Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
CPALL เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ 2.90% ต่อปี
MAI
I2 คว้างาน กสทช. มูลค่า 68 ล้าน
IPO
ATLAS จัดทัพโรดโชว์ ฉายภาพธุรกิจก่อนเข้า SET
บล./บลจ
Liberator ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ ตอบโจทย์นลท.
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
คลัง ระดมแบงก์รัฐ ช่วยผู้ประกอบการรับมือกำแพงภาษีสหรัฐฯ
การค้า - พาณิชย์
บสย. ลุยปลุกยอดซื้อรถกระบะ ผ่านมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ”
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GGC จับมือ ไทยคม ร่วมตรวจสอบพื้นที่สวนปาล์ม-กักเก็บคาร์บอน
คมนาคม - โลจิสติกส์
"สุริยะ" ตรวจโครงการก่อสร้างพระราม 2 คืบหน้าล่าสุด 82%
แบงก์ - นอนแบงก์
TTB ปล่อย “รถบริการรับย้ายแบงก์” ช่วยคนไทยปลดหนี้
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
AF ไตรมาส 1/68 รายได้รวม 61.19 ล้านบาท
SMEs - Startup
SCB 10X ประกาศจัดงาน “REDeFiNE TOMORROW 2025”
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 2 รางวัลระดับนานาชาติ
รถยนต์
MGC-ASIA ทยอยส่งมอบรถ จ่อบุ๊ครายได้ทันที
ท่องเที่ยว
หอการค้ากระบี่ หนุนสร้างเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวกระบี่ ช่วงโลว์ซีซัน
อสังหาริมทรัพย์
ORN กวาดยอดพรีเซลโค้งแรกกว่า 1.3 พันล.
การตลาด
M-150 ผนึก LOTTE ต่อยอดกลยุทธ์ Cross-Industry Collaboration
CSR
SCB 10X ประกาศจัดงาน “REDeFiNE TOMORROW 2025”
Information
EXIM BANK นำผู้ประกอบการไทยร่วมงานแสดงสินค้าและจับคู่ธุรกิจไทย-จีน
Gossip
BKA จ่อขึ้น XD 26 พ.ค. 68 นี้
Entertainment
ทีทีบี ฟินทิป ชวนทำความรู้จัก “พีระมิดทางการเงิน”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
FETCO ดัชนีเชื่อมั่น 3 เดือนหน้าทรุด 43.4%
2024-02-06 16:41:07
138
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - FETCO ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 77.55 ปรับลดลง 43.4% อยู่ในเกณฑ์ “ซบเซา” จากการตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย FED
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2667 นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย หรือ FETCO เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือน ม.ค. 2567 (20–31 ม.ค. 2567) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 77.55 ปรับลดลง 43.4% จากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ในเกณฑ์ “ซบเซา” โดยนักลงทุนมองว่าการการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมาคือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน
ขณะที่ปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ การตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) รองลงมาคือสถานการณ์เงินเฟ้อ และการถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) สำรวจในเดือนมกราคม 2567 ได้ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้
ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (เมษายน 2567) อยู่ในเกณฑ์ “ซบเซา” (ช่วงค่าดัชนี 40-79) ปรับลดลง 43.4% จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 77.55
ความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนบุคคล และกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์อยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” ในขณะที่กลุ่มนักลงทุนสถาบันอยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรง” กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ “ซบเซา”
หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือ หมวดท่องเที่ยวและสันทนาการ (TOURISM) หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือ หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (PROP)
ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ การตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED
ผลสำรวจ ณ เดือนมกราคม 2567 รายกลุ่มนักลงทุน พบว่า ความเชื่อมั่นนักลงทุนทุกกลุ่มปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยกลุ่มนักลงทุนบุคคลปรับลด 26.9% อยู่ที่ระดับ 87.50 กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ปรับลด 12.5% มาอยู่ที่ระดับ 87.50 กลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศปรับลด 13.5% อยู่ที่ระดับ 138.46 และกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศปรับลด 60.0% อยู่ที่ระดับ 60.00
SET Index ปรับตัวลดลงตลอดทั้งเดือนมกราคม จากความกังวลของนักลงทุนต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2566 ซึ่งขยายตัวเพียง 1.8% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ รวมถึงภาคการส่งออกของไทยที่หดตัวลง 1% จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ความกังวลต่อผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ที่คาดว่าจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจจีนและความความอ่อนแอของภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน อีกทั้งปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศในแถบตะวันออกกลางที่ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลให้ SET Index ณ สิ้นเดือนมกราคม 2567 ปิดที่ 1,364.52 ปรับตัวลดลง 3.6% จากเดือนก่อนหน้า โดยในเดือนมกราคม 2567 ปริมาณซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 47,111 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิประมาณ 30,870 ล้านบาท
ปัจจัยต่างประเทศที่ต้องติดตามได้แก่ ทิศทางการดำเนินมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงินในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก อาทิ สหรัฐฯ และ ยุโรป นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนโดยเฉพาะมาตรการรักษาเสถียรภาพตลาดทุนจีนซึ่งคาดว่าจะใช้เม็ดเงินถึง 2 ล้านล้านหยวน นอกจากนี้ ในส่วนของปัจจัยในประเทศที่น่าติดตาม ได้แก่ การประกาศผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนปี 2566 ความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวหลังรัฐบาลไทย—จีน ลงนามข้อตกลงยกเว้นการใช้วีซ่าในการเดินทางเข้าประเทศระหว่างกันที่จะเริ่ม 1 มีนาคม 2567 นี้ ความล่าช้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐซึ่งจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และผลการประชุม กนง.นัดแรกของปี 2567 ซึ่งต้องจับตามองการประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบายและประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจ”
CPALL เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ 2.90% ต่อปี
SGC ปลื้มยอดขายหุ้นกู้เข้าเป้า 400 ล. ลุยสินเชื่อ Lock Phone
NAM ชู 4 ยุทธศาสตร์เด็ด หนุนรายได้ปีนี้โตทะลุ 50%
TIDLOR ปลื้ม! TRIS จัดอันดับเครดิต “A+/Stable”
DMT หุ้นปลอดภัย จ่ายปันผลสูง - SMPC ออเดอร์เข้าเต็มมือ ปริมาณขายพุ่ง 20%
SMPC ออเดอร์เต็มมือ หนุนผลงาน Q2 ฟื้นตัว