Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
MAI
IMH เปิดศูนย์ MRI รพ. IMH สีลม หวังครองแชมป์ย่านสีลม–สาทร
IPO
MASTEC ปิดโรดโชว์ 10 จังหวัด ลุย IPO 79 ล้านหุ้น
บล./บลจ
โกลเบล็ก คัด 5 หุ้นเด่นเด้ง “เที่ยวไทยคนละครึ่ง”
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
ยูโอบี จับมือ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ เสริมแกร่งการลงทุนอาเซียน
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต ส่งมอบโครงการปรับปรุงศูนย์กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ORN ครึ่งปีหลัง 68 โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
Information
ผู้บริหารไทยประกันชีวิต รับโล่เกียรติยศศิษย์เก่าดีเด่น ม.ธรรมศาสตร์
Gossip
MENA หุ้นโลจิสติกส์ ผลงานเจ๋ง!
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
BAY ปรับลดจีดีพีไทยปี 67 เหลือโต 2.4% ลงทุนรัฐ-เอกชนหดตัว
2024-06-04 17:59:41
225
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - BAY ปรับลดคาดการณ์ตัวเลขจีดีพีของไทยในปี 67 เหลือเติบโต 2.4% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 2.7% รับผลกระทบจากภาคการส่งออกที่อ่อนแอและมีแนวโน้มเติบโตต่ำเพียง 1.8% การอนุมัติ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 67 ที่ล่าช้ากว่าคาด ฉุดการลงทุนภาครัฐในปีนี้หดตัว 1.1% และการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชน
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 ศูนย์วิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY ระบุว่า ไตรมาส 1/2567 เศรษฐกิจไทยรอดพ้นภาวะถดถอยทางเทคนิค โดยจีดีพีไตรมาสแรกของปีขยายตัวดีกว่าคาดที่ 1.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและ 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แรงหนุนจากการบริโภคภาคเอกชนและรายได้จากการท่องเที่ยว แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมยังคงอ่อนแอและไม่กระจายตัวในวงกว้าง สะท้อนจากการหดตัวในองค์ประกอบหลัก เช่น การส่งออกสินค้า การบริโภคสินค้าคงทน การลงทุนภาครัฐ และการบริโภคของภาครัฐ
ทั้งนี้ วิจัยกรุงศรีจึงได้ปรับลดประมาณการการเติบโตของจีดีพีในปี 2567 จาก 2.7% เหลือ 2.4% สาเหตุสำคัญจาก 1.การส่งออกที่อ่อนแอและมีแนวโน้มเติบต่ำเพียง 1.8% จากเดิมคาดโต 2.5% ผลจากปัญหาเชิงโครงสร้างในภาคการผลิตซึ่งทำให้การส่งออกกระจุกตัวในสินค้าประเภทที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ (Low value-added) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง โดยจากการศึกษาของวิจัยกรุงศรีพบว่า ประสิทธิภาพของแรงงาน (Labor productivity) หลังจากเกิดโรคโควิด-19 ลดลงถึง 1.6% ต่อปี (CAGR) และลดลงชัดเจนในหลายภาคอุตสาหกรรม แตกต่างจากช่วงก่อนเกิดโรคโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นราว 4.2% ต่อปี นอกจากนี้ ภาคส่งออกยังเผชิญความเสี่ยงจากสงครามการค้าและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจทวีความรุนแรงในอนาคต
2.การอนุมัติ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ที่ล่าช้ากว่าคาด ส่งผลให้การลงทุนภาครัฐในปีนี้มีแนวโน้มหดตัว -1.1% จากเดิมคาดเติบโต 2.4% และ 3.การลงทุนภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากความอ่อนแอของภาคส่งออกและและความล่าช้าของการลงทุนภาครัฐ แต่เศรษฐกิจไทยยังได้รับแรงหนุนบ้างจากภาคบริการที่เติบโตดีหนุนให้การลงทุนภาคเอกชนในปีนี้เติบโตที่ 3.0% จากเดิมคาดเติบโต 3.3% อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปีนี้ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้ตามปัจจัยเชิงวัฏจักร (Cyclical factors) โดยการใช้จ่ายภาครัฐจะมีบทบาทมากขึ้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่กลางไตรมาส 2 ของปี ประกอบกับภาคท่องเที่ยวจะยังเป็นเครื่องยนต์หลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งได้แรงหนุนจากมาตรการวีซ่าฟรีที่ขยายเพิ่มเป็น 93 ประเทศ โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2567 จะอยู่ที่ 35.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 89% ของช่วงเกิดโควิด-19
สำหรับการบริโภคภาคเอกชน แม้ปรับเพิ่มคาดการณ์เป็นขยายตัวที่ 3.4% จากเดิมคาดขยายตัว 3.1% โดยเป็นผลจากการเติบโตในช่วงไตรมาสแรกที่แข็งแกร่งถึง 6.9% จากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายต่างๆ อาทิ โครงการ Easy E-Receipt อย่างไรก็ตาม การบริโภคมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวหลังสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นในช่วงที่เหลือของปี อีกทั้งยังมีแรงกดดันจากภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและปัญหาภัยแล้งที่กระทบต่อรายได้ภาคเกษตร
ขณะที่มุมมองด้านดอกเบี้ยนโยบายของไทย หลายปัจจัยบ่งชี้ว่าโอกาสปรับลดดอกเบี้ยมีน้อยลงอย่างชัดเจน เนื่องจากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2567 ใกล้เคียงกับที่ ธปท. ได้ประมาณการไว้ และการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะต่อไปน่าจะทยอยปรับดีขึ้นสอดคล้องกับการประเมินของ ธปท. และหลักการดำเนินนโยบายการเงินที่อาศัยการคาดการณ์เศรษฐกิจเป็นเครื่องชี้นำ (Outlook-dependent) นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่มขึ้นสู่กรอบเป้าหมายที่ 1-3% ได้ตั้งแต่ในช่วงกลางปี 2567 และที่สำคัญ ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ตลอดจนสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ของรัฐหลายแห่งได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ซึ่งช่วยลดความจำเป็นสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในวงกว้าง ดังนั้น วิจัยกรุงศรีจึงคาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ในช่วงที่เหลือของปีนี้
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
NL สอยงานใหม่เข้าพอร์ต Backlog ทะลุ 2.5 พันล. - PRAPAT ขยายตลาดบังคลาเทศ
NL คว้างานใหม่ 2 โครงการ หนุน Backlog ทะลุ 2.5 พันล.
TEGH ผงาด! ติดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 ปี 2025
BANPU รุกลงทุนแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย - DOD เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ หนุนรายได้ปีนี้ 800 ล.
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์