Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
MAI
IMH เปิดศูนย์ MRI รพ. IMH สีลม หวังครองแชมป์ย่านสีลม–สาทร
IPO
MASTEC ปิดโรดโชว์ 10 จังหวัด ลุย IPO 79 ล้านหุ้น
บล./บลจ
โกลเบล็ก คัด 5 หุ้นเด่นเด้ง “เที่ยวไทยคนละครึ่ง”
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
ยูโอบี จับมือ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ เสริมแกร่งการลงทุนอาเซียน
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต ส่งมอบโครงการปรับปรุงศูนย์กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ORN ครึ่งปีหลัง 68 โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
Information
ผู้บริหารไทยประกันชีวิต รับโล่เกียรติยศศิษย์เก่าดีเด่น ม.ธรรมศาสตร์
Gossip
MENA หุ้นโลจิสติกส์ ผลงานเจ๋ง!
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
SCB EIC หั่นเป้าจีดีพีแต่ไก่โห่ หวั่นส่งออก – ใช้จ่ายภาครัฐหดตัว
2024-05-28 18:09:00
7338
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - SCB EIC ปรับลดเป้าเศรษฐกิจไทยปี 2567 เหลือ 2.5% จากข้อจำกัดการฟื้นตัวที่มากขึ้น แม้ GDP ไตรมาสแรกออกมาสูงกว่าคาด
เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวดีขึ้นในปี 2567 ใกล้เคียงปีก่อน จากเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีนที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีขึ้นเป็นหลัก โดยอุปสงค์ในประเทศของสหรัฐฯ ยังขยายตัวดี ขณะที่เศรษฐกิจจีนกลับมาขยายตัวดีขึ้นในระยะสั้นตามวัฏจักรภาคการผลิตและการส่งออกที่ฟื้นตัว รวมถึงได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ดี ปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำลงจากปัญหาการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น
สำหรับนโยบายการเงินโลก ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีแนวโน้มจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาส 3 รวมทั้งปี 2 ครั้ง 0.50% ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดว่าจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือน มิ.ย. รวมทั้งปี 4 ครั้ง 1.00% จากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงเร็วกว่าคาด สำหรับธนาคารกลางจีน (PBOC) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องในปีนี้ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจควบคู่กับมาตรการการคลัง ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในช่วงท้ายปีตามแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะกลางที่สูงขึ้นจากประมาณการเดิมของ BOJ
ทั้งนี้ SCB EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 (ไม่รวม Digital wallet) เหลือ 2.5% (เดิม 2.7%) แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกออกมาขยายตัวดีกว่าคาด โดยมีแรงส่งหลักมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของภาคบริการและการท่องเที่ยวจากการทยอยกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน รวมถึงการขยายมาตรการฟรีวีซ่าให้นักท่องเที่ยวอินเดียและไต้หวัน อย่างไรก็ดี มองไปข้างหน้าภาพรวมองค์ประกอบเศรษฐกิจส่วนใหญ่แผ่วลง โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าที่มีแนวโน้มขยายตัวต่ำลง และการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งแม้ว่าจะกลับมาเร่งตัวจากการเร่งรัดเบิกจ่ายหลัง พ.ร.บ. งบประมาณ 2567 ประกาศใช้ล่าช้ากว่าครึ่งปี แต่จะไม่สามารถชดเชยการหดตัวรุนแรงในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ได้
สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2567 เศรษฐกิจไทยจะมีแรงกดดันเพิ่มขึ้นหลายด้าน ได้แก่ การส่งออกขยายตัวจำกัด ส่วนหนึ่งเพราะการส่งออกไทยเริ่มฟื้นตัวไม่สอดคล้องกับปริมาณการค้าโลกมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกสินค้ากลุ่มแผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกล รถยนต์และส่วนประกอบ, ภาคการผลิตที่ฟื้นตัวช้ายังเป็นปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจ โดยยังคงมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องจากสินค้าคงคลังที่ยังอยู่ในระดับสูง และส่วนหนึ่งจะถูกสินค้าจีนตีตลาดจากปัญหา Overcapacity ของภาคอุตสาหกรรมจีน และการบริโภคภาคเอกชนแผ่วลงจากที่เคยขยายตัวได้ดีใน 2 ปีที่ผ่านมา ผลจากรายได้ฟื้นช้าทำให้ครัวเรือนเปราะบางสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 60,000 บาทต่อเดือนซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ที่เริ่มมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย
ขณะที่ SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1 ครั้งปลายปีนี้เหลือ 2.25% และปรับลดอีกครั้งเหลือ 2% ในช่วงต้นปีหน้า จากแรงส่งอุปสงค์ในประเทศในระยะข้างหน้าที่อาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากฐานะครัวเรือนที่ยังเปราะบางและปัญหาเชิงโครงสร้างที่ยังมีอยู่ รวมถึงภาวะการเงินตึงตัวที่จะส่งผลกระทบชัดเจนขึ้น และความเสี่ยงเศรษฐกิจในปีหน้าที่จะปรับเพิ่มขึ้น สำหรับค่าเงินบาทผันผวนสูงและอ่อนค่าเร็วช่วงต้นเดือน เม.ย. จากภาวะ Risk-off ของสงครามอิสราเอล-อิหร่าน และตลาด Price-in การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายช้าลงของ Fed ต่อมาเงินบาทกลับแข็งค่าเร็วหลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด สำหรับในระยะสั้นเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นในกรอบ 35.70-36.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และจะทยอยแข็งค่าต่อได้ในช่วงครึ่งหลังของปี จากแรงหนุนการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติและแนวโน้ม Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ย สำหรับ ณ สิ้นปีนี้มองเงินบาทจะแข็งค่าที่ราว 34.50-35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
NL สอยงานใหม่เข้าพอร์ต Backlog ทะลุ 2.5 พันล. - PRAPAT ขยายตลาดบังคลาเทศ
NL คว้างานใหม่ 2 โครงการ หนุน Backlog ทะลุ 2.5 พันล.
TEGH ผงาด! ติดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 ปี 2025
BANPU รุกลงทุนแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย - DOD เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ หนุนรายได้ปีนี้ 800 ล.
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์