Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
MAI
IMH เปิดศูนย์ MRI รพ. IMH สีลม หวังครองแชมป์ย่านสีลม–สาทร
IPO
MASTEC ปิดโรดโชว์ 10 จังหวัด ลุย IPO 79 ล้านหุ้น
บล./บลจ
โกลเบล็ก คัด 5 หุ้นเด่นเด้ง “เที่ยวไทยคนละครึ่ง”
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
ยูโอบี จับมือ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ เสริมแกร่งการลงทุนอาเซียน
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต ส่งมอบโครงการปรับปรุงศูนย์กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ORN ครึ่งปีหลัง 68 โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
Information
READY ร่วมกับสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว ติดอาวุธให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยว
Gossip
MENA หุ้นโลจิสติกส์ ผลงานเจ๋ง!
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
“โกลเบล็ก” คัด 7 หุ้นเด่นอานิสงส์ค่าบาทอ่อน-ส่งออกพุ่ง
2022-05-10 18:55:12
626
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - บล. โกลเบล็ก ประเมินหุ้นไทย Sideway Down หวั่นเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสกัดกั้นเงินเฟ้อ และสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ แนะจับตาตัวเลขเงินเฟ้อเม.ย.นี้ และการประชุมเฟดในมิ.ย. ประเมินกรอบดัชนี1,560-1,620 จุด พร้อมแนะกลยุทธ์ลงทุนหุ้นที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อน-ส่งออกพุ่ง
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS เปิดเผยว่า ทิศทางตลาดหุ้นมีโอกาสปรับ Sideway Down โดยยังมีปัจจัยลบรุมเร้าจากความวิตกกังวลการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อและสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ ประกอบกับนักลงทุนยังติดตามตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐเดือนเม.ย.ในวันที่ 11 พ.ค.นี้ แม้ว่าอัตราการว่างงานของสหรัฐทรงตัวที่ระดับ 3.6% สูงกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 3.5% และตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงานเพิ่มขึ้น 0.3% ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.4%
ในส่วนของจีนมีการรายงานยอดส่งออกเพิ่มขึ้นเพียง 3.9% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.63 และชะลอตัวลงอย่างมากจากเดือนมี.ค.ที่มีการขยายตัว 14.7% เป็นผลกระทบจากการใช้มาตรการล็อกดาวน์เมืองสำคัญ จึงคาดการณ์การเคลื่อนไหวของดัชนีในกรอบ 1,560-1,620 จุด
สำหรับปัจจัยที่ยังคงต้องจับตาต่อเนื่อง อาทิ การประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม การประกาศงบไตรมาส 1/2565 วันสุดท้าย (17 พ.ค.) การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3/2565 (18 พ.ค.) กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า ส่วนปัจจัยต่างประเทศ จีนรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย. สหรัฐ รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนเม.ย. และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ สหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย.
ดังนั้น แนะนำกลยุทธ์ลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนและตัวเลขส่งออกเดือนเมษายนออกมาดี ได้แก่ TWPC, ASIAN, XO, SNC, SKN, PIMO และ SMT
ด้านนายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล. โกลเบล็ก กล่าวว่า แนวโน้มราคาทองคำยังเจอแรงกดดันจากตลาดกลับมากังวลว่าเฟดจะควบคุมตัวเลขเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นได้จนต้องใช้ยาแรงด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% ในการประชุมเดือน มิ.ย. ความกังวลดังกล่าวนี้หนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสามารถทะลุแนวต้านที่ระดับ 3.0% ได้ ดัชนีดอลลาร์รีบาวด์กลับบริเวณ 103.55 ทองคำถูกกดดันอีกครั้งหลุดแนวรับบริเวณ 1,875 เหรียญสหรัฐฯต่อออนซ์ ส่วน SPDR เริ่มต้นเดือนนี้ไม่ดีนักมีการเทขายออกมาแล้ว 9.57 ตัน
โดยในสัปดาห์นี้ต้องจับตาดูเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด ถึงแม้จะมีแนวโน้มที่อ่อนตัวลงสะท้อนผ่านราคาน้ำมันดิบเดือนเม.ย.ที่แกว่งตัวต่ำกว่าเดือนมี.ค.เหลือ 105 เหรียญต่อบาร์เรล ขณะที่เงินเฟ้อเดือนเม.ย.ถูกคาดการณ์ไว้ที่ 8.1% หากตัวเลขจริงออกมามากกว่าอาจเป็นแรงหนุนทองคำในระยะสั้นได้ แต่หากตัวเลขจริงออกมาน้อยกว่าคาดการณ์อาจเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำในระยะถัดไป
ดังนั้น ฝ่ายวิจัยประเมินว่าโมเมนตัมทองคำเริ่มถูกกดดันอีกครั้งด้วยนโยบายการเงินที่เข้มงวดที่ทั้งตลาดเริ่มกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่สภาวะถดถอย มุมมองทองคำเป็นลบ กรอบการซื้อขาย 1,850-1,920 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้านที่ 1,920 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ให้ทยอยเทขายทำกำไร
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
NL สอยงานใหม่เข้าพอร์ต Backlog ทะลุ 2.5 พันล. - PRAPAT ขยายตลาดบังคลาเทศ
NL คว้างานใหม่ 2 โครงการ หนุน Backlog ทะลุ 2.5 พันล.
TEGH ผงาด! ติดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 ปี 2025
BANPU รุกลงทุนแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย - DOD เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ หนุนรายได้ปีนี้ 800 ล.
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์