Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
MAI
DOD ส่งซิก ปั้นรายได้รวมปี 68 แตะ 800 ล้านบ. ลุ้นจ่ายปันผล
IPO
‘BKA’ ฮอต หุ้น IPO 60 ล้านหุ้น ขายเกลี้ยง
บล./บลจ
Webull ส่ง ‘Daily Interest’ รับมือตลาดผันผวน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY ชี้เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า จับตาบอนด์สหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. โชว์ผลงานไตรมาส 1/68 ลุยปลดล็อก SMEs
พลังงาน - อุตสาหกรรม
RT ผนึก กรมโยธาฯ ตรวจสอบอาคารในกรุงเทพฯ
คมนาคม - โลจิสติกส์
WSOL ส่ง SABUY Speed ชิงส่วนแบ่งตลาดขนส่ง 5%
แบงก์ - นอนแบงก์
KBANK ขยายบริการ QR สแกนจ่ายผ่าน K PLUS ตั้งเป้าธุรกรรมโต 9 เท่า
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘กรุงศรี มอเตอร์ไซค์’ ครองแชมป์สินเชื่อสองล้อ ดันยอดสินเชื่อโต 10%
SMEs - Startup
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
ประกันภัย - ประกันชีวิต
“เมืองไทยประกันชีวิต” คลอดแคมเปญ “ShieldLife”
รถยนต์
GPI ลุยธุรกิจใหม่จัดอีเวนต์ด้าน Sport สู่กลุ่มเด็ก
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
“อรสิริน” ได้ฤกษ์มงคล ลงเสาเอก “อะไรซ์ ไวบ์ ภูเก็ต”
การตลาด
CardX ลุยช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
CSR
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
Information
วิริยะประกันภัย สนับสนุนน้ำดื่มบริการประชาชนแก่ กทพ.
Gossip
TPS เชิญประชุม ผถห. รูปแบบออนไลน์
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
"กองทุนรวม Thai ESGX" โอกาสลงทุนใหม่ เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี
KTB ชี้เทรนด์ Personalized Food มาแรง สร้างโอกาสอาหารแปรรูป
2021-11-17 19:50:25
644
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย ชี้เทรนด์อาหารเฉพาะบุคคล (Personalized Food) เป็นโอกาสของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ คาดมูลค่าตลาด Personalized Food ในไทยสามารถเติบโตได้เฉลี่ยสูงถึงปีละ 14.2% หรือแตะระดับ 5.5 หมื่นล้านบาท ในปี 68
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้บริโภคยุคใหม่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น อีกทั้งการผนวกกันของ 2 เทคโนโลยีที่ร้อนแรงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ FoodTech และ HealthTech จึงทำให้เกิดเทรนด์อาหารที่เรียกว่า Personalized Food หรืออาหารเฉพาะบุคคล ซึ่งหมายถึง อาหารที่มีสารอาหารที่จำเป็นและเหมาะสมกับการใช้ชีวิต สุขภาพ และพันธุกรรมในแต่ละบุคคล เพื่อตอบสนองสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน และในที่นี้ยังหมายรวมถึงอาหารบุคคลเฉพาะกลุ่มด้วย เช่น อาหารสำหรับกลุ่มผู้ควบคุมน้ำหนัก และกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น
โดยตลาดนี้มีปัจจัยหนุนและมีโอกาสเติบโตได้อีกมากจากพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการสารอาหารที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น อีกทั้ง FoodTech, HealthTech ที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้เกิดนวัตกรรมด้านอาหารที่น่าสนใจมากมาย ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำลง นอกจากนี้ การระบาดของ COVID-19 เป็นตัวเร่งทำให้คนให้ความสำคัญกับอาหารที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลมากขึ้น สำหรับประเทศไทย คาดว่ามูลค่าตลาด Personalized Food อาจแตะระดับ 5.5 หมื่นล้านบาท ในปี 68 หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 14.2%
นายอภินันทร์ สู่ประเสริฐ นักวิเคราะห์ กล่าวว่า การทำตลาด Personalized Food ในไทย ควรเริ่มต้นจากตลาด Personalized Food ที่ผลิตมาเฉพาะสำหรับกลุ่มบุคคลก่อน โดยมองว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่น่าสนใจ ได้แก่ กลุ่มผู้ควบคุมน้ำหนัก กลุ่มผู้เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และกลุ่มผู้สูงอายุ ส่วน Personalized Food สำหรับเฉพาะบุคคลแม้จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้เฉพาะเจาะจงมากกว่า และทำให้ผู้บริโภคมีความเต็มใจที่จะจ่ายสูงกว่าสินค้าปกติ 40-50% แต่จากขนาดตลาดที่ยังไม่ใหญ่นัก ทำให้ยังต้องพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุนควบคู่ไปด้วย
โดยผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่น่าจะมองหาโอกาสในการเข้าสู่ตลาดนี้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุงและพร้อมทาน ธุรกิจเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และธุรกิจร้านอาหารสุขภาพ เนื่องจากสามารถเข้าสู่ตลาดได้ไม่ยากนัก เพราะสามารถต่อยอดได้จากธุรกิจเดิม ดังนั้น จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารตั้งแต่ระดับ SME ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่
นายปราโมทย์ วัฒนานุสาร นักวิเคราะห์ กล่าวเสริมว่า จากการที่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของวัฎจักรธุรกิจ ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้ถึงคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมากนัก ดังนั้น ปัจจัยที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการที่เข้าสู่ธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ หรือชี้ให้เห็นว่าอาหารเฉพาะบุคคลมีความจำเป็นหรือส่งผลดีอย่างไรกับผู้บริโภค รวมทั้งควรมีการสร้างแรงจูงใจ แก่ผู้บริโภคในการเข้าถึงการตรวจสุขภาพ ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เชี่ยวชาญในด้านสุขภาพและโภชนาการซึ่งประกอบด้วย 1. ผู้ให้บริการตรวจวิเคราะห์สุขภาพ (Testing Service) 2. ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและอาหาร (Health and Nutrition Specialist) 3. ผู้ผลิตสารอาหาร (Food Ingredient) ซึ่งใน 2 กลุ่มแรกนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตนเองได้สะดวกขึ้น และสุดท้าย ผู้ประกอบการยังต้องติดตามเทรนด์ตลาดอาหารเฉพาะบุคคล เพื่อจะได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
JMART เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ชุดใหม่ 5.50% เสริมแกร่งการเงิน
WSOL ยื่นฟ้องลูกหนี้-อดีตผู้บริหาร SABUY กว่า 2,600 ล้านบ.
ASIA ปักธงรายได้ปี 68 โต 10% - SGC ลุย “Lock Phone” เป้าสินเชื่อ 8 พันล.
ASIA ผถห.ไฟเขียวปันผล 0.13 บ. ปักธงรายได้ปีนี้โต10%
SGC ชูธุรกิจ Locked Phone ทะยานโต