Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
MAI
READY จับมือ FlowAccount ยกระดับธุรกิจไทยใช้ MarTech
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน คว้ารางวัลระดับเอเชีย ผ่านนวัตกรรม ‘MyMo Secure Plus’
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยสไมล์คลับ จัดกิจกรรม พอยท์น้อยก็ได้ลุ้น
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
BAM ลุย ‘People Transformation Project’ ยกระดับคุณภาพชีวิตพนักงาน
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
EXIM BANK บรรยายพิเศษแก่ผู้บริหารและบุคลากร กปน.
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
2025-06-25 10:48:29
210
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - GULF ส่งบริษัทร่วมทุน เดินหน้าพัฒนาโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือก๊าซและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2568 นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้วางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (อีสเทิร์นซีบอร์ด) ให้มีโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยมีโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (“โครงการมาบตาพุด”) เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญของแผนพัฒนา EEC ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถและความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
ทั้งนี้ บริษัท กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินัล จำกัด (GMTP) ได้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงการมาบตาพุดดังกล่าว โดยเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกัลฟ์ ดีเวลลอปเมนท์ และ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ซึ่งถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 70 และ 30 ตามลำดับ
โดย GMTP ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership) กับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นระยะเวลา 35 ปี เพื่อดำเนินโครงการมาบตาพุด โดยโครงการดังกล่าวประกอบไปด้วยงานถมทะเลในพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ และงานพัฒนาท่าเทียบเรือก๊าซและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Terminal) บนพื้นที่ถมทะเลประมาณ 200 ไร่ โดยในส่วนของงานถมทะเลนั้น GMTP ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 และถมทะเลแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยในเดือนมีนาคม 2568 ที่ผ่านมา
โดยบริษัทฯ ได้แจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบว่า เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2568 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ GMTP ได้มีมติอนุมัติให้โครงการเริ่มดำเนินการพัฒนาท่าเทียบเรือก๊าซและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ภายใต้วงเงินลงทุนประมาณไม่เกิน 60,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในไตรมาสที่ 4 ปี 2568 และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2572
โดยสถานีดังกล่าวถือเป็นสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งที่ 3 ของประเทศไทย ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการรักษาเสถียรภาพด้านพลังงานของประเทศ และช่วยรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้ การลงทุนในโครงการมาบตาพุดยังเป็นการต่อยอดธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ให้เชื่อมโยงอย่างครบวงจรระหว่างธุรกิจผลิตไฟฟ้าและธุรกิจนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักคือผู้ได้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติในประเทศ ซึ่งรวมถึงบริษัทในกลุ่ม ได้แก่ บริษัท หินกองเพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด (HKH) และบริษัท กัลฟ์ แอลเอ็นจี จำกัด (GLNG) ที่มีแนวโน้มการนำเข้า LNG ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าภายใต้กลุ่มบริษัทฯ
ทั้งนี้ ธุรกิจสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเป็นธุรกิจที่ได้รับการควบคุมโดยภาครัฐ (Regulated Business) เพื่อให้ ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการ และได้รับรายได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับแผนการพัฒนาของภาครัฐ โดยรายได้ของโครงการจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) ค่าบริการส่วนของต้นทุนคงที่ (Demand Charge) ซึ่งจะสะท้อนเงินลงทุน ค่าใช้จ่าย และผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปต้นทุน และ 2) ค่าบริการส่วนของต้นทุนแปรผัน (Commodity Charge) ซึ่งคำนวณจากค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นต้นทุนแปรผันในการให้บริการ (Variable Cost) ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่แปรผันโดยตรงตามปริมาณการแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นก๊าซ ซึ่งต้นทุนทั้งหมดจะถูกส่งผ่าน (Passed Through) ไปยังลูกค้าที่มาใช้บริการโครงการ ทั้งนี้ หากมีความคืบหน้าในการพัฒนาโครงการดังกล่าว บริษัทฯ จะแจ้งรายละเอียดให้ทราบต่อไป
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech
EA ยิ้ม! ผู้ถือหุ้นกู้ 3 รุ่น ไฟเขียวเลื่อนไถ่ถอน 7 ปี-เพิ่มดอกเบี้ย 0.5%
GUNKUL ชี้ผลดีขายหุ้น 9 โรงไฟฟ้า รับรู้รายได้เร็วขึ้น เอื้อเร่งลงทุนใหม่