Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
TSR เคลียร์! ทุกข้อสงสัย กรณีผู้สอบไม่แสดงความเห็นต่องบปี 67
MAI
APM ยื่นไฟลิ่งหุ้นกู้ DHOUSE มูลค่าไม่เกิน 120 ล.
IPO
BKA เคาะ IPO หุ้นละ 1.80 บาท เปิดจองซื้อ 8-10 เม.ย.นี้
บล./บลจ
SCBAM ประกาศแผนธุรกิจปี 68 ปั้นAUM สู่ 2 ล้านล้าน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
กรุงศรี วางกรอบเงินบาท 33.70-34.30 จับตากำแพงภาษีสหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. ร่วมงาน “พาแบงก์รัฐ มาช่วยราษฎร์” ดันเศรษฐกิจท้องถิ่น
พลังงาน - อุตสาหกรรม
‘ไทยออยล์ - KTB’ ลงนาม MOU ธุรกรรมบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SINO ขยายคลังสินค้าหลังใหม่ในนิคมฯ แหลมฉบัง
แบงก์ - นอนแบงก์
ไทยเครดิต เปิดตัว “น้องตังค์โต” มาสคอตการเงิน
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
PUEAN ผุดหุ้นกู้มีประกัน ดอกเบี้ยคงที่ 7.50% ต่อปี
SMEs - Startup
World นำร่องในไทย 3 แห่ง เปิดตัวเทคโนโลยีพิสูจน์ความเป็นมนุษย์
ประกันภัย - ประกันชีวิต
TQM Home Insurance ประกันภัยบ้าน คุ้มครองมากกว่าแค่อัคคีภัย
รถยนต์
Autoclik ชวนตรวจเช็กรถฟรี 37 รายการ ก่อนเดินทางสงกรานต์
ท่องเที่ยว
BEYOND ปี 68 ดัน รายได้โรงแรมแตะ 3,700 ล้านบ.
อสังหาริมทรัพย์
MK ประกาศ! ชำระคืนหุ้นกู้ 3,383 ล้านบ. ตามกำหนด
การตลาด
TTB ร่วมเปิดโชว์การแสดงระดับโลก Disney On Ice
CSR
World นำร่องในไทย 3 แห่ง เปิดตัวเทคโนโลยีพิสูจน์ความเป็นมนุษย์
Information
MEDEZE แบ่งปันความสุขแก่เด็ก บ้านศรีนครินทร์ มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม
Gossip
DTCENT จัดโปรฯรับสงกรานต์ อัพยอดขาย
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
NER ปี 68 ดันยอดขาย 5 แสนตัน
TU ซื้อคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน 6 พันลบ.
2024-10-09 15:19:53
140
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - TU เตรียมซื้อคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนในเดือนพ.ย. นี้ จำนวน 6,000 ล้านบาท โดยกำหนดปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ในวันที่ 15 พ.ย. 67 เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ในการได้รับการไถ่ถอน จ่ายคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งกำหนดวันไถ่ถอนหุ้นกู้เป็นวันที่ 29 พ.ย. 67 สะท้อนความสามารถในการบริหารทางการเงินที่แข็งแกร่ง
เมื่อวันที่ นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU เปิดเผยว่า การเดินหน้าซื้อคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน พร้อมจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ถือหุ้นกู้ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการบริหารต้นทุนทางเงินทุนของกลุ่มให้ดีขึ้นโดยสามารถลดต้นทุนทางการเงินได้ประมาณ 150 ล้านบาทต่อปี แสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องและสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ตลอดจนความสามารถในการบริหารจัดการและชำระคืนหุ้นกู้ได้ตามแผนที่วางเอาไว้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน
นอกจากนี้ ศูนย์บริหารเงินของไทยยูเนี่ยน (Global Treasury Center) ซึ่งมีหน้าที่หลักในการบริหารสภาพคล่องและการบริหารเงินสดของบริษัท การจัดหาแหล่งเงินทุน ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงทางการเงินซึ่งต้องพิจารณาปัจจัยทางเศรษฐกิจแบบรอบด้าน เพื่อวางแผนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้าได้อย่างทันท่วงที ตัวอย่างเช่น การป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน (Hedging) ซึ่งถึงแม้ว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นอย่างมากในขณะนี้ ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะการเงินของเราในระยะสั้น แต่ในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยได้
โดยการซื้อคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนในครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดอันดับเครดิตองค์กร โดย ทริสเรทติ้ง เมื่อเดือนก.ย. 2567 ที่ผ่านมา ไทยยูเนี่ยนได้รับการประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน จาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ที่ระดับ “A+” ต่อเนื่อง พร้อมคงอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ซึ่งไม่มีประกันและไถ่ถอนเมื่อเลิกกิจการ (Hybrid Debentures) ของบริษัทที่ระดับ “A-” แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” เพราะทริสเรทติ้งมองว่าไทยยูเนี่ยนมีศักยภาพจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีแบรนด์ที่แข็งแกร่งกระจายตัวอยู่ในหลายภูมิภาค ทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมีการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ อาทิ อุตสาหกรรมส่วนประกอบอาหาร และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมทางธุรกิจของไทยยูเนี่ยน
TSR เคลียร์! ทุกข้อสงสัย กรณีผู้สอบไม่แสดงความเห็นต่องบปี 67
SVI ประเมิน ‘ทรัมป์’ ขึ้นกำแพงภาษีคู่ค้า กระทบไม่มาก
TU อนุมัติเพิ่มวงเงิน "ซื้อหุ้นคืน" เป็น 5,000 ล้านบาท
PIN ทุ่มงบ 1,500 ล้านบาท ขยายนิคมฯ โครงการ3 - KUN เจาะ 3 ทำเลทอง ดันรายได้โต 15%
PLUS "ทรัมป์" ขึ้นภาษีนำเข้า ไม่กระทบธุรกิจ
TMAN บุกธุรกิจดิสทริบิวเตอร์ครบวงจร