Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
MAI
IMH เปิดศูนย์ MRI รพ. IMH สีลม หวังครองแชมป์ย่านสีลม–สาทร
IPO
MASTEC ปิดโรดโชว์ 10 จังหวัด ลุย IPO 79 ล้านหุ้น
บล./บลจ
orbix INVEST ออกแคมเปญช่วยชดเชยขาดทุน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
SCB โชว์ยอดสินเชื่อ Sustainable Finance แตะ 1.8 แสนล.
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต ส่งมอบโครงการปรับปรุงศูนย์กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM ยกทรัพย์กว่า 4,000 รายการ พร้อมโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าหาดใหญ่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
Information
EXIM BANK จับมือ DITP หนุนผู้ส่งออกไทยบุกตลาดใหม่
Gossip
TWPC มาแรงแซงทุกมุม! หุ้นเด็ด-พื้นฐานแน่น
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
“ชโย แคปปิตอล” ยื่นไฟลิ่งขาย IPO ไม่เกิน 125 ล้านหุ้น
2024-01-29 15:10:37
7656
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - “ชโย แคปปิตอล” หรือ “CCAP” ซึ่งมี CHAYO เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เดินหน้านำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ยื่นไฟลิ่งเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 125 ล้านหุ้น โดยผู้ถือหุ้นของ CHAYO เฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิได้รับการจัดสรร (Pre-Emptive Rights) จะได้รับจัดสรรไม่เกิน 12.5 ล้านหุ้น หรือไม่เกิน 10% พร้อมแต่งตั้ง บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 นายสุขสันต์ ยศะสินธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CHAYO ผู้ดำเนินธุรกิจบริหารสินทรัพย์ทั้งที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน ธุรกิจเจรจาติดตามเร่งรัดหนี้สิน ธุรกิจปล่อยสินเชื่อ และกิจการศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า เปิดเผยว่า แผนการเสนอขายหุ้นสามัญของ บริษัท ชโย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ CCAP ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ตามแผน Spin-Off เพื่อวางโครงสร้างธุรกิจในกลุ่มบริษัทให้มีความชัดเจน นั้น โดย CCAP จะเป็นบริษัทหลัก (Flagship Company) ของกลุ่มบริษัทในการดำเนินธุรกิจการปล่อยสินเชื่อ ขณะที่ CHAYO และบริษัทย่อยที่ไม่ใช่ CCAP จะประกอบธุรกิจลงทุนและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ธุรกิจให้บริการเจรจาติดตามทวงถาม และเร่งรัดหนี้ ธุรกิจร่วมลงทุนและหรือธุรกิจอื่นที่ไม่เป็นการแข่งขันกับ CCAP เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และสร้างโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืนในกลุ่มบริษัท
โดยเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 CCAP ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 125,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (par) 1 บาท/หุ้น หรือคิดเป็น 25% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของ CCAP ภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้
โดยจะมีการจัดสรรหุ้น IPO ให้ผู้ถือหุ้นของ CHAYO เฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิได้รับการจัดสรร (Pre-Emptive Rights) ไม่เกิน 12.5 ล้านหุ้น หรือไม่เกิน 10% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเสนอขายในครั้งนี้ พร้อมแต่งตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน นำ CCAP เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หมวดธุรกิจ (sector) ธุรกิจการเงิน (FINCIAL)
ในด้านโครงสร้างผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 9 มกราคม 2567 CHAYO เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้นใน CCAP ก่อนและหลัง IPO ที่ 71.3% และ 53.4% ของทุนชำระแล้ว ตามลำดับ ทั้งนี้ CCAP จะยังคงมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของ CHAYO เช่นเดิม
นายณฐพล ทิพชัชวาลวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชโย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ CCAP เปิดเผยว่า ปัจจุบัน CCAP ให้บริการสินเชื่อทั้งแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน เช่น สินเชื่อมีหลักประกัน ประเภทจดจำนองและขายฝากสินทรัพย์ (Secured Loan) สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน ให้บริการเบิกเงินเดือนล่วงหน้าสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (P-Loan) สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ (Nano Finance)
CCAP มีความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในธุรกิจการให้สินเชื่อ รายได้หลักของ CCAP มาจากธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกัน ซึ่งมุ่งเน้นกลุ่มผู้กู้ที่ต้องการนำเงินกู้ไปขยายธุรกิจ/เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ โดยเน้นลูกค้ากลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินได้ หรือสามารถเข้าถึงได้เพียงบางส่วน ซึ่ง CCAP เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในการขยายธุรกิจไปยังกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ โดย CCAP บริหารความเสี่ยงโดยพิจารณาความสามารถชำระหนี้ของลูกค้าตามหลักเกณฑ์พิจารณาสินเชื่อและปล่อยสินเชื่อที่ LTV ไม่เกิน 50%-60% โดยมุ่งเน้นการพิจารณารับหลักประกันประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพในจุดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เขตเศรษฐกิจพิเศษ และจังหวัดหลักของประเทศ
แผนการเดินหน้าเข้าจดทะเบียนในครั้งนี้ CCAP มีวัตถุประสงค์การระดมทุนในการนำไปใช้ขยายพอร์ตการให้สินเชื่อ สำหรับการปล่อยสินเชื่อมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน เป็นหลัก รวมทั้งใช้สำหรับจ่ายคืนหนี้สินเงินกู้ยืมจากธนาคารและ CHAYO บางส่วน ทั้งนี้ CCAP มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการหลังจากหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินทุนสำรองตามกฎหมาย
นางสาวสุวิมล ศรีโสภาจิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (KGI) กล่าวว่า CCAP เป็นบริษัทย่อยในกลุ่ม CHAYO ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่มีความแข็งแกร่ง กลุ่มผู้บริหารมีประสบการณ์ มีความเข้าใจในธุรกิจการให้สินเชื่อเป็นอย่างดี ตลอดจนมีการบริหารจัดการที่ดี สะท้อนจากผลการดำเนินงานของ CCAP ที่มีการเติบโตในระดับที่น่าสนใจ จึงมั่นใจว่า การระดมทุนครั้งนี้จะสนับสนุนให้ CCAP สามารถสร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้นในอนาคต
โดยผลการดำเนินงานในปี 2564 - 2565 และงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 CCAP มีรายได้ดอกเบี้ย 13.6 ล้านบาท 77.0 ล้านบาท และ 75.8 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมาจากการเติบโตของลูกหนี้เงินให้กู้ยืมสินเชื่อที่มีหลักประกันซึ่งมีทั้งลูกค้ารายเดิมที่ขอกู้เพิ่ม และลูกค้ารายใหม่ ๆ รวมถึงการเติบโตของลูกหนี้เงินให้กู้ยืมจากผลิตภัณฑ์ใหม่ ส่งผลให้กำไรสุทธิอยู่ที่ 5.6 ล้านบาท 39.0 ล้านบาท และ 27.9 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 41.0% 50.3% และ 36.9% ตามลำดับ โดยอัตรากำไรสุทธิช่วงปี 2564 – 2565 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าอัตราการเติบโตของต้นทุนค่าบริการและค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ อัตรากำไรสุทธิในงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 ลดลง สืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัว IPO และการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายพนักงานที่โอนย้ายมาจาก CHAYO รวมถึงการเพิ่มขึ้นของการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากลูกหนี้สินเชื่อไม่มีหลักประกัน
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
KUN ยื่นไฟลิ่งเตรียมออกหุ้นกู้ รองรับแผนพัฒนาโครงการใหม่
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
NL สอยงานใหม่เข้าพอร์ต Backlog ทะลุ 2.5 พันล. - PRAPAT ขยายตลาดบังคลาเทศ
NL คว้างานใหม่ 2 โครงการ หนุน Backlog ทะลุ 2.5 พันล.
TEGH ผงาด! ติดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 ปี 2025