Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
CPALL เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ 2.90% ต่อปี
MAI
I2 คว้างาน กสทช. มูลค่า 68 ล้าน
IPO
ATLAS จัดทัพโรดโชว์ ฉายภาพธุรกิจก่อนเข้า SET
บล./บลจ
Liberator ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ ตอบโจทย์นลท.
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
คลัง ระดมแบงก์รัฐ ช่วยผู้ประกอบการรับมือกำแพงภาษีสหรัฐฯ
การค้า - พาณิชย์
บสย. ลุยปลุกยอดซื้อรถกระบะ ผ่านมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ”
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GGC จับมือ ไทยคม ร่วมตรวจสอบพื้นที่สวนปาล์ม-กักเก็บคาร์บอน
คมนาคม - โลจิสติกส์
"สุริยะ" ตรวจโครงการก่อสร้างพระราม 2 คืบหน้าล่าสุด 82%
แบงก์ - นอนแบงก์
TTB ปล่อย “รถบริการรับย้ายแบงก์” ช่วยคนไทยปลดหนี้
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
AF ไตรมาส 1/68 รายได้รวม 61.19 ล้านบาท
SMEs - Startup
SCB 10X ประกาศจัดงาน “REDeFiNE TOMORROW 2025”
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 2 รางวัลระดับนานาชาติ
รถยนต์
MGC-ASIA ทยอยส่งมอบรถ จ่อบุ๊ครายได้ทันที
ท่องเที่ยว
หอการค้ากระบี่ หนุนสร้างเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวกระบี่ ช่วงโลว์ซีซัน
อสังหาริมทรัพย์
ORN กวาดยอดพรีเซลโค้งแรกกว่า 1.3 พันล.
การตลาด
M-150 ผนึก LOTTE ต่อยอดกลยุทธ์ Cross-Industry Collaboration
CSR
SCB 10X ประกาศจัดงาน “REDeFiNE TOMORROW 2025”
Information
EXIM BANK นำผู้ประกอบการไทยร่วมงานแสดงสินค้าและจับคู่ธุรกิจไทย-จีน
Gossip
BKA จ่อขึ้น XD 26 พ.ค. 68 นี้
Entertainment
ทีทีบี ฟินทิป ชวนทำความรู้จัก “พีระมิดทางการเงิน”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
FETCO เผยดัชนีเชื่อมั่น 3 เดือนหน้าเพิ่มขึ้น 15.1%
2023-05-09 12:56:46
166
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - FETCO เผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 110.09 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 15.1% อยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” รับปัจจัยหนุนจากการเลือกตั้ง - ท่องเที่ยว
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย หรือ FETCO เปิดเผยว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในเดือนเมษายน 2566 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 110.09 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 15.1% จากเดือนก่อนหน้า โดยยังอยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” นักลงทุนมองว่าการเลือกตั้งในประเทศจะเป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมาคือความคาดหวังต่อการไหลเข้าของเงินทุน และการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว สำหรับปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) รองลงมาคือสถานการณ์การเมืองในประเทศในช่วงเลือกตั้ง และสถานการณ์เงินเฟ้อ
ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (กรกฎาคม 2566) อยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” (ช่วงค่าดัชนี 80-119) เพิ่มขึ้น 15.1% จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 110.09
ความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุนบุคคล กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และกลุ่มนักลงทุนสถาบัน อยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” ในขณะที่ความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรง”
หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือ หมวดท่องเที่ยวและสันทนาการ (TOURISM) หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือ หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (PETRO)
ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ การเลือกตั้งในประเทศ ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED)
ทั้งนี้ผลสำรวจ ณ เดือนเมษายน 2566 รายกลุ่มนักลงทุนพบว่า มีเพียงความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติปรับเพิ่มขึ้น 66.7% อยู่ที่ระดับ 125.00 ในขณะที่กลุ่มอื่นปรับลดลง โดยนักลงทุนบุคคลปรับลด 13.6% อยู่ที่ระดับ 96.83 กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ปรับลด 12.5% อยู่ที่ระดับ 87.50 และกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศปรับลด 14.3% อยู่ที่ระดับ 112.50
ในส่วน SET Index ในเดือนเมษายน 2566 ปิดที่ 1,529.12 จุด ปรับตัวลดลง 5% จากเดือนก่อนหน้า จากความกังวลของนักลงทุนในหลายประเด็น อาทิ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศที่ไม่เป็นไปตามคาด รวมถึงเศรษฐกิจไทยหลัง สศค. ปรับลดประมาณการ GDP ไทยปี 2566 จาก 3.8% เป็น 3.6% ความกังวลต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางในสหรัฐฯ และยุโรปเพื่อดูแลสถานการณ์เงินเฟ้อต่อเนื่อง อีกทั้งสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับไต้หวันและรัสเซีย โดยในเดือนเมษายน 2566 นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิต่อเนื่องกว่า 7,901 ล้านบาท โดยตั้งแต่ต้นปี 2566 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิรวม 63,960 ล้านบาท ปริมาณซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในเดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ 14,134 ล้านบาท
สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่ต้องติดตามได้แก่ ปัญหาเสถียรภาพระบบการเงินในสหรัฐฯและยุโรป แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวและการอ่อนค่าของค่าเงินดอลล่าร์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยรวมถึงประเทศที่อิงค่าเงินดอลล่าร์เป็นหลัก และอาจกระทบตลาดหุ้นจากการที่บริษัทอาจมีกำไรลดลง นโยบายการเงินของธนาคารกลางในประเทศเศรษฐกิจหลักเพื่อจัดการปัญหาเงินเฟ้อ อีกทั้งสถานการณ์์ความขัดแย้งเชิงภููมิรัฐศาสตร์์โดยเฉพาะสหรัฐและจีนที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ในส่วนของปัจจัยในประเทศที่น่าติดตาม ได้แก่ ผลการเลือกตั้งในประเทศซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ และการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ซึ่งจะกระทบต่อการใช้จ่ายภาครัฐ การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและการขยายตัวของการบริโภคของภาคเอกชน ที่จะเป็นแรงหนุนให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566”
CPALL เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ 2.90% ต่อปี
SGC ปลื้มยอดขายหุ้นกู้เข้าเป้า 400 ล. ลุยสินเชื่อ Lock Phone
NAM ชู 4 ยุทธศาสตร์เด็ด หนุนรายได้ปีนี้โตทะลุ 50%
TIDLOR ปลื้ม! TRIS จัดอันดับเครดิต “A+/Stable”
DMT หุ้นปลอดภัย จ่ายปันผลสูง - SMPC ออเดอร์เข้าเต็มมือ ปริมาณขายพุ่ง 20%
SMPC ออเดอร์เต็มมือ หนุนผลงาน Q2 ฟื้นตัว