Phones





รัฐ-เอกชน หนุน ATMPs ดันไทยสู่ “Medical Hub”

2025-01-06 13:07:28 205



นิวส์ คอนเน็คท์ - ภาครัฐ-เอกชน หนุน ATMPs สร้างเศรษฐกิจสุขภาพแสนล้าน ผลักดันไทยสู่ “Medical Hub” ระดับโลก ด้านแพทยสภาพร้อมหนุนวิจัย “สเต็มเซลล์” ยกระดับการแพทย์ หลังประเทศไทยกำลังเร่งเดินหน้าสู่การเป็น “ศูนย์กลางด้านการแพทย์ และสุขภาพมูลค่าสูง” โดยตั้งเป้าหมายเป็นผู้นำด้านการแพทย์สมัยใหม่ในระดับโลกภายในปี 2570 โดยเฉพาะการพัฒนา ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง หรือ Advanced Therapy Medicinal Products : ATMPs ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ ยีนบำบัด เซลล์บำบัด และการวิศวกรรมเนื้อเยื่อ

เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2568 นพ.กรกฤช ลิ้มสมมติ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ สบส. เปิดเผยในการประชุมหัวข้อ “การขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการรักษาพยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพ” ว่าตลาดผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงทั่วโลกในปี 2023 มีมูลค่ากว่า 11,990 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตเป็น 35,590 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2032 โดยประเทศไทยมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ของไทย ยุทธศาสตร์สำคัญสู่การเป็น Medical Hub

โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการแพทย์และสุขภาพของประเทศไทยในช่วงปี 2568-2577 มุ่งเน้น 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1.เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน: ส่งเสริมนวัตกรรมทางการแพทย์และปรับปรุงกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการลงทุน 2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากร: เตรียมความพร้อมด้านระบบนิเวศและพัฒนาผู้เชี่ยวชาญในสาขาการแพทย์ล้ำสมัย 3. ส่งเสริมธุรกิจสุขภาพและ Medical Tourism: ดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและพัฒนาบริการที่มีมูลค่าสูง

ประเทศไทยคือผู้นำด้าน ATMPs

ปัจจุบัน ATMPs ถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมการแพทย์ที่มีศักยภาพสูง โดยมุ่งเน้นการรักษาโรคที่ซับซ้อน เช่น โรคมะเร็งและโรคทางพันธุกรรม ซึ่งประเทศไทยได้เริ่มต้นวิจัยและทดลองทางคลินิกในกลุ่มโรคเหล่านี้กว่า 2,000 รายโดยนพ.กรกฤช ลิ้มสมมติ ย้ำว่า การสนับสนุนจากภาครัฐผ่านการจัดตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเฉพาะด้าน จะช่วยผลักดันมาตรฐานการผลิตและความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ ATMPs ของไทย พร้อมทั้งสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจสุขภาพของประเทศ

เทคโนโลยีด้านการแพทย์ในระดับโลกพัฒนาก้าวหน้ารวดเร็ว

สำหรับการประชุมวิชาการนานาชาติ หัวข้อ ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมบริการสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพของประเทศไทย ในครั้งนี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายทราบว่า เทคโนโลยีด้านการแพทย์ในปัจจุบันระดับโลกได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการนำเซลล์ เนื้อเยื่อ และยีน ของมนุษย์มาดัดแปลงมาใช้ในการรักษาโรคของมนุษย์ การรักษาโรคทางการแพทย์จึงก้าวกระโดดข้ามอุปสรรคกีดขวางที่มีอยู่ ทำให้สามารถรักษาโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยเทคโนโลยีแบบเดิม โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) และ อย. สหรัฐ (USFDA) เรียกหมวดการผลิตภัณฑ์แบบใหม่นี้ว่า Cell, Tissue and Gene Therapy Products และ อย. ยุโรป (EMA) เรียกว่า Advanced Therapy Medicinal Products (ATMPs)

ชาวโลกยอมรับมาตรฐานการรักษาของแพทย์ไทย

อย่างไรก็ดี ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมการบริการการรักษาทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับมาตรฐานจากทั่วโลก จึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับเทคโนโลยีด้านการแพทย์แบบใหม่ เนื่องจากเทคโนโลยีชนิดนี้ เป็นหมวดผลิตภัณฑ์การรักษาทางการแพทย์หมวดใหม่ของโลก ในระบบสากลได้มีการพัฒนาระบบควบคุมกำกับสำหรับหมวดนี้ ซึ่งหน่วยงานควบคุมกำกับของไทยได้เริ่มการพัฒนาระบบควบคุมกำกับสำหรับผลิตภัณฑ์การรักษาทางการแพทย์ไปบางส่วนแล้ว

“ในโรงเรียนแพทย์ได้เริ่มมีการพัฒนาการผลิตและการวิจัยในมนุษย์ด้วยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ไปบ้างแล้ว โดยการจัดประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ที่ทันสมัย กระตุ้นให้ภาคเอกชนและภาครัฐประสานความร่วมมือ เช่น ทิศทางของตลาดโลก นโยบายของรัฐบาลไทย นโยบายของกระทรวงต่าง ๆ ระบบทุน ววน. (วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีกลุ่มนี้ ระบบควบคุมกำกับสากล สถานการณ์ความต้องการเทคโนโลยีชนิดนี้ในสถานพยาบาลเอกชน ความก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรม เพื่อจะได้นำข้อมูลต่าง ๆ ไปพัฒนาประเทศด้านการออกแบบระบบควบคุมกำกับสอดคล้องสากลและส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย การวิจัยพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ การยกระดับขัดความสามารถอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์มูลค่าสูงที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับการนำไปใช้บริการการรักษาทางการแพทย์สมัยใหม่ของไทยต่อไป” นพ.กรกฤช กล่าว

กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ ATMPs เป็นยา

ขณะที่ รศ.นพ.ถนอม บรรณประเสริฐ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (EC-ATMPs), โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้บรรยายหัวข้อ “Current Thailand ATMP Situation: Industry and Regulation” ว่า มาตรา 7 แพทยสภามีวัตถุประสงค์ คือ ควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม โดยมาตรา 7 (2) ส่งเสริมการวิจัย ไม่ใช่ควบคุมกำกับการวิจัย และมาตรา 8 (1) - (6) ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของแพทยสภาไม่มีข้อใดเกี่ยวข้องกับการควบคุมกำกับกระบวนการวิจัย ซึ่งการกำหนดนิยามวัตถุ (คือ เซลล์) ที่ใช้กับมนุษย์ในทางการแพทย์การใช้เซลล์สำหรับมนุษย์ในทางการแพทย์ มีดังนี้

1.วินิจฉัยโรค เช่น Lab on a Chip เป็นเครื่องมือแพทย์แบบ IVD 2.ใช้รักษาโรคของมนุษย์แบบไม่ใช่ยา เป็นเวชปฏิบัติทางการแพทย์ 3.ใช้รักษาโรคของมนุษย์ แบบเป็นยา 4.ใช้บำบัด บำรุง บรรเทา ทางสุขภาพ แบบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์

อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การผลิตยาในโรงพยาบาล ออกมาเป็นราชกิจจานุเบกษา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ประกาศให้ ATMPs เป็นยาแพทยสภา ส่งเสริม ATMPs และงานวิจัยด้านสเต็มเซลล์เต็มที่

ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี กรรมการแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภา พร้อมส่งเสริม ATMPs และงานวิจัยด้านสเต็มเซลล์เต็มที่ ไม่ได้ขัดขวางการวิจัยเรื่องสเต็มเซลล์แต่อย่างใด เพื่อให้วงการแพทย์มีการพัฒนาและก้าวหน้าต่อไป

ขณะที่พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล อดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ ปัจจุบันเป็นหัวหน้ากลุ่มแพทย์ชื่อกลุ่มเพื่อแพทย์ลงสมัครกรรมการแพทยสภา กล่าวว่า ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องก้าวหน้าทางการแพทย์ เช่น สเต็มเซลล์ ที่ทั่วโลกมีผลวิจัยว่าใช้ได้จริงในโรคที่มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลและให้คำปรึกษา ดังนั้นประเทศไทยต้องยึดความเป็นอินเตอร์เนชันแนลในการกำหนดกฎหมายให้ออกมาเป็นมาตรฐานสากล 

ในขณะเดียวกัน รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ ววน. กล่าวถึงการมีส่วนช่วยในการผลักดัน การักษาโดยใช้เซลล์บำบัด หรือ Cell Therapy โดยทางววน. ตระหนักถึงศักยภาพของ การให้การรักษาด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ชั้นสูง เช่น ATMPs มีโอกาสอย่างมากที่จะสร้างรายได้ให้กับประเทศได้ โดนเน้นย้ำถึงสิ่งที่สำคัญสูงสุด นั่นก็คือความปลอดภัยที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการรักษา ที่จะต้องอาศัยความร่วมมือของทุกกระบวนการ ตั้งแต่การผลิต ไปจนกระทั่งถึงการใช้งานจริง โดยทาง ววน. เข้าใจดีว่า กระบวนการตรวจสอบ ศึกษาทดลอง และวิจัยต่างๆที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดนั้น จำเป็นจะต้องใช้งบประมานค่อนข้างสูง 

สำหรับภาคเอกชน ววน. จำได้มีการกำหนดแผน ที่จะเข้ามาสนับสนุนในด้านงบประมาณในส่วนนี้ เพื่อให้ภาคเอกชน และภาควิชาการ มีความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อจะนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัยและยังกล่าวต่ออีกว่า การที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยที่ยั้งยืน และสร้างความมั่นใจ ให้กับทั้งผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ ผู้เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการอย่างถูกต้องภายใต้กฎหมาย โดยทาง ววน.เองก็พร้องที่จะสนับสนุนในเรื่องด้วยเช่นกัน และยังได้พูดถึงเรื่องการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยด้วยว่ามีความสำคัญ 

โดยเฉพาะในตอนนี้ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่าเต็มตัว โดยนวัตกรรม ATMPs เองนั้นจะเข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องนี้ แม้จะมีข้อสังเกตุตรงที่ว่าในปัจจุบันนี้ ยังมีค่าใช่จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง แต่ถ้าหากประเทศไทนมีความสามารถทำได้เอง และได้รับการยอมรับในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัยในต่างประเทศ ก็จะทำให้สามารถดึงเม็ดเงินตรงนี้จากต่างประเทศได้ ด้วยความที่การแพทย์ประเทศเองก็เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศเป็นอย่างดี และพร้อมที่จะรองรับในส่วน Medical Tourism ซึ่งอาจจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้มีการพัฒนาในวงกว้างมากขึ้น

ด้านนายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีส กรุป จำกัด(มหาชน) หรือ MEDEZE หนึ่งในตัวแทนภาคเอกชนที่ได้ร่วมขึ้นเวทีการประชุมครั้งนี้ กล่าวว่า ประเทศไทยเองมีความพร้อมอย่างมากในทุกๆด้าน โดยการบริการและการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในไทยนั้นได้รับการตอบรับจากต่างประเทศอย่ามาก เทคโนโลยีการแพทย์ชั้นสูง ในด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือเซลล์บำบัดโดยเฉพาะ Stem cell จะมีความน่าสนใจมากขึ้นในอนาคต เพราะมนุษย์ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีอายุที่ยืนยาวขึ้น แต่ยังคงจะมีความต้องการในการรักษาความเสื่อมตามธรรมชาติ ซึ่ง Stem cell เองมีความศักยภาพในการตอบโจทย์เรื่องนี้ โดยเชื่อว่าประเทศไทยจะมีการเติบโต และพัฒนาในด้านนี้อย่างแน่นอน แต่จะช้าหรือเร็นนั้นก็จะขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งก็ต้องบอกว่าในปัจจุบันมีสัญญานตอบรับในเชิงบวกมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากต้องการให้เกิดความมั่นคงที่ยั่งยืนนั้นจะต้องแน่ใจว่ามีความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยต้นตอแรกที่สำคัญก็จะหนีไม่พ้นห้องแลปที่ที่การผลิตที่จะต้องได้มาตรฐานมีความปลอดภัย และได้ผ่านการตรวจสอบจากสถาบันต่างๆที่ให้การกำกับดูแลอีกด้วย

ปัจจุบันทาง อย.และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีการร่างแผนกำหนดมาตรฐานห้องแลปปฏิบัติการใว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคาดการว่าจะเสร็จสิ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า นั่นจะทำให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น และเชื่อมันว่าจะสามารถดึงดูดเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามาด้วยการแพทย์ชั้นสูงหรือStem cell ได้อย่างแน่นอน