Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
CPALL เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ 2.90% ต่อปี
MAI
I2 คว้างาน กสทช. มูลค่า 68 ล้าน
IPO
ATLAS จัดทัพโรดโชว์ ฉายภาพธุรกิจก่อนเข้า SET
บล./บลจ
Liberator ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ ตอบโจทย์นลท.
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
คลัง ระดมแบงก์รัฐ ช่วยผู้ประกอบการรับมือกำแพงภาษีสหรัฐฯ
การค้า - พาณิชย์
บสย. ลุยปลุกยอดซื้อรถกระบะ ผ่านมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ”
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GGC จับมือ ไทยคม ร่วมตรวจสอบพื้นที่สวนปาล์ม-กักเก็บคาร์บอน
คมนาคม - โลจิสติกส์
"สุริยะ" ตรวจโครงการก่อสร้างพระราม 2 คืบหน้าล่าสุด 82%
แบงก์ - นอนแบงก์
TTB ปล่อย “รถบริการรับย้ายแบงก์” ช่วยคนไทยปลดหนี้
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
AF ไตรมาส 1/68 รายได้รวม 61.19 ล้านบาท
SMEs - Startup
SCB 10X ประกาศจัดงาน “REDeFiNE TOMORROW 2025”
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 2 รางวัลระดับนานาชาติ
รถยนต์
MGC-ASIA ทยอยส่งมอบรถ จ่อบุ๊ครายได้ทันที
ท่องเที่ยว
หอการค้ากระบี่ หนุนสร้างเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวกระบี่ ช่วงโลว์ซีซัน
อสังหาริมทรัพย์
ORN กวาดยอดพรีเซลโค้งแรกกว่า 1.3 พันล.
การตลาด
M-150 ผนึก LOTTE ต่อยอดกลยุทธ์ Cross-Industry Collaboration
CSR
SCB 10X ประกาศจัดงาน “REDeFiNE TOMORROW 2025”
Information
EXIM BANK นำผู้ประกอบการไทยร่วมงานแสดงสินค้าและจับคู่ธุรกิจไทย-จีน
Gossip
BKA จ่อขึ้น XD 26 พ.ค. 68 นี้
Entertainment
ทีทีบี ฟินทิป ชวนทำความรู้จัก “พีระมิดทางการเงิน”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
KBANK รายงานกำไร Q1/66 ที่ 1.07 หมื่นล. หดตัว 4.19%
2023-04-21 16:26:00
236
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – KBANK แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 1/66 มีกำไรสุทธิ 10,741 ล้านบาท ลดลง 4.19% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รับแรงกดดันจากการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น หลังเห็นสัญญาณความเสี่ยงจากลูกหนี้รายใหญ่
เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของธนาคารในช่วงไตรมาส 1/2566 มีกำไรสุทธิจำนวน 10,741 ล้านบาท ลดลง 4.19% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้มีจำนวน 26,781 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของรายได้จากการดำเนินงานและการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ
อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังคงตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ตามหลักความระมัดระวัง แม้ว่าจะลดลงจากไตรมาส 4/2565 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารมีการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์เชิงรุกที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่อาจจะส่งผลต่อลูกค้าบางกลุ่มที่ยังมีความเปราะบาง นอกจากนี้ ในไตรมาส 1/2566 ธนาคารพบว่ามีลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งที่คุณภาพหนี้มีสัญญาณความเสื่อมถอย โดยธนาคารได้มีสำรองสำหรับหนี้ส่วนนี้ไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม ธนาคารอาจพิจารณาความเหมาะสมในการกันสำรองเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด
สำหรับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 9.84% สอดคล้องกับภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและการเติบโตของสินเชื่อใหม่ตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (NIM) อยู่ที่ระดับ 3.46% แม้ว่าจะมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นจากอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นอัตราปกติในอัตรา 0.46% รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 32% ซึ่งหลัก ๆ จากมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนเพิ่มขึ้นตามภาวะตลาด ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 13.82% สอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มตามปริมาณธุรกิจ รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 42.50% ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2566 ยังเผชิญข้อจำกัดในการฟื้นตัว เพราะแม้จะมีแรงหนุนจากการทยอยฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว แต่ภาพรวมการส่งออกสินค้ายังคงปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่การใช้จ่ายของภาคเอกชนยังคงเติบโตในกรอบจำกัด สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2566 ยังคงต้องติดตามความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก รวมถึงผลกระทบจากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย สถานการณ์ดังกล่าวย่อมมีผลกระทบ และเพิ่มแรงกดดันต่อภาคการส่งออกของไทย และทำให้ภาพรวมการส่งออกของไทยในปีนี้อาจหดตัวลง
นอกจากนี้ ผลกระทบต่อการใช้จ่ายภายในประเทศจากแรงกดดันด้านต้นทุน ค่าครองชีพ และปัญหาหนี้ครัวเรือนก็ยังคงเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเปราะบางต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยด้วยเช่นกัน ธนาคารและบริษัทย่อยจึงยังคงดำเนินธุรกิจตามหลักความระมัดระวังรอบคอบภายใต้ทิศทางภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน รวมทั้งยังคงให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องแก่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวไม่เท่ากันผ่านช่องทางต่าง ๆ ของธนาคาร
CPALL เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ 2.90% ต่อปี
SGC ปลื้มยอดขายหุ้นกู้เข้าเป้า 400 ล. ลุยสินเชื่อ Lock Phone
NAM ชู 4 ยุทธศาสตร์เด็ด หนุนรายได้ปีนี้โตทะลุ 50%
TIDLOR ปลื้ม! TRIS จัดอันดับเครดิต “A+/Stable”
DMT หุ้นปลอดภัย จ่ายปันผลสูง - SMPC ออเดอร์เข้าเต็มมือ ปริมาณขายพุ่ง 20%
SMPC ออเดอร์เต็มมือ หนุนผลงาน Q2 ฟื้นตัว