Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
PLUS "ทรัมป์" ขึ้นภาษีนำเข้า ไม่กระทบธุรกิจ
MAI
APM ยื่นไฟลิ่งหุ้นกู้ DHOUSE มูลค่าไม่เกิน 120 ล.
IPO
LTMH เคาะราคาที่ 5.00 บ. คาดเทรด 2 เม.ย. 68
บล./บลจ
SCBAM ประกาศแผนธุรกิจปี 68 ปั้นAUM สู่ 2 ล้านล้าน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
กรุงศรี วางกรอบเงินบาท 33.70-34.30 จับตากำแพงภาษีสหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. ลุยช่วย SMEs เว้นค่าธรรมเนียม 6 เดือน พักหนี้ 3 งวด
พลังงาน - อุตสาหกรรม
‘ไทยออยล์ - KTB’ ลงนาม MOU ธุรกรรมบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
คมนาคม - โลจิสติกส์
“สุริยะ” กำชับ AOT เตรียมพร้อมรับสงกรานต์ 68
แบงก์ - นอนแบงก์
ไทยเครดิต หนุนไมโครเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุน
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘NestiFly’ ชวนสัมผัสแพลตฟอร์มสินเชื่อ P2P Lending รายแรกของไทย
SMEs - Startup
World นำร่องในไทย 3 แห่ง เปิดตัวเทคโนโลยีพิสูจน์ความเป็นมนุษย์
ประกันภัย - ประกันชีวิต
คปภ. เปิดตัวระบบ Open Insurance
รถยนต์
Harley-Davidson® ปลุกจิตวิญญาณแห่งการขับขี่ เปิดตัวมอเตอร์ไซค์ใหม่ 6 รุ่น
ท่องเที่ยว
BEYOND ปี 68 ดัน รายได้โรงแรมแตะ 3,700 ล้านบ.
อสังหาริมทรัพย์
BAM เปิดสำนักงานรองรับธุรกิจลูกค้าโซนปทุมธานี – กรุงเทพฯ ตอนเหนือ
การตลาด
‘โอสถสภา’ เดินหน้าธุรกิจอย่างมั่นคงท่ามกลางความไม่แน่นอน
CSR
World นำร่องในไทย 3 แห่ง เปิดตัวเทคโนโลยีพิสูจน์ความเป็นมนุษย์
Information
กสิกรไทย จัดสัมมนาใหญ่ เจาะลึก 5 ปัจจัยเปลี่ยนเกมการลงทุนโลก
Gossip
SM ใจดี! ขยายโปรฯ ดับร้อน 50%
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
NER ปี 68 ดันยอดขาย 5 แสนตัน
SCB EIC จับสัญญาณ กนง. หั่นดอกเบี้ยสู่ 2.00% ในQ1/68
2024-10-17 20:00:17
340
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – SCB EIC คาด กนง. ปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งภายในไตรมาส 1/68 เพื่อผ่อนคลายภาวะการเงินเพิ่มเติม โดยภาพเศรษฐกิจและภาวะสินเชื่อชะลอตัวจะยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงความน่ากังวลของสถานการณ์จะเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า ขณะที่ภาวะการเงินโลกจะเริ่มผ่อนคลายลง
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 นายนนท์ พฤกษ์ศิริ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 5 ต่อ 2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.25% โดย 2 เสียงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.50% เนื่องจาก กนง. เห็นว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงนี้จะไม่ได้ฉุดรั้งกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ (Debt deleveraging) ท่ามกลางภาวะสินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง (รูปที่ 1) และเป็นระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังอยู่ในขอบเขตสอดคล้องกับศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย กล่าวคือเป็นระดับที่ไม่ได้กระตุ้นหรือชะลอเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ SCB EIC มองว่าการสื่อสารของ กนง. ไม่ได้ Dovish ลงจากการประชุมครั้งก่อนมากนัก เพราะยังให้ความสำคัญกับเสถียรภาพระบบการเงิน การรักษา Policy space ของนโยบายการเงิน และมุมมองอัตราดอกเบี้ยไม่ควรต่ำเกินไปจนเป็นการสะสมความเสี่ยงในระยะยาว ในส่วนของแนวโน้มเศรษฐกิจการเงิน กนง. ยังมองภาพใกล้เคียงเดิม โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะขยายตัว 2.7% และในปี 2568 จะขยายตัว 2.9% ใกล้เคียงประมาณการในการประชุมเดือนมิ.ย. ที่ 2.6% และ 3.0% ตามลำดับ ขณะที่ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปีนี้ โดยประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 0.5% และ 1.2% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ ลดลงจากประมาณการเดิมในเดือนมิ.ย. ที่ 0.6% และ 1.3% เล็กน้อย ส่วนภาวะการเงินตึงตัวขึ้นตามการแข็งค่าของเงินบาท และปริมาณสินเชื่อโดยรวมที่เติบโตชะลอลง โดยกลุ่มธุรกิจ SMEs เผชิญภาวะสินเชื่อหดตัวสูงขึ้น ขณะที่คุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลงต่อเนื่อง โดย กนง. จะติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อตลาดสินเชื่อและเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม SCB EIC มอง กนง. จะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับภาวะการเงินเป็นหลัก โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้เป็นการปรับลดเพื่อผ่อนคลายภาวะการเงิน ท่ามกลางภาวะสินเชื่อที่เติบโตชะลอลงและคุณภาพสินเชื่อทยอยปรับด้อยลง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ภาวะการเงินตึงตัวจะส่งผลกดดันเศรษฐกิจมากขึ้นในระยะต่อไป ซึ่งสะท้อนในการสื่อสารของ กนง. รอบนี้ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยพยายามรักษาสถานะความเป็นกลาง (Neutral stance) ของนโยบายการเงินไว้ตามแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ กนง. ประเมินว่ายังใกล้เคียงกับการประชุมครั้งก่อน
นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญปัจจัยเสถียรภาพระบบการเงินเช่นเดียวกับการประชุมครั้งก่อน ๆ โดย กนง. มองว่าอัตราดอกเบี้ยควรมีบทบาทในกระบวนการ Debt deleveraging โดยไม่ควรต่ำเกินไปจนเป็นการกระตุ้นการก่อหนี้ครัวเรือนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินในระยะยาว จึงทำให้จังหวะการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้าขึ้นอยู่กับผลกระทบของภาวะการเงินตึงตัวต่อกิจกรรมเศรษฐกิจเป็นหลัก
ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินว่าจะเห็น กนง. ปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งภายในไตรมาส 1/2568 เพื่อผ่อนคลายภาวะการเงินเพิ่มเติม โดยภาพเศรษฐกิจและภาวะสินเชื่อชะลอตัวจะยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง ความน่ากังวลของสถานการณ์จะเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า แต่จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ภาวะการเงินโลกจะเริ่มผ่อนคลายลง โดย 1.สถานการณ์สินเชื่อ SCB EIC ประเมินว่า นอกจากความกังวลของ กนง. เกี่ยวกับสินเชื่อธุรกิจ SMEs แล้ว การขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนจะเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติม จากมาตรฐานการให้สินเชื่อครัวเรือนของสถาบันการเงินซึ่งจะยังมีแนวโน้มเข้มงวดขึ้น สอดคล้องกับคุณภาพสินเชื่อครัวเรือนที่ปรับด้อยลงอย่างต่อเนื่อง
2.ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทย SCB EIC ประเมินว่าความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะปรับสูงขึ้นตามความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่ปรับเพิ่มขึ้น ทั้งปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ หลังการเลือกตั้งในปีนี้ ซึ่งอาจเป็นแรงกดดันต่อภาคการส่งออกสินค้าไทยได้ แม้ปัจจุบันการส่งออกจะกลับมาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยท่ามกลางอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอลง และ 3.ภาวะการเงินโลกจะผ่อนคลายลงต่อเนื่อง ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางหลัก สภาพแวดล้อมทางการเงินโลกจะเอื้อต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยมากขึ้น
SCB EIC จึงประเมินว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งไปอยู่ที่ 2.00% ภายในไตรมาส 1/2568
PLUS "ทรัมป์" ขึ้นภาษีนำเข้า ไม่กระทบธุรกิจ
TMAN บุกธุรกิจดิสทริบิวเตอร์ครบวงจร
PIN ทุ่มงบ 1,500 ล้านบ. ขยายพื้นที่นิคมฯ โครงการ 3
CREDIT คลอดสินเชื่อ SME กล้าสู้ - TEAMG คว้างานบิ๊กโปรเจ็กต์ AOT มูลค่า 200 ล้านบาท
RT ยืนโครงการก่อสร้าง แข็งแรง-ปลอดภัย
PCE กูรูหุ้นเชียร์ "ซื้อ" เคาะเป้าสูง 4.20 บ./หุ้น