Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
CPALL เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ 2.90% ต่อปี
MAI
I2 คว้างาน กสทช. มูลค่า 68 ล้าน
IPO
ATLAS จัดทัพโรดโชว์ ฉายภาพธุรกิจก่อนเข้า SET
บล./บลจ
Liberator ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ ตอบโจทย์นลท.
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
คลัง ระดมแบงก์รัฐ ช่วยผู้ประกอบการรับมือกำแพงภาษีสหรัฐฯ
การค้า - พาณิชย์
บสย. ลุยปลุกยอดซื้อรถกระบะ ผ่านมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ”
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GGC จับมือ ไทยคม ร่วมตรวจสอบพื้นที่สวนปาล์ม-กักเก็บคาร์บอน
คมนาคม - โลจิสติกส์
"สุริยะ" ตรวจโครงการก่อสร้างพระราม 2 คืบหน้าล่าสุด 82%
แบงก์ - นอนแบงก์
TTB ปล่อย “รถบริการรับย้ายแบงก์” ช่วยคนไทยปลดหนี้
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
AF ไตรมาส 1/68 รายได้รวม 61.19 ล้านบาท
SMEs - Startup
SCB 10X ประกาศจัดงาน “REDeFiNE TOMORROW 2025”
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 2 รางวัลระดับนานาชาติ
รถยนต์
MGC-ASIA ทยอยส่งมอบรถ จ่อบุ๊ครายได้ทันที
ท่องเที่ยว
หอการค้ากระบี่ หนุนสร้างเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวกระบี่ ช่วงโลว์ซีซัน
อสังหาริมทรัพย์
ORN กวาดยอดพรีเซลโค้งแรกกว่า 1.3 พันล.
การตลาด
M-150 ผนึก LOTTE ต่อยอดกลยุทธ์ Cross-Industry Collaboration
CSR
SCB 10X ประกาศจัดงาน “REDeFiNE TOMORROW 2025”
Information
EXIM BANK นำผู้ประกอบการไทยร่วมงานแสดงสินค้าและจับคู่ธุรกิจไทย-จีน
Gossip
BKA จ่อขึ้น XD 26 พ.ค. 68 นี้
Entertainment
ทีทีบี ฟินทิป ชวนทำความรู้จัก “พีระมิดทางการเงิน”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
KBANK กำไรพุ่งกระฉูด 14% วางหมากปี 68 สานต่อยุทธศาสตร์ 3+1
2025-01-21 10:28:56
165
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – KBANK เปิดผลงานปี 67 ฟาดกำไรกว่า 4.8 หมื่นล้านบาท เติบโตกว่า 14% รับแรงหนุนจากการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย และการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าเนียมจากการให้บริการธุรกิจ Wealth พร้อมเดินหน้าธุรกิจปี 68 ตามยุทธศาสตร์ 3+1 และการจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ผลประกอบการงวดไตรมาส 4/2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 25,513 ล้านบาท ลดลง 6.13% จากไตรมาสก่อนหน้า โดยรายได้จากการดำเนินงานสุทธิมีจำนวน 48,685 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 23,172 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.77% ซึ่งเป็นตามฤดูกาล รวมทั้งมีการตั้งสำรองผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 12,242 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.06% จากไตรมาสก่อนหน้า เพื่อให้สำรองฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสมรองรับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้กำไรสุทธิไตรมาส 4/2567 มีจำนวน 10,494 ล้านบาท ลดลง 12.30% จากไตรมาสก่อน
ขณะที่ผลประกอบทั้งปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 110,673 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.77% จากปีก่อน โดยรายได้จากการดำเนินงานสุทธิมีจำนวน 197,946 ล้านบาท เติบโต 2.75% เป็นผลจากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร และการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ โดยในปี 2567 ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 87,273 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.71% จากปีก่อน สำหรับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) ในปี 2567 อยู่ที่ 44.09% ใกล้เคียงกับปีก่อนจากการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่า และการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงตั้งสำรองฯ ตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่องในทุกไตรมาส เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เติบโตช้าและในอัตราที่ต่ำ แม้ว่าสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ลดลง 8.85% จากปีก่อนหน้า ส่งผลให้กำไรสุทธิในปี 2567 มีจำนวน 48,598 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,193 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.60% จากปีก่อน
ทั้งนี้ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 149,376 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.63% จากปีก่อน โดยมาจากเงินให้สินเชื่อที่เติบโตจำกัดสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับการยกระดับกระบวนการปล่อยสินเชื่อใหม่อย่างมีคุณภาพ โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (NIM) อยู่ที่ 3.64% ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ที่ 48,570 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.86% ซึ่งหลัก ๆมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมรับจากการให้บริการบริหารความมั่งคั่งให้ลูกค้าผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ครอบคลุมทั้งของธนาคารและบริษัทย่อย รวมทั้งพันธมิตร นอกจากนี้ ยังมีกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน และรายได้จากการลงทุนเพิ่มขึ้น รวมทั้งรายได้จากการให้บริการด้านปริวรรตเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,325,287 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 41,731 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.97% จากสิ้นปี 2566 โดยเงินให้สินเชื่อสุทธิมีจำนวน 2,390,187 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18,695 ล้านบาท หรือ 0.79% สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับการยกระดับกระบวนการปล่อยสินเชื่อใหม่อย่างมีคุณภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของธนาคารในการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ให้มีประสิทธิผลสูงสุดอย่างระมัดระวังรอบคอบ โดยสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ยังคงมีการเติบโต เงินรับฝากมีจำนวน 2,718,675 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19,113 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.71%
ในส่วนของเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) อยู่ที่ระดับ 3.18% โดยธนาคารยังคงติดตามและจัดการคุณภาพสินเชื่ออย่างใกล้ชิดและรอบคอบ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือลูกค้าอย่างเหมาะสม และปรับปรุงกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามหนี้ รวมทั้งพิจารณาตั้งสำรองฯ อย่างเพียงพอตามหลักความระมัดระวัง โดยมีอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) สูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 153.27% ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2567 ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ 20.25%
สำหรับในปี 2568 แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเผชิญความท้าทายจากหลายด้าน โดยเฉพาะผลกระทบจากความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ความเสี่ยงจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ปัญหาในภาคการผลิตและภาระหนี้เอกชนที่อยู่ในระดับสูงซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไข ซึ่งท่ามกลางความท้าทายของปัจจัยต่าง ๆ ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยเฉพาะการส่งมอบผลตอบแทนที่มั่นคงให้แก่ผู้ถือหุ้น การดูแลช่วยเหลือลูกค้าในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งรวมถึงการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible lending) ตลอดจนการให้ความร่วมมือโครงการภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถดำเนินชีวิต และธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน ผ่านการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ 3+1 และการจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Productivity) อย่างต่อเนื่อง
CPALL เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ 2.90% ต่อปี
SGC ปลื้มยอดขายหุ้นกู้เข้าเป้า 400 ล. ลุยสินเชื่อ Lock Phone
NAM ชู 4 ยุทธศาสตร์เด็ด หนุนรายได้ปีนี้โตทะลุ 50%
TIDLOR ปลื้ม! TRIS จัดอันดับเครดิต “A+/Stable”
DMT หุ้นปลอดภัย จ่ายปันผลสูง - SMPC ออเดอร์เข้าเต็มมือ ปริมาณขายพุ่ง 20%
SMPC ออเดอร์เต็มมือ หนุนผลงาน Q2 ฟื้นตัว