Phones





“สุริยะ” ขานรับนายกฯ แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5

2025-01-24 13:14:42 115



นิวส์ คอนเน็คท์ - “สุริยะ” ขานรับข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี เดินหน้าแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จับมือเอกชนรถขนส่งสาธารณะ ให้ประชาชนใช้ฟรี 7 วัน หวังลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล สั่งการทุกหน่วยงานที่มีการก่อสร้างเข้าคุมเข้มทุกกระบวนการ 

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2568 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่ นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ได้มีความห่วงใยประชาชน จากสถานการณ์ฝุ่นละออง 2.5 (PM2.5) ของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม เข้าดูแลบริหารจัดการ ด้านโครข่ายคมนาคม เพื่อลดปัญหา PM 2.5 

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมพร้อมด้วยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ตนมีความเป็นห่วงประชาชนเป็นอย่างมาก จึงได้เร่งดำเนินการทุกๆด้าย เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวกลับสู่ภาวะปกติ ดังนั้นจึงได้สั่งการ และ มอบหมายนโยบายให้กับทุกหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯ ดำเนินการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนโดยทันที 

ล่าสุดได้เจรจากับผู้ประกอบการด้านรถไฟฟ้า ที่ให้บริการประชาชน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้แก่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด (มหาชน) และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดย จะให้ประชาชน ได้ใช้บริการรถไฟฟ้าฟรีทุกสาย ในระยะ 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม ถึง 31 มกราคม 2568 สำหรับรายได้ของทางเอกชนที่สูญเสียไปนั้น ทางรัฐบาลจะชดเชยตามค่าเฉลี่ย 7 วัน รวมประมาณ 140 ล้านบาท โดยมาจาก งบกลาง 

นอกจากนั้นแล้ว เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้รถสาธารณะ และลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล จึงให้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( ขสมก.) ดำเนินการด้าน ให้ประชาชนใช้บริการ รถเมย์ ฟรี ทุกสาย ในระยะเวลา 7 วันเช่นกัน ตั้งแต่ วันที่ 25 มกราคม ถึง 31 มกราคม 2568 

อีกทั้งยังมอบหมายให้หน่วนงาน กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ลงพื้นที่ตรวจวัดค่าควันดำรถโดยสารสารธารณะและรถบรรทุก เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก Pm2.5 ในกรุงเทพมหานคร จำนวน8 จุด ประกอบด้วย 1.บริเวณหน้าพิวเจอพาร์ครังสิต 2.ท่าเรือคลองเตย 3.หน้าสวนจตุจักร ถ.พหลโยธิน 4. ถ.บางนา-ตราด กม.1 5. ถ.สุวินทวงศ์ หน้าการปะปามีนบุรี 6. ถ.พระรามสอง ขาออก หน้าแขวงการทางบางขุนเทียน 7.ถ.รังสิต-นครนายก กม.4 หน้าโลตัส 8. ถ.บรมราชชนนี ขาเข้า -ออก โดยหลังจากนี้ จะให้เจ้าพนักงานกระจายตามจุดต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าควบคุมมลภาวะทางรถยนต์ให้ได้มากที่สุด 

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม พร้อมที่จะพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะหลักให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ขับเคลื่อนการพัฒนาเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะรอง (Feeder) ในการเชื่อมต่อการเดินทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างมีศักยภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อโอกาสของประเทศไทย และเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทุกด้าน 

นอกจากนี้ ยังได้ให้ กรมทางหลวง(ทล.) กรมทางหลวงชนบท(ทช.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟท.) และหน่วยงานที่มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมต่าง ๆ เข้าบริหารจัดการพื้นที่ทันที เบื้องต้นให้ ผู้รับเหมาฉีดพรมน้ำ ทำความสะอาดล้อรถที่เข้า – ออกพื้นที่ก่อสร้าง กวาดล้างถนนที่เปื้อนดินจากการก่อสร้าง ปิดคลุมวัสดุก่อสร้างในการเก็บกองและขนย้าย และจัดการขยะอย่างเหมาะสม ห้ามเผาเด็ดขาด