Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
WSOL ยื่นฟ้องลูกหนี้-อดีตผู้บริหาร SABUY กว่า 2,600 ล้านบ.
MAI
DOD ส่งซิก ปั้นรายได้รวมปี 68 แตะ 800 ล้านบ. ลุ้นจ่ายปันผล
IPO
‘BKA’ ฮอต หุ้น IPO 60 ล้านหุ้น ขายเกลี้ยง
บล./บลจ
อเบอร์ดีน ชี้จังหวะปรับพอร์ต หลบความเสี่ยง ‘ทรัมป์’
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY ชี้เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า จับตาบอนด์สหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. โชว์ผลงานไตรมาส 1/68 ลุยปลดล็อก SMEs
พลังงาน - อุตสาหกรรม
RT ผนึก กรมโยธาฯ ตรวจสอบอาคารในกรุงเทพฯ
คมนาคม - โลจิสติกส์
WSOL ส่ง SABUY Speed ชิงส่วนแบ่งตลาดขนส่ง 5%
แบงก์ - นอนแบงก์
KBANK ขยายบริการ QR สแกนจ่ายผ่าน K PLUS ตั้งเป้าธุรกรรมโต 9 เท่า
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘กรุงศรี มอเตอร์ไซค์’ ครองแชมป์สินเชื่อสองล้อ ดันยอดสินเชื่อโต 10%
SMEs - Startup
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
ประกันภัย - ประกันชีวิต
“เมืองไทยประกันชีวิต” คลอดแคมเปญ “ShieldLife”
รถยนต์
Autoclik ชวนตรวจเช็กรถฟรี 37 รายการ ก่อนเดินทางสงกรานต์
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
“อรสิริน” ได้ฤกษ์มงคล ลงเสาเอก “อะไรซ์ ไวบ์ ภูเก็ต”
การตลาด
CardX ลุยช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
CSR
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
Information
OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต จัดกิจกรรม “OCEAN LIFE Songkran Festival 2025”
Gossip
BKA ปิดจอง IPO สดใส
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
NER ปี 68 ดันยอดขาย 5 แสนตัน
KTB งบQ2/64กำไรสุทธิ6,011ล้าน รวมครึ่งปี11,590ลบ.
2021-07-21 17:36:56
310
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - “กรุงไทย” ประกาศงบไตรมาส 2/64 กำไรสุทธิ 6,011 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.8% จากสินเชื่อเติบโตอย่างต่อเนื่อง การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ติดตามคุณภาพหนี้ใกล้ชิด รักษาระดับสำรองต่อ NPLs
เมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม 2564 นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย หรือ KTB เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่ยังเผชิญความท้าทายจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่รุนแรงและขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของลูกค้าประชาชน ธนาคารและบริษัทย่อยจึงใช้หลักการความระมัดระวังอย่างต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ และการพิจารณาตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ( Expected credit loss) ในระดับสูง
โดยในช่วงไตรมาส 2/2564 ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงรักษาระดับการตั้งสำรองฯในระดับที่ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
สำหรับผลการดำเนินการประจำไตรมาส 2/2564 ธนาคารและบริษัทย่อย มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้ เท่ากับ 16,616 ล้านบาท ขยายตัว 4.0% เมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 1/2564 จากรายได้รวมจากการดำเนินงานที่ขยายตัว ซึ่งมีสาเหตุหลักจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ที่เพิ่มขึ้นตามสินเชื่อที่ขยายตัว 5.3% จากไตรมาสที่ผ่านมา โดย NIM ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2.55% จาก 2.50% ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบกับ ธนาคารบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานลดลง 3.6% โดย Cost to Income ratio เท่ากับ 42.41% ลดลงจาก 44.25%
จากผลประกอบการดังกล่าว ทำให้กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารเท่ากับ 6,011 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.8% จากไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2/2563 ธนาคารและบริษัทย่อย มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้ ลดลง 17.3% จากรายได้รวมจากการดำเนินงานที่ลดลง สาเหตุหลัก มาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งในช่วงเดียวกันของปีก่อนธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ
อย่างไรก็ตาม จากการที่ธนาคารมีการบริหารต้นทุนทางการเงินและสินเชื่อที่ขยายตัวได้ดี รวมถึงการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว อีกทั้งการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2563 ลดลง 45.0% โดยพิจารณาถึง Coverage ratio ที่อยู่ในระดับสูงเพื่อรองรับสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ ส่งผลให้กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้น 60.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับผลประกอบการงวดครึ่งแรกของปี 2564 ธนาคารและบริษัทย่อยได้พิจารณาถึงสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ จึงได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ในระดับสูงจำนวน 16,154 ล้านบาท ส่งผลให้ Coverage ratio ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 160.7% เทียบกับ 147.3% จากสิ้นปี 2563 ด้านคุณภาพสินทรัพย์ NPLs Ratio-Gross ปรับลดลงอยู่ที่ 3.54% จาก 3.81% ณ สิ้นปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากธนาคารให้ความสำคัญกับการบริหารคุณภาพสินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง
ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้ เท่ากับ 32,600 ล้านบาท ลดลง 13.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากรายได้รวมจากการดำเนินงานที่ลดลง 9.3% ตามรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลง จากอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งในช่วงเดียวกันของปีก่อนธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ อย่างไรก็ตาม จากการที่ธนาคารมีการบริหารต้นทุนทางการเงินและสินเชื่อที่ขยายตัวได้ดี โดย NIM ปรับลดลงมาอยู่ที่ 2.53% จาก 3.15% ซึ่งรายได้จากการดำเนินงานที่ลดลงทำให้ Cost to Income ratio ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 43.33% จาก 40.74% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าธนาคารจะสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้ลดลงได้ 3.5% ส่งผลให้กำไรสุทธิ (ส่วนที่เป็นของธนาคาร) เท่ากับ 11,590 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ณ 30 มิถุนายน 2564 ธนาคาร (งบเฉพาะธนาคาร) มีเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับ 313,012 ล้านบาท และมีเงินกองทุนทั้งสิ้นเท่ากับ 378,887 ล้านบาท คิดเป็น 15.99% และ 19.35% ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยงตามลำดับ.
WSOL ยื่นฟ้องลูกหนี้-อดีตผู้บริหาร SABUY กว่า 2,600 ล้านบ.
ASIA ปักธงรายได้ปี 68 โต 10% - SGC ลุย “Lock Phone” เป้าสินเชื่อ 8 พันล.
ASIA ผถห.ไฟเขียวปันผล 0.13 บ. ปักธงรายได้ปีนี้โต10%
SGC ชูธุรกิจ Locked Phone ทะยานโต
INET เปิดแผนลงทุน “INET-IDC4” - CHAYO โบรกฯ แนะนำ 'ซื้อ'
SO ปักธง New S-Curve ดันโซลูชัน Workforce ผสาน AI เจาะตลาดพรีเมียม