Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
TSR เคลียร์! ทุกข้อสงสัย กรณีผู้สอบไม่แสดงความเห็นต่องบปี 67
MAI
APM ยื่นไฟลิ่งหุ้นกู้ DHOUSE มูลค่าไม่เกิน 120 ล.
IPO
BKA เคาะ IPO หุ้นละ 1.80 บาท เปิดจองซื้อ 8-10 เม.ย.นี้
บล./บลจ
SCBAM ประกาศแผนธุรกิจปี 68 ปั้นAUM สู่ 2 ล้านล้าน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
กรุงศรี วางกรอบเงินบาท 33.70-34.30 จับตากำแพงภาษีสหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. ร่วมงาน “พาแบงก์รัฐ มาช่วยราษฎร์” ดันเศรษฐกิจท้องถิ่น
พลังงาน - อุตสาหกรรม
‘ไทยออยล์ - KTB’ ลงนาม MOU ธุรกรรมบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SINO ขยายคลังสินค้าหลังใหม่ในนิคมฯ แหลมฉบัง
แบงก์ - นอนแบงก์
ไทยเครดิต เปิดตัว “น้องตังค์โต” มาสคอตการเงิน
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
PUEAN ผุดหุ้นกู้มีประกัน ดอกเบี้ยคงที่ 7.50% ต่อปี
SMEs - Startup
World นำร่องในไทย 3 แห่ง เปิดตัวเทคโนโลยีพิสูจน์ความเป็นมนุษย์
ประกันภัย - ประกันชีวิต
TQM Home Insurance ประกันภัยบ้าน คุ้มครองมากกว่าแค่อัคคีภัย
รถยนต์
Autoclik ชวนตรวจเช็กรถฟรี 37 รายการ ก่อนเดินทางสงกรานต์
ท่องเที่ยว
BEYOND ปี 68 ดัน รายได้โรงแรมแตะ 3,700 ล้านบ.
อสังหาริมทรัพย์
MK ประกาศ! ชำระคืนหุ้นกู้ 3,383 ล้านบ. ตามกำหนด
การตลาด
TTB ร่วมเปิดโชว์การแสดงระดับโลก Disney On Ice
CSR
World นำร่องในไทย 3 แห่ง เปิดตัวเทคโนโลยีพิสูจน์ความเป็นมนุษย์
Information
MEDEZE แบ่งปันความสุขแก่เด็ก บ้านศรีนครินทร์ มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม
Gossip
DTCENT จัดโปรฯรับสงกรานต์ อัพยอดขาย
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
NER ปี 68 ดันยอดขาย 5 แสนตัน
KBANK ผลงานแกร่ง อวดกำไร 9 เดือนพุ่ง 15%
2024-10-21 22:47:13
953
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – KBANK ประกาศงบการเงินไตรมาส 3/67 มีกำไรสุทธิ 11,965 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน ขณะที่กำไรงวด 9 เดือนปี 67 อยู่ที่ 38,104 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.41% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รับแรงหนุนจาการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย และรายได้ค่าธรรมเนียม
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2567 นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ผลประกอบการของธนาคารในงวดไตรมาส 3/2567 มีกำไรสุทธิ 11,965 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 11,282 ล้านบาท แต่ลดลง 5.43% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่มีกำไรสุทธิ 12,653 ล้านบาท ซึ่งหลักๆเกิดจากการลดลงของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย โดยส่วนใหญ่มาจากธุรกิจประกัน
อย่างไรก็ตาม รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น โดยส่วนหนึ่งมาจากค่าธรรมเนียมรับของบริการการค้าระหว่างประเทศ และค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ประกอบกับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังคงฟื้นตัวอย่างไม่ทั่วถึง และธนาคารมีการยกระดับกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยสินเชื่อใหม่อย่างมีคุณภาพ โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (NIM) อยู่ที่ 3.61% ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิที่เพิ่มจากการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนแห่งหนึ่งซึ่งส่งผลต่อธนาคารเพียงในระยะสั้น ซึ่งหากไม่รวมรายการดังกล่าว NIM จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 21,501 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนจากการที่ธนาคารยังคงบริหารจัดการค่าใช้จ่าย และการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) มีจำนวน 11,652 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นไปตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สำรองฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสม สะท้อนสถานการณ์ปัจจุบัน และรองรับความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ
ขณะที่ผลประกอบการงวด 9 เดือน ปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 85,159 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.75% เป็นผลจากรายได้จากการดำเนินงานสุทธิเติบโต 5.29% สูงกว่าค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ซึ่งเพิ่มขึ้น 6.02% ตามการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ แม้ว่าการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) จะลดลงเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน แต่ธนาคารยังคงตั้งสำรองฯ ตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง รองรับความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ จึงได้ตั้งสำรองฯในไตรมาส 3/2567 จำนวน 11,652 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ส่งผลให้กำไรสุทธิมีจำนวน 38,104 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.41% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ในส่วนของรายได้จากการดำเนินงานสุทธิมีจำนวน 149,260 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.29% โดยมีรายการหลักจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่มีจำนวน 113,031 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.14% ตามภาวะตลาด โดยในช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้ออกมาตรการต่าง ๆ รวมทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง และลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ลูกค้าสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ NIM อยู่ที่ 3.66% รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิมีจำนวน 24,809 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.98% เติบโตหลัก ๆ จากค่าธรรมเนียมรับจากการบริหารความมั่งคั่งผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ครอบคลุมทั้งของธนาคารและบริษัทย่อย รวมทั้งพันธมิตร และค่าธรรมเนียมรับจากการให้บริการด้านเครดิต
นอกจากนี้ มีการเพิ่มขึ้นของกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน และรายได้จากการลงทุน รวมทั้งรายได้จากการปริวรรตเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ทำให้รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 36,229 ล้านบาท เติบโต 12.64% ในขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 64,101 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.02% จากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการขยายช่องทางการให้บริการลูกค้า และค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่สอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มตามการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ โดยธนาคารและบริษัทย่อยยังคงมุ่งเน้นการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่า และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 42.95% ใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีก่อน
โดย ณ วันที่ 30 ก.ย. 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,367,025 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2566 จำนวน 83,469 ล้านบาท หรือ 1.95% หลัก ๆ จากรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินด้านสินทรัพย์มีจำนวน 663,457 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 94,449 ล้านบาท หรือ 16.60% จากการบริหารสภาพคล่องของธนาคาร อย่างไรก็ตาม เงินให้สินเชื่อสุทธิมีจำนวน 2,321,531 ล้านบาท ลดลงจำนวน 49,961 ล้านบาท หรือ 2.11% จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวอย่างไม่ทั่วถึง ประกอบกับการยกระดับกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยสินเชื่อใหม่อย่างมีคุณภาพสะท้อนการบริหารความสมดุลของความเสี่ยงและผลตอบแทนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
นอกจากนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของธนาคารในการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ให้มีประสิทธิผลสูงสุดอย่างระมัดระวังรอบคอบ สำหรับเงินให้สินเชื่อธุรกิจที่ไม่มีหลักประกันบางส่วนที่หยุดดำเนินการ ธนาคารจึงมีแผนการขายในอนาคตและได้โอนย้ายไปเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน รวมทั้งมีแผนให้บริษัทย่อยของธนาคารจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับบมจ. บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (BAM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามที่ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว
สำหรับเงินรับฝากมีจำนวน 2,770,120 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 70,558 ล้านบาท หรือ 2.61% ส่งผลให้อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ 87.85% ทั้งนี้ หากไม่รวมปริมาณเงินรับฝากที่เพิ่มในระยะสั้น อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน สำหรับเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) อยู่ที่ระดับ 3.20% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังคงติดตามคุณภาพสินเชื่ออย่างใกล้ชิดจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น และพิจารณาดำเนินการตั้งสำรองฯ อย่างเพียงพอตามหลักความระมัดระวัง ทำให้อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) อยู่ที่ 150.72% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ 20.58%
TSR เคลียร์! ทุกข้อสงสัย กรณีผู้สอบไม่แสดงความเห็นต่องบปี 67
SVI ประเมิน ‘ทรัมป์’ ขึ้นกำแพงภาษีคู่ค้า กระทบไม่มาก
TU อนุมัติเพิ่มวงเงิน "ซื้อหุ้นคืน" เป็น 5,000 ล้านบาท
PIN ทุ่มงบ 1,500 ล้านบาท ขยายนิคมฯ โครงการ3 - KUN เจาะ 3 ทำเลทอง ดันรายได้โต 15%
PLUS "ทรัมป์" ขึ้นภาษีนำเข้า ไม่กระทบธุรกิจ
TMAN บุกธุรกิจดิสทริบิวเตอร์ครบวงจร