Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
MAI
DOD ส่งซิก ปั้นรายได้รวมปี 68 แตะ 800 ล้านบ. ลุ้นจ่ายปันผล
IPO
‘BKA’ ฮอต หุ้น IPO 60 ล้านหุ้น ขายเกลี้ยง
บล./บลจ
Webull ส่ง ‘Daily Interest’ รับมือตลาดผันผวน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY ชี้เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า จับตาบอนด์สหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. โชว์ผลงานไตรมาส 1/68 ลุยปลดล็อก SMEs
พลังงาน - อุตสาหกรรม
RT ผนึก กรมโยธาฯ ตรวจสอบอาคารในกรุงเทพฯ
คมนาคม - โลจิสติกส์
WSOL ส่ง SABUY Speed ชิงส่วนแบ่งตลาดขนส่ง 5%
แบงก์ - นอนแบงก์
KBANK ขยายบริการ QR สแกนจ่ายผ่าน K PLUS ตั้งเป้าธุรกรรมโต 9 เท่า
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘กรุงศรี มอเตอร์ไซค์’ ครองแชมป์สินเชื่อสองล้อ ดันยอดสินเชื่อโต 10%
SMEs - Startup
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
ประกันภัย - ประกันชีวิต
“เมืองไทยประกันชีวิต” คลอดแคมเปญ “ShieldLife”
รถยนต์
GPI ลุยธุรกิจใหม่จัดอีเวนต์ด้าน Sport สู่กลุ่มเด็ก
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
“อรสิริน” ได้ฤกษ์มงคล ลงเสาเอก “อะไรซ์ ไวบ์ ภูเก็ต”
การตลาด
CardX ลุยช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
CSR
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
Information
วิริยะประกันภัย สนับสนุนน้ำดื่มบริการประชาชนแก่ กทพ.
Gossip
TPS เชิญประชุม ผถห. รูปแบบออนไลน์
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
"กองทุนรวม Thai ESGX" โอกาสลงทุนใหม่ เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี
RATCH เพิ่มพอร์ตโรงไฟฟ้าSPP รับโมเดลผลิตไฟฟ้าใช้เอง
2022-05-05 17:02:33
1481
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - RATCH ดันพอร์ตโรงไฟฟ้า SPP หวังสร้างรายได้เพิ่ม พร้อมรับโมเดลผลิตไฟฟ้าใช้เอง ล่าสุดลงทุนเพิ่มกำลังผลิตโรงผลิตไฟฟ้านวนครอีก 30 MW มั่นใจรายได้จากพอร์ตโรงไฟฟ้า SPP ในปี 65 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีรายได้ 2,938 ล้านบาท หรือคิดเป็น 7% ของรายได้รวม
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 นางสาวชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงทุนเพิ่มในโรงผลิตไฟฟ้านวนคร ซึ่งเตรียมเพิ่มกำลังการผลิตเพิ่มอีก 30 เมกะวัตต์(MW) และไอน้ำ 5 ตันต่อชั่วโมง เพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าอุตสาหกรรม ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสำหรับการผลิตเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประมาณการเงินลงทุน 1,724 ล้านบาท ซึ่งจะมาจากเงินกู้และเงินทุนของผู้ถือหุ้นในสัดส่วน 70:30 โดยจะเป็นเงินทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทประมาณ 200 ล้านบาท
โดยโครงการส่วนขยายนี้จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนธ.ค.65 และคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเดินเครื่องเชิงพาณิชย์(COD) ประมาณเดือนมิ.ย.67 ส่งผลให้โรงผลิตไฟฟ้านวนครมีกำลังการผลิตรวม 215 เมกะวัตต์ และกำลังการผลิตไอน้ำ รวม 45 ตันต่อชั่วโมง
ทั้งนี้ บริษัทยังคงเดินหน้าลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นธุรกิจหลักอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการลงทุนในประเทศไทยนอกจากโครงการพลังงานทดแทนแล้ว บริษัทมุ่งเป้าหมายที่โครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) ประเภทโคเจนเนอเรชั่น ซึ่งนอกจากสร้างรายได้และมูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการเตรียมพร้อมรองรับโอกาสการเติบโตในอนาคต ซึ่งภาคการผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มจะเปลี่ยนผ่านไปสู่โมเดลการผลิตเพื่อใช้เอง (IPS) และผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง โดยปัจจุบันบริษัทมีพอร์ตการลงทุนโรงไฟฟ้าประเภท SPP รวม 7 โครงการ หากรวมการลงทุนครั้งนี้แล้วจะส่งผลให้บริษัทรับรู้กำลังการผลิตติดตั้งตามการถือหุ้น รวม 536.97 เมกะวัตต์ โดย 481.3 เมกะวัตต์ได้เดินเครื่องจำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้ว
สำหรับโรงไฟฟ้าดังกล่าว ดำเนินงานโดย บริษัท ผลิตไฟฟ้า นวนคร จำกัด เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท กับบมจ.นวนคร หรือ NNCL และบมจ. โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ หรือ GPSC ถือหุ้นสัดส่วน 40%, 30% และ 30 ตามลำดับ ปัจจุบันมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 185 เมกะวัตต์ และไอน้ำรวม 40 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งกำลังการผลิตไฟฟ้า 90 เมกะวัตต์ จำหน่ายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ส่วนที่เหลือจำหน่ายให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี เมื่อกำลังการผลิตส่วนขยายครั้งนี้แล้วเสร็จจะมีกำลังการผลิตที่จะจำหน่ายให้ลูกค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 125 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 45 ตันต่อชั่วโมง
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ร่วมทุนกับกลุ่มนวนคร พัฒนาโครงการ IPS กำลังการผลิต 31.2 เมกะวัตต์ ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมาด้วย สำหรับ โรงผลิตไฟฟ้านวนคร ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงและมีความมุ่งมั่นผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีระบบการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 อีกทั้งยังได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3: ระบบสีเขียว (Green System) กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมด้วย นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของหน่วยผลิตไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์การลดก๊าซเรือนกระจกของบริษัท
ทั้งนี้ ในปี 64 บริษัทรับรู้รายได้จากพอร์ตการลงทุนโรงไฟฟ้า SPP เป็นจำนวน 2,938 ล้านบาท คิดเป็น 7% ของรายได้รวม โดยเป็นรายได้จากโรงไฟฟ้าราชโคเจนเนอเรชั่น โรงผลิตไฟฟ้านวนคร โรงไฟฟ้าราชบุรีเวอล์ดโคเจนเนอเรชั่น โรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น และโรงไฟฟ้าสหโคเจนชลบุรี ขณะที่บริษัทประมาณการว่า รายได้จากพอร์ตโรงไฟฟ้า SPP ในปี 65 จะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากจะมีการรับรู้รายได้จาก 3 โครงการในปีนี้ ได้แก่ โรงไฟฟ้าสหโคเจน โรงไฟฟ้าเน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี ระยอง และส่วนขยายของโรงไฟฟ้าราชโคเจนเนอเรชั่น
สำหรับโรงไฟฟ้าเน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี ระยอง ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง กำลังผลิตติดตั้ง 98 เมกะวัตต์ เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 เม.ย.65 โดยจำหน่ายไฟฟ้า 90 เมกะวัตต์ ให้กับ กฟผ. ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะเวลา 25 ปี โรงไฟฟ้าดังกล่าวได้ดำเนินการควบคุมคุณภาพการก่อสร้างภายใต้มาตรฐานสากล รวมทั้งยังได้เลือกใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งด้านการผลิตและการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานของธนาคารโลกในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
JMART เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ชุดใหม่ 5.50% เสริมแกร่งการเงิน
WSOL ยื่นฟ้องลูกหนี้-อดีตผู้บริหาร SABUY กว่า 2,600 ล้านบ.
ASIA ปักธงรายได้ปี 68 โต 10% - SGC ลุย “Lock Phone” เป้าสินเชื่อ 8 พันล.
ASIA ผถห.ไฟเขียวปันผล 0.13 บ. ปักธงรายได้ปีนี้โต10%
SGC ชูธุรกิจ Locked Phone ทะยานโต