Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
CPALL เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ 2.90% ต่อปี
MAI
I2 คว้างาน กสทช. มูลค่า 68 ล้าน
IPO
ATLAS จัดทัพโรดโชว์ ฉายภาพธุรกิจก่อนเข้า SET
บล./บลจ
Liberator ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ ตอบโจทย์นลท.
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
คลัง ระดมแบงก์รัฐ ช่วยผู้ประกอบการรับมือกำแพงภาษีสหรัฐฯ
การค้า - พาณิชย์
บสย. ลุยปลุกยอดซื้อรถกระบะ ผ่านมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ”
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GGC จับมือ ไทยคม ร่วมตรวจสอบพื้นที่สวนปาล์ม-กักเก็บคาร์บอน
คมนาคม - โลจิสติกส์
"สุริยะ" ตรวจโครงการก่อสร้างพระราม 2 คืบหน้าล่าสุด 82%
แบงก์ - นอนแบงก์
TTB ปล่อย “รถบริการรับย้ายแบงก์” ช่วยคนไทยปลดหนี้
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
AF ไตรมาส 1/68 รายได้รวม 61.19 ล้านบาท
SMEs - Startup
SCB 10X ประกาศจัดงาน “REDeFiNE TOMORROW 2025”
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 2 รางวัลระดับนานาชาติ
รถยนต์
MGC-ASIA ทยอยส่งมอบรถ จ่อบุ๊ครายได้ทันที
ท่องเที่ยว
หอการค้ากระบี่ หนุนสร้างเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวกระบี่ ช่วงโลว์ซีซัน
อสังหาริมทรัพย์
ORN กวาดยอดพรีเซลโค้งแรกกว่า 1.3 พันล.
การตลาด
M-150 ผนึก LOTTE ต่อยอดกลยุทธ์ Cross-Industry Collaboration
CSR
SCB 10X ประกาศจัดงาน “REDeFiNE TOMORROW 2025”
Information
EXIM BANK นำผู้ประกอบการไทยร่วมงานแสดงสินค้าและจับคู่ธุรกิจไทย-จีน
Gossip
BKA จ่อขึ้น XD 26 พ.ค. 68 นี้
Entertainment
ทีทีบี ฟินทิป ชวนทำความรู้จัก “พีระมิดทางการเงิน”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
TU ซื้อคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน 6 พันลบ.
2024-10-09 15:19:53
158
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - TU เตรียมซื้อคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนในเดือนพ.ย. นี้ จำนวน 6,000 ล้านบาท โดยกำหนดปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ในวันที่ 15 พ.ย. 67 เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ในการได้รับการไถ่ถอน จ่ายคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งกำหนดวันไถ่ถอนหุ้นกู้เป็นวันที่ 29 พ.ย. 67 สะท้อนความสามารถในการบริหารทางการเงินที่แข็งแกร่ง
เมื่อวันที่ นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU เปิดเผยว่า การเดินหน้าซื้อคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน พร้อมจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ถือหุ้นกู้ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการบริหารต้นทุนทางเงินทุนของกลุ่มให้ดีขึ้นโดยสามารถลดต้นทุนทางการเงินได้ประมาณ 150 ล้านบาทต่อปี แสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องและสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ตลอดจนความสามารถในการบริหารจัดการและชำระคืนหุ้นกู้ได้ตามแผนที่วางเอาไว้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน
นอกจากนี้ ศูนย์บริหารเงินของไทยยูเนี่ยน (Global Treasury Center) ซึ่งมีหน้าที่หลักในการบริหารสภาพคล่องและการบริหารเงินสดของบริษัท การจัดหาแหล่งเงินทุน ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงทางการเงินซึ่งต้องพิจารณาปัจจัยทางเศรษฐกิจแบบรอบด้าน เพื่อวางแผนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้าได้อย่างทันท่วงที ตัวอย่างเช่น การป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน (Hedging) ซึ่งถึงแม้ว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นอย่างมากในขณะนี้ ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะการเงินของเราในระยะสั้น แต่ในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยได้
โดยการซื้อคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนในครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดอันดับเครดิตองค์กร โดย ทริสเรทติ้ง เมื่อเดือนก.ย. 2567 ที่ผ่านมา ไทยยูเนี่ยนได้รับการประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน จาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ที่ระดับ “A+” ต่อเนื่อง พร้อมคงอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ซึ่งไม่มีประกันและไถ่ถอนเมื่อเลิกกิจการ (Hybrid Debentures) ของบริษัทที่ระดับ “A-” แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” เพราะทริสเรทติ้งมองว่าไทยยูเนี่ยนมีศักยภาพจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีแบรนด์ที่แข็งแกร่งกระจายตัวอยู่ในหลายภูมิภาค ทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมีการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ อาทิ อุตสาหกรรมส่วนประกอบอาหาร และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมทางธุรกิจของไทยยูเนี่ยน
CPALL เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ 2.90% ต่อปี
SGC ปลื้มยอดขายหุ้นกู้เข้าเป้า 400 ล. ลุยสินเชื่อ Lock Phone
NAM ชู 4 ยุทธศาสตร์เด็ด หนุนรายได้ปีนี้โตทะลุ 50%
TIDLOR ปลื้ม! TRIS จัดอันดับเครดิต “A+/Stable”
DMT หุ้นปลอดภัย จ่ายปันผลสูง - SMPC ออเดอร์เข้าเต็มมือ ปริมาณขายพุ่ง 20%
SMPC ออเดอร์เต็มมือ หนุนผลงาน Q2 ฟื้นตัว