Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
TEGH ลุยแปรสภาพ ‘TEBP’ ส่งประกวดตลาด mai
MAI
KJL เขย่าตลาดไฟฟ้า! เปิดตัว “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์”
IPO
‘BKA’ ฮอต หุ้น IPO 60 ล้านหุ้น ขายเกลี้ยง
บล./บลจ
Webull ส่ง ‘Daily Interest’ รับมือตลาดผันผวน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY ชี้เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า จับตาบอนด์สหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. โชว์ผลงานไตรมาส 1/68 ลุยปลดล็อก SMEs
พลังงาน - อุตสาหกรรม
SCB EIC ส่องอุตฯน้ำมันปาล์มสดใส ราคาน้ำมันปาล์มดิบพุ่ง 6.6%
คมนาคม - โลจิสติกส์
WSOL ส่ง SABUY Speed ชิงส่วนแบ่งตลาดขนส่ง 5%
แบงก์ - นอนแบงก์
CIMBT โชว์กำไรสุทธิ Q1/68 โต 33.9% แตะระดับ 838 ล.
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘กรุงศรี มอเตอร์ไซค์’ ครองแชมป์สินเชื่อสองล้อ ดันยอดสินเชื่อโต 10%
SMEs - Startup
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
ประกันภัย - ประกันชีวิต
“เมืองไทยประกันชีวิต” คลอดแคมเปญ “ShieldLife”
รถยนต์
GPI ลุยธุรกิจใหม่จัดอีเวนต์ด้าน Sport สู่กลุ่มเด็ก
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
SAM ฉลอง 25 ปี คิกออฟมาตรการพิเศษช่วยลูกค้าทุกกลุ่ม
การตลาด
CardX ลุยช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
CSR
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
Information
บสย. หารือสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ปลุกยอดค้ำประกัน “กระบะพี่ มีคลังค้ำ”
Gossip
บ้านปู ชวนร่วมงาน “ดีค้าบ เฟสติวัล”
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
AMR เซ็นเอ็มโอยู72หน่วยงานรัฐ-เอกชน พัฒนาบุคลากรระบบราง
2021-09-29 14:14:46
286
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - AMR จรดปากกา เซ็นเอ็มโอยูร่วมกับ 7 ภาคีเครือข่าย รวม 72 หน่วยงานภาครัฐ-สถานการศึกษา-ภาคเอกชน ร่วมผลิตและพัฒนาบุคลากร รองรับอุตสาหกรรมระบบราง ฟากผู้บริหาร “มารุต ศิริโก” มั่นใจ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับประเทศไทย รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 นายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือ AMR ผู้นำด้านวิศวกรรมออกแบบและเชื่อมต่อระบบไอทีโซลูชั่น (System Integrator : SI) ครบวงจรรายแรกของไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ "การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง" ในวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา ร่วมกับ 7 ภาคีเครือข่ายรวม 72 หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบราง ประกอบด้วย กรมการขนส่งทางราง, สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ, สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน), หน่วยงานวิชาชีพและหน่วยงานวิจัยและรับรองด้านระบบราง, สถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรด้านระบบรางระดับอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน, สถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรด้านระบบรางระดับอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชน และผู้ประกอบกิจการด้านระบบรางภาครัฐและเอกชน
โดยมีระยะเวลาความร่วมมือทั้งสิ้น 5 ปี (2564-2569) ซึ่งหลังจากนี้ภาคีทั้ง 7 ฝ่าย จะตั้งคณะกรรมการร่วม (Steering Committee) โดยมีอธิบดีกรมการขนส่งทางรางเป็นประธาน เพื่อขับเคลื่อนดำเนินการตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของความร่วมมือต่อไป
สำหรับขอบเขตความร่วมมือมี 11 ข้อ ได้แก่ 1. พัฒนาเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนและการฝึกอบรมด้านระบบรางระหว่างผู้ประกอบกิจการด้านระบบรางและสถาบันการศึกษาทั้งในระดับอุดมศึกษา และอาชีวศึกษา 2. สนับสนุนการเรียน การฝึกอบรม การฝึกงาน โครงการสหกิจศึกษา 3. ส่งเสริมการฝึกงานของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา และอาชีวศึกษา ตลอดจนการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะให้แก่ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว 4. วิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านระบบราง และการผลิต คิดค้นชิ้นส่วนหรือนวัตกรรมด้านระบบราง สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการขนส่งทางรางระหว่างหน่วยงาน 5. สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการบรรยาย และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรด้านระบบราง
6. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานห้องปฏิบัติการในประเทศให้มีขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพวัสดุชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ระบบรางให้ครอบคลุมการขนส่งทางรางของประเทศ 7. จัดทำมาตรฐานด้านการขนส่งทางรางและมาตรฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งทางราง มาตรฐานชิ้นส่วนระบบรางและผลิตภัณฑ์ระบบราง เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ระบบรางในประเทศ 8. สนับสนุน ส่งเสริมผู้ประกอบการในการผลิตชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) ทดแทนการนำเข้า 9. ใช้ทรัพยากร ชิ้นส่วน เครื่องมือ และอุปกรณ์ทดสอบและทดลองที่สามารถใช้ร่วมกันได้ 10. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 11. ร่วมสร้างระบบนิเวศและโมเดลธุรกิจระบบราง
“การเซ็นเอ็มโอยูของ 7 ภาคีเครือข่ายภาครัฐ สถานศึกษา และภาคเอกชนชั้นนำของไทยในครั้งนี้ นับเป็นก้าวที่สำคัญยิ่งในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง AMR ในฐานะผู้นำด้านวิศวกรรมออกแบบและเชื่อมต่อระบบไอทีโซลูชั่นครบวงจรรายแรกของไทย พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลิต และพัฒนาระบบราง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ”นายมารุต กล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมมีแผนดำเนินโครงการระบบราง ได้แก่ รถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล ระยะทาง 500 กม. จำนวน 14 เส้นทางซึ่งจะเปิดให้บริการครบปี 2570 โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” สนับสนุนพื้นที่อีอีซี เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งสามารถเชื่อมกับ สปป.ลาว (รถไฟไทย-จีน) รวมถึงรถไฟทางคู่ และแผนแม่บทโครงข่าย MR- Map ซึ่งจะมีระบบรถไฟควบคู่มอเตอร์เวย์ 10 เส้นทางทั่วประเทศ ระยะทางรวมประมาณ 6,500 กม. ซึ่งประเทศมีศักยภาพในทำเลที่ตั้งจะสามารถเป็นศูนย์กลางของการเดินทางทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางรางในอาเซียนได้ ดังนั้น จึงต้องเตรียมการพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง เพื่อรองรับการให้บริการที่เพิ่มขึ้น
TEGH ลุยแปรสภาพ ‘TEBP’ ส่งประกวดตลาด mai
TTB แหกโค้ง กำไร Q1/68 หดตัว 5.2%
CH วางแผนรับมือกำแพงภาษี "ทรัมป์"
BBL กำไรโค้งแรกโตสลุต 20% - SAFE พื้นฐานดี! ต้องมีติดพอร์ต
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
JMART เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ชุดใหม่ 5.50% เสริมแกร่งการเงิน