Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
MAI
DOD ส่งซิก ปั้นรายได้รวมปี 68 แตะ 800 ล้านบ. ลุ้นจ่ายปันผล
IPO
‘BKA’ ฮอต หุ้น IPO 60 ล้านหุ้น ขายเกลี้ยง
บล./บลจ
Webull ส่ง ‘Daily Interest’ รับมือตลาดผันผวน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY ชี้เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า จับตาบอนด์สหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. โชว์ผลงานไตรมาส 1/68 ลุยปลดล็อก SMEs
พลังงาน - อุตสาหกรรม
RT ผนึก กรมโยธาฯ ตรวจสอบอาคารในกรุงเทพฯ
คมนาคม - โลจิสติกส์
WSOL ส่ง SABUY Speed ชิงส่วนแบ่งตลาดขนส่ง 5%
แบงก์ - นอนแบงก์
KBANK ขยายบริการ QR สแกนจ่ายผ่าน K PLUS ตั้งเป้าธุรกรรมโต 9 เท่า
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘กรุงศรี มอเตอร์ไซค์’ ครองแชมป์สินเชื่อสองล้อ ดันยอดสินเชื่อโต 10%
SMEs - Startup
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
ประกันภัย - ประกันชีวิต
“เมืองไทยประกันชีวิต” คลอดแคมเปญ “ShieldLife”
รถยนต์
GPI ลุยธุรกิจใหม่จัดอีเวนต์ด้าน Sport สู่กลุ่มเด็ก
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
“อรสิริน” ได้ฤกษ์มงคล ลงเสาเอก “อะไรซ์ ไวบ์ ภูเก็ต”
การตลาด
CardX ลุยช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
CSR
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
Information
วิริยะประกันภัย สนับสนุนน้ำดื่มบริการประชาชนแก่ กทพ.
Gossip
TPS เชิญประชุม ผถห. รูปแบบออนไลน์
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
"กองทุนรวม Thai ESGX" โอกาสลงทุนใหม่ เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ttb analytics ชี้ราคาสินค้าเกษตรโลกพุ่งขึ้น
2021-06-15 15:57:59
493
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – ttb analytics ประเมินธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และผู้ผลิตอาหารสัตว์ มีความเสี่ยงด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรโลก แต่ราคาขายปรับขึ้นได้น้อย แนะผู้ประกอบการหันมาใช้วัตถุดิบสินค้าเกษตรในประเทศมาใช้มากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิต
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และผู้ผลิตอาหารสัตว์ มีความเสี่ยงด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรโลก โดยช่วงครึ่งแรกของปี 64 ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ธัญพืชต่างๆ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และน้ำตาล ต่างทยอยปรับตัวสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเหลือง ที่มีราคาสูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 63 กว่า 104% และ 79% ตามลำดับ ซึ่งเป็นราคาที่สูงที่สุดในรอบ 8 ปี และไม่มีสัญญาณว่าจะลดลงเร็วๆนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากผลผลิตโลกลดลงจากสภาพอากาศที่ย่ำแย่ ภาวะโลกร้อน และภัยแล้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 63 ที่ผ่านมา
โดยอุปสงค์ที่มีเพิ่มขึ้น แต่ห่วงโซ่อุปทานกลับได้รับผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาด ทำให้หลายประเทศประสบกับปัญหาราคาอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่แพงขึ้น จึงเกิดความวิตกกังวลต่อไปว่าภาคครัวเรือน ที่นอกจากจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว อาจต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นกว่าเดิมอีก
อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนดูราคาสินค้าเกษตรในประเทศไทย พบว่าราคาเฉลี่ยของเนื้อสัตว์และอาหารในปี 64 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) มีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อยที่ 0.08% ในขณะที่ฝั่งผู้ผลิตดัชนีราคาผู้ผลิตของไทย (PPI) พบว่าราคาผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 6.4% จากข้อมูลพอจะทำให้คลายความกังวลในส่วนของภาระฝั่งผู้บริโภคได้ แต่ต้นทุนส่วนของผู้ผลิตเนื้อสัตว์พบว่า ได้รับผลกระทบโดยตรงจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นของตลาดโลก เนื่องจากไทยไม่สามารถผลิตพืชอาหารสัตว์ได้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ซึ่งจากการคาดการณ์ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ตามแผนอาหารสัตว์ 3 ปี (64-66) ไทยยังต้องการนำเข้ากากถั่วเหลืองและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คิดเป็น 64% และ 51% ของปริมาณความต้องการทั้งหมดตามลำดับ
นอกจากนี้ ปัจจัยสินค้าประเภทอาหารต่าง ๆ อยู่ภายใต้การดูแลควบคุมจากภาครัฐ ทำให้การปรับตัวของราคาอาหารไม่ว่าจะเป็นเนื้อสุกร เนื้อไก่ หรือไข่ไก่ รวมไปถึงการกำกับปริมาณการนำเข้าวัตถุดิบประเภทพืชในประเทศเพื่อใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ ได้แก่ ถั่วเหลือง ปลาป่น และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำให้เมื่อเกิดสภาวะตลาดสินค้าไม่พอเพียง จึงส่งผลกระทบต่อต้นทุนและรายได้ของธุรกิจ จากสภาวะที่เกิดขึ้นข้างต้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่พึ่งพาการนำเข้าอาหารสัตว์ และฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์เพื่อลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสูตรอาหารเป็นวัตถุดิบที่มีราคาต่ำกว่า และพึ่งพาการใช้วัตถุดิบภายในประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า ราคาสินค้าเกษตรโลกที่พุ่งสูงขึ้นทำให้วัตถุดิบพืชอาหารสัตว์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบมาก ได้แก่ ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และผู้ผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากค่าใช้จ่ายอาหารสัตว์เป็นต้นทุนสำคัญในการทำธุรกิจฟาร์ม โดยคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 55-60% ของต้นทุนฟาร์มไก่ และ 20-25% ของต้นทุนฟาร์มสุกร ทำให้ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และผู้ผลิตอาหารสัตว์ ได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบพืชสำหรับอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้นตามตลาดโลก
แต่ทว่ายังมีกลุ่มที่ได้รับผลดี คือ เกษตรกรผู้ผลิตพืชอาหารสัตว์ (ข้าวโพดและถั่วเหลือง) ชาวนาผู้ผลิตข้าว และโรงสีที่ได้รับผลพลอยได้จากข้าวทั้งรำละเอียด และปลายข้าว เนื่องจากธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มหันมาใช้วัตถุดิบในประเทศมากขึ้น และหันมาเพิ่มสัดส่วนการใช้รำละเอียด และปลายข้าว เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
โดยจากสถานการณ์ราคาสินค้าวัตถุดิบ สะท้อนถึงปัญหาในเชิงโครงสร้างสินค้าเกษตรไทย ยังจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับแผนระยะยาว ในการเป็น เกษตรก้าวหน้า (Advance Agricultural) ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายไทย (S-Curve Industry) โดยหันมาใช้วัตถุดิบในประเทศมากขึ้น ลดการนำเข้า โดยภาครัฐควรเร่งส่งเสริมการเพาะปลูกพืชอาหารเชิงพาณิชย์ ไปพร้อมกับการวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ รวมถึงการเพิ่มศักยภาพของธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปกับผู้ผลิตอาหารสัตว์ที่ผลิตอาหารสัตว์ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และการทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ จะทำให้ธุรกิจในซัพพลายเชนแข็งแกร่งขึ้น ช่วยให้รายได้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
JMART เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ชุดใหม่ 5.50% เสริมแกร่งการเงิน
WSOL ยื่นฟ้องลูกหนี้-อดีตผู้บริหาร SABUY กว่า 2,600 ล้านบ.
ASIA ปักธงรายได้ปี 68 โต 10% - SGC ลุย “Lock Phone” เป้าสินเชื่อ 8 พันล.
ASIA ผถห.ไฟเขียวปันผล 0.13 บ. ปักธงรายได้ปีนี้โต10%
SGC ชูธุรกิจ Locked Phone ทะยานโต