Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
MAI
IMH เปิดศูนย์ MRI รพ. IMH สีลม หวังครองแชมป์ย่านสีลม–สาทร
IPO
MASTEC ปิดโรดโชว์ 10 จังหวัด ลุย IPO 79 ล้านหุ้น
บล./บลจ
โกลเบล็ก คัด 5 หุ้นเด่นเด้ง “เที่ยวไทยคนละครึ่ง”
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
ยูโอบี จับมือ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ เสริมแกร่งการลงทุนอาเซียน
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต ส่งมอบโครงการปรับปรุงศูนย์กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ORN ครึ่งปีหลัง 68 โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
Information
ผู้บริหารไทยประกันชีวิต รับโล่เกียรติยศศิษย์เก่าดีเด่น ม.ธรรมศาสตร์
Gossip
MENA หุ้นโลจิสติกส์ ผลงานเจ๋ง!
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
“สุริยะ” หวังดึงญี่ปุ่นหนุน การพัฒนาคมนาคมขนส่งทุกมิติ
2024-09-04 11:53:58
178
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - “สุริยะ” เล็งดึงญี่ปุ่นสนับสนุนโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่สนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมหารือการพัฒนาคมนาคมขนส่งทุกมิติ เชื่อม บก-ราง-น้ำ-อากาศ ดันไทยสู่ฮับอาเซียน
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2567 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความสำคัญต่อภูมิภาคเราเป็นอย่างมาก ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก เป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีระดับโลก ในวันที่ 3 กันยายน 2567 จึงเป็นโอกาสอันดีที่ได้ให้การต้อนรับและหารือกับสมาชิกวุฒิสภาญี่ปุ่นในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย และเยี่ยมชมโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคมที่ได้รับการสนับสนุนด้าน Official Development Assistance (ODA) จากรัฐบาลญี่ปุ่น
ทั้งนี้ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือด้าน ODA ทางวิชาการจากญี่ปุ่นผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ครั้งแรกเมื่อปี 2497 ซึ่งเป็นเวลากว่า 70 ปี ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนาท่าอากาศยานทั่วประเทศ ได้แก่ โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ (ทิศใต้) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 (Terminal 3) ของท่าอากาศยานดอนเมือง โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานล้านนา เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาท่าอากาศยานจะทำให้สามารถรองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยในการเพิ่มนักท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยในอนาคตอาจมีความจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุน ODA จากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยานของประเทศไทย
ด้านระบบราง ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตเมือง และมีนโยบายปรับเปลี่ยนระบบการขนส่งจากถนนมาสู่ระบบราง จึงได้มีการเร่งพัฒนาโครงการรถไฟใต้ดินและรถไฟรางคู่ การสนับสนุนองค์ความรู้และเงินกู้จากญี่ปุ่นถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านในระบบการขนส่งของไทยจากถนนไปสู่ระบบรางเป็นไปอย่างราบรื่น โดยที่ผ่านมาญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนโครงการด้านระบบรางของประเทศไทย เช่น สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (เฉลิมรัชมงคล) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ) เป็นต้น
สำหรับ ODA หมายถึง ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance) ซึ่งเป็นความช่วยเหลือที่ประเทศพัฒนาแล้วมอบให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) ความช่วยเหลือแบบเงินให้เปล่า และความร่วมมือทางวิชาการ (Grant and Technical Cooperation) 2) ความช่วยเหลือทางการเงิน หรือเงินกู้ผ่อนปรน (Financial Assistance and Soft Loan) และ 3) เงินบริจาคหรือเงินสนับสนุนแก่องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรพหุภาคี และองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Contribution to International Organizations) โดยประเทศที่มอบความช่วยเหลือด้าน ODA มักเป็นประเทศในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development) หรือ OECD เนื่องจากมีข้อบังคับในการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา
นายสุริยะ กล่าวทิ้งท้ายว่า กระทรวงคมนาคมขอขอบคุณรัฐบาลญี่ปุ่นที่ให้ความช่วยเหลือประเทศไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของเงินกู้ เงินให้เปล่า ผ่านทางผู้เชี่ยวชาญหรือความช่วยเหลือทางวิชาการต่าง ๆ มายังหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงคมนาคม ซึ่งถือเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อการพัฒนาไปสู่เป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน
ทั้งนี้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ให้การต้อนรับสมาชิกวุฒิสภาญี่ปุ่น นำโดย นายนากานิชิ ยูสุเกะ สมาชิกวุฒิสภาจากจังหวัดโทกุชิม่า และจังหวัดโคจิ พร้อมคณะ ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย และเยี่ยมชมโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคมที่ได้รับการสนับสนุนด้าน ODA จากรัฐบาลญี่ปุ่น ในวันที่ 3 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
NL สอยงานใหม่เข้าพอร์ต Backlog ทะลุ 2.5 พันล. - PRAPAT ขยายตลาดบังคลาเทศ
NL คว้างานใหม่ 2 โครงการ หนุน Backlog ทะลุ 2.5 พันล.
TEGH ผงาด! ติดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 ปี 2025
BANPU รุกลงทุนแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย - DOD เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ หนุนรายได้ปีนี้ 800 ล.
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์