะเก็บจากสินค้าไทยอาจสูงกว่าคู่แข่งสำคัญหลายประเทศ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเนื่องต่อบรรยากาศการลงทุน ในขณะที่แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มชะลอลงแรง แต่เม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐทำได้เพียงในระดับจำกัด นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจะมีผลกดดันต่อเนื่องต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2569 ด้วยเช่นกัน
ท่ามกลางความท้าทายของปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบ โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ซึ่งรวมถึงความรับผิดชอบต่อลูกค้าผู้ฝากเงิน ผู้ลงทุน ที่ครอบคลุมถึงลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจด้วยการดูแลช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2568 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,374,808 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33,854 ล้านบาท หรือ 0.78% เมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ที่ปรับปรุงใหม่ ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากเงินลงทุนสุทธิ ซึ่งเป็นการลงทุนตามการคาดการณ์ภาวะตลาดและทิศทางอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม เงินให้สินเชื่อสุทธิลดลง เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2568 ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ 20.66%
SCBx กำไรสุทธิ Q2/68 ทะลัก 12,786 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.7%
KBANK ไตรมาส 2/68 กำไรลด 9.45% รวม 6 เดือนกำไร 2.6 หมื่นล.
PTECH ขายหุ้น "เวนดิ้ง พลัส" มุ่งหน้าหา New S-Curve
CHAYO ชงผู้ถือหุ้นกู้ 5 ชุด 3.9 พันล. ยืดไถ่ถอน 2 ปี - เพิ่มดอกเบี้ย
TWPC ส่งซิกไตรมาส 2 แนวโน้มธุรกิจสดใส
TTB ครึ่งปี! กำไร 1.01 หมื่นล. - NER โบรกฯ ชี้เป้า หุ้นน่าเก็บ เทรดพี/อีต่ำ-ปันผลสูง