Phones





กฟผ.กดปุ่มสตาร์ทธุรกิจขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน

2020-10-08 15:49:46 1208




นิวส์ คอนเน็คท์ - กฟผ.กดปุ่มสตาร์ทธุรกิจขายใบรับรองเครดิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ REC โดยมีโตโยต้า มอเตอร์ฯ เป็นผู้ซื้อ REC หลายแรก พร้อมดึงกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า SPP – IPP ร่วมเป็นผู้ขายภายใต้เครือข่าย Thailand Clean Energy Network หวังกระตุ้นการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น 


เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “Thailand Clean Energy Network 2020” ว่า ประเทศมีเป้าหมายเข้าสู่ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Nationally Determined Contribution : NDC)

ขณะเดียวกันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยังได้นำใบรับรองเครดิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate) หรือ REC มาเป็นกลไกช่วยส่งเสริมให้เกิดการผลิต และการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศมากยิ่งขึ้น


ทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นอีกกลไกที่จะนำประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายระดับชาติ เพื่อให้คนไทยได้ใช้พลังงานสะอาดและยั่งยืน และยังเป็นอีกกลไกที่จะนำประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมาย ที่ให้คำมั่นตามข้อตกลงปารีส ว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20-25 ภายในปี 2573


นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้าดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้ามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 62 โดยในปีนี้จะเป็นเปีแรกที่ได้เริ่มมีการซื้อขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน หรือ REC โดยมีบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เป็นรายแรกที่เครคิต REC จาก กฟผ.ในสัญญาระยะสั้น 1 ปี จำนวน 10,000 REC และปัจจุอยู่ระหว่างเจรจากับกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกหลายราย


นอกจากนี้ ยังได้เปิดโอกาสให้บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPP) และขนาดเล็ก (SPP) ได้มีส่วนร่วมในกลไกซื้อขาย REC หรือเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ในการซื้อขาย REC ด้วย เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีโรงไฟฟ้าเป็นพลังงานทดแทนจำนวนมาก สามารถรองรับความต้องการกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องการลดคาร์บอนเครดิตด้วย


อย่างไรก็สำหรับธุรกิจซื้อขายใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) รวมทั้งการให้บริการรับรอง REC ที่ กฟผ. ได้รับสิทธ์จาก The International REC Standard (I-REC) ประเทศเนเธอร์แลนด์นั้น กฟผ.เป็นผู้รับรอง REC แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย โดยหน่วยการซื้อขาย คือ REC ซึ่งคำนวณ จาก หน่วยไฟฟ้า 1 พันหน่วยเท่ากับ 1 REC โดยเบื้องต้นราคา 50 บาทต่อ 1 REC


นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า บริษัทตกลง ซื้อไฟฟ้า Grid ระบบส่งไฟฟ้า กฟผ. เป็นไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานน้ำ ซื้อทั้งหมด 10,000 REC มูลค่าราว 5 แสนบาทต่อปี คิดเป็น ร้อยละ 3.8 ของความต้องการใช้ไฟฟ้าของบริษัทในไทย ที่มีประมาณ 187,000 หน่วยต่อปี ซึ่ง Toyota Motor Thailand ตั้งเป้าหมาย ลดการปล่อยก๊าซ CO2 ( สัดส่วนร้อยละ80ของก๊าซเรือนกระจก) ให้เป็น 0 ในปี 2050 (พ.ศ.2593) โดยจะดำเนินการใน3ส่วนหลักตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ คือทั้ง โรงงานรถยนต์, ผู้ผลิตชิ้นส่วน และผู้แทนจำหน่าย และการซื้อเครดิต REC ก็สามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นคาร์บอนเครดิตได้


 


>>>สามารถอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ทาง http://www.newsconnext.com
หรือติดตามผ่านช่อง Line@ ได้ที่ News Connext
ช่องทาง Fanpage Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/connextnews