Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
NL รับมาตรฐานสากล “ISO 14001:2015” และ “ISO 45001:2018”
MAI
DOD ส่งซิก ปั้นรายได้รวมปี 68 แตะ 800 ล้านบ. ลุ้นจ่ายปันผล
IPO
BKA เคาะ IPO หุ้นละ 1.80 บาท เปิดจองซื้อ 8-10 เม.ย.นี้
บล./บลจ
Webull ปลื้มกระแสตอบรับ ‘Webull Masters 2025’
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB WEALTH ชี้ภาษี ‘ทรัมป์’ ฉุดจีดีพีไทยโต 1.5%
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์จับตาสินค้าเสี่ยงแอบอ้างถิ่นกำเนิดไทย ส่งออกไปสหรัฐฯ
พลังงาน - อุตสาหกรรม
RT ผนึก กรมโยธาฯ ตรวจสอบอาคารในกรุงเทพฯ
คมนาคม - โลจิสติกส์
DMT จับมือ PTG ส่งความห่วงใยช่วงสงกรานต์ 2568
แบงก์ - นอนแบงก์
TTB เปิดกลยุทธ์ลุยกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี - ธุรกิจขนาดกลาง
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
KTC ราศีจับ รับเรตติ้งใหม่ ‘AA’ จากทริสเรตติ้ง
SMEs - Startup
LIMIX ผนึก TIDC ต่อสู้การหลอกลวงกระเป๋าเงินคริปโตด้วย AI
ประกันภัย - ประกันชีวิต
วิริยะประกันภัย ผนึก AUTO1 - Evolt มอบสิทธิพิเศษช่วงสงกรานต์
รถยนต์
Autoclik ชวนตรวจเช็กรถฟรี 37 รายการ ก่อนเดินทางสงกรานต์
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
ORN โชว์ยอดขายเชียงใหม่-ภูเก็ตทะลุ 1.5 พันลบ.
การตลาด
JUBILE เปิดบูติกโฉมใหม่ “The New Era of Jubilee Diamond”
CSR
LIMIX ผนึก TIDC ต่อสู้การหลอกลวงกระเป๋าเงินคริปโตด้วย AI
Information
BAM จัดกิจกรรม “สงกรานต์สืบสานประเพณีไทย ร้อยดวงใจพี่น้องชาว BAM”
Gossip
SNNP ปล่อยโฆษณาชุดใหม่ อัพยอดขาย
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
NER ปี 68 ดันยอดขาย 5 แสนตัน
ธุรกิจประกันชีวิต ครึ่งปีแรก 67 เบี้ยรับรวม 3.1 แสนล้าน โต 3.80%
2024-08-01 14:49:17
131
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - "นุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์" นั่งเก้าอี้ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมเผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตครึ่งปีแรก 67 มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 311,413.63 ล้านบาท เติบโต 3.80%
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งแรกปี 2567 (มกราคม – มิถุนายน) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม (Total Premium) อยู่ที่ 311,413.63 ล้านบาท เติบโต 3.80% เมื่อเทียบกับปี 2566 จำแนกเป็น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ (New Business Premium) 88,332.86 ล้านบาท เติบโต 1.76% และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป (Renewal Premium) 223,080.77 ล้านบาท เติบโต 4.63% และมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรมที่ 83%
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ ประกอบด้วย 1.) เบี้ยประกันภัยรับปีแรก (First Year Premium) 58,266.84 ล้านบาท เติบโต 3.21% , 2.) เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว (Single Premium) 30,066.02 ล้านบาท ลดลง 0.92%
จำแนกเบี้ยประกันภัยรับรวมแยกตามช่องทางการจำหน่าย ดังนี้ 1. การขายผ่านช่องทางตัวแทนประกันชีวิต (Agency) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 155,522.29 ล้านบาท เติบโต 1.98% เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วน 49.94% , 2. การขายผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 122,507.58 ล้านบาท เติบโต 4.28% เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วน 39.34% , 3. การขายผ่านช่องทางนายหน้าประกันชีวิต (Broker) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 18,874.47 ล้านบาท เติบโต 13.42% เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วน 6.06%
4.การขายผ่านช่องทางโทรศัพท์ (Tele Marketing) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 6,269.10 ติดลบ 8.43% เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วน 2.01% , 5. การขายผ่านช่องทางดิจิทัล (Digital) เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 585.12 ล้านบาท เติบโต 21.38% เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วน 0.19% , 6. การขายผ่านช่องทางอื่น (Others) เช่น การขาย Worksite , Walkin การขายผ่านการออกบูธ
การขายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ Direct Mail , Tele Marketing เป็นต้น เบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 7,647.11 ล้านบาท เติบโต 26.72% เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วน 2.46%
สำหรับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมและมีอัตราการเติบโตมากขึ้นในช่วงครึ่งแรก ปี 67 คือ สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ ที่มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 51,450.58 ล้านบาท เติบโต 14.33% คิดเป็นสัดส่วน 16.52% ซึ่งหลัก ๆ มาจากการที่ประชาชนใส่ใจดูแลสุขภาพและเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการทำประกันสุขภาพมากขึ้น เพื่อบริหารความเสี่ยงและรับมือกับค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (Medical Inflation) ขณะที่ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Pension) ก็ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก โดยครึ่งแรก ปี 67 มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 5,699.48. ล้านบาท เติบโต 11.25% หรือ คิดเป็นสัดส่วน 1.83%
โดยในปี 2567 สมาคมประกันชีวิตไทย ได้ประมาณการอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตอยู่ที่ในช่วง 2.0 – 4.0% ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2567 ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้คาดการณ์ไว้ที่ 2.5%
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากกระแสคนรักสุขภาพ อันเนื่องมาจากการที่ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบของการเกิดโรคอุบัติใหม่และมลภาวะ รวมถึงแนวโน้มค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ และ มีการทำประกันสุขภาพมากขึ้น รวมถึงการที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aged Society) อย่างเต็มตัว ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงินช่วงวัยเกษียณกันมากขึ้น เพราะนอกจากเป็นรูปแบบการออมประเภทหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่ำแล้ว ยังได้รับความคุ้มครองชีวิต และ สิทธิการลดหย่อนภาษีที่ทางภาครัฐให้การสนับสนุน
ทั้งนี้ ภาคธุรกิจยังได้มีนโยบายสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี เช่น AI และ Data Analytics เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ การเสนอขาย การพิจารณารับประกันภัย การพิจารณาสินไหม ไปจนถึงการส่งมอบบริการและธุรกรรมหลังการขายที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์ เพื่อยกระดับความพึงพอใจของผู้เอาประกันภัยให้เพิ่มสูงขึ้น
ในขณะเดียวกัน ธุรกิจประกันชีวิตยังคงต้องติดตามแนวโน้ม และความผันผวน ของสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอัตราดอกเบี้ย สถานการณ์เงินเฟ้อ และตลาดหุ้นไทย ที่ส่งผลกระทบต่อการออม การลงทุน และภาระหนี้สินภาคครัวเรือนที่ส่งผลต่อการใช้จ่ายของภาคประชาชน รวมถึงต้องติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเกิดโรคอุบัติใหม่ เพราะส่งผลต่อความต้องการและความเชื่อมั่นของภาคประชาชนที่มีต่อธุรกิจประกันชีวิตโดยตรง
ดังนั้น สมาคมประกันชีวิตไทยจึงมีแผนดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อปัจจัยท้าทายรอบด้าน โดยนำแนวคิดการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน (ESG) มาประยุกต์ใช้ในการประกอบการพิจารณาลงทุน การออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต รวมถึงการบริการที่สามารถตอบโจทย์ต่อความต้องการภาคประชาชนและสังคมในทุกด้าน ทั้งมิติของสิ่งแวดล้อม (Environment) มิติของสังคม (Social) และมิติของการกำกับดูแล (Governance) เพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตมีหลักธรรมมาภิบาลสามารถเติบโตอย่างความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้สมาคมฯ มีนโยบายในการสนับสนุนในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้พัฒนากระบวนการต่าง ๆ ของธุรกิจประกันชีวิต เพื่อยกระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้เอาประกันภัยให้มากขึ้น มีการส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชน เช่น เรื่องการรู้เท่าทันของเทคโนโลยีและภัยไซเบอร์ เพื่อช่วยปกป้องผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย รวมถึงมีนโยบายเชิงรุกในการปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบัน โดยทางสมาคม ฯ จะเป็นแกนกลางในการประสานพันธกิจทั้งในรูปแบบประชุมหารือรับฟังความคิดเห็นระหว่างบริษัทประกันชีวิต กับ หน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อยที่มีคณะกรรมการบริหารสมาคมเป็นประธานเพื่อติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งผลักดันระบบการจัดสอบและอบรมความรู้ ระบบออกใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทั้งบริษัทสมาชิก และ บุคคลทั่วไปที่สนใจสมัครสอบเข้าสู่เส้นทางอาชีพตัวแทนประกันชีวิต
ที่สำคัญ สมาคมฯ มีนโยบายที่มุ่งให้แต่ละบริษัทประกันชีวิต มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงการบริหารและจัดการความเสี่ยงอย่างรอบด้าน ทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย และมีฐานะทางการเงินที่มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนตามความเสี่ยง (CAR Ratio) สูงกว่าระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามเกณฑ์ที่กำหนด (Supervisory CAR) เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมั่นใจว่า บริษัทประกันชีวิตสามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันของกรมธรรม์ประกันภัยได้ทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย และพร้อมที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยจนกว่าจะครบกำหนดสัญญา ดังจะเห็นได้จาก ในไตรมาสที่ 1/2567 จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.)
NL รับมาตรฐานสากล “ISO 14001:2015” และ “ISO 45001:2018”
INET ย้ำ ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูล ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว
PTG คาดปี 68 กำไรเติบโต 12% - ORN Q1/68 ยอดขาย 1,572 ลบ.
WSOL รีเซ็ต ‘SABUY’ ทั้งระบบ ลุยสางหนี้ - ฟื้นธรรมาภิบาล
ดัชนีหุ้นไทยเดือน มี.ค. ปรับลดลง 3.8%
TEGH โบรกฯ เชียร์ 'ซื้อ' คงเป้า 5 บ. - NER คว้า CAC ระดับ 3 ดาว ตอกย้ำ! องค์กรโปร่งใส