Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
MAI
IMH เปิดศูนย์ MRI รพ. IMH สีลม หวังครองแชมป์ย่านสีลม–สาทร
IPO
MASTEC ปิดโรดโชว์ 10 จังหวัด ลุย IPO 79 ล้านหุ้น
บล./บลจ
โกลเบล็ก คัด 5 หุ้นเด่นเด้ง “เที่ยวไทยคนละครึ่ง”
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
ยูโอบี จับมือ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ เสริมแกร่งการลงทุนอาเซียน
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต ส่งมอบโครงการปรับปรุงศูนย์กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ORN ครึ่งปีหลัง 68 โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
Information
ผู้บริหารไทยประกันชีวิต รับโล่เกียรติยศศิษย์เก่าดีเด่น ม.ธรรมศาสตร์
Gossip
MENA หุ้นโลจิสติกส์ ผลงานเจ๋ง!
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
SCB EIC หวังศก.ครึ่งปีแรกมีแรงส่งจากมาตรการรัฐ
2025-02-03 19:30:53
665
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - SCB EIC มองเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกยังมีแรงส่งและปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ครึ่งปีหลังจะถูกกดดันจากผลกระทบของนโยบายกีดกันการค้าของสหรัฐฯ ที่จะทยอยออกมา
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า พัฒนาการเศรษฐกิจโลกไตรมาส 4/2567 ได้รับผลบวกจากแรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงและการเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลง นำโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขยายตัวแข็งแกร่งกว่าคาด โดย SCB EIC ยังคงมุมมองว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2568 จะเติบโตชะลอลงจากปีก่อนอันเป็นผลจากนโยบาย Trump 2.0 สำหรับภาพรวมการดำเนินนโยบายของสหรัฐฯ ตั้งแต่ประธานาธิบดีทรัมป์เริ่มเข้ารับตำแหน่งยังสอดคล้องกับที่ SCB EIC ประเมินไว้ โดยประธานาธิบดีทรัมป์เริ่มออกคำสั่งบริหารจำนวนมากเพื่อยกเลิกแนวนโยบายของรัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนและเร่งแก้ปัญหาในประเทศทันที โดยเฉพาะการจัดการผู้อพยพผิดกฎหมาย และการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านพลังงาน แต่ยังไม่มีคำสั่งขึ้นภาษีนำเข้าที่ชัดเจนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อรองกับประเทศคู่ค้า
เงินเฟ้อในประเทศเศรษฐกิจหลักจะทรงตัวสูงกว่าเป้าในช่วงต้นปี 2568 นี้ จากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและค่าจ้างขยายตัวสูง โดยเฉพาะเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่มีความเสี่ยงเร่งขึ้นจากการกระตุ้นการลงทุนและขึ้นภาษีนำเข้าในชุดนโยบาย Trump 2.0 อย่างไรก็ดี แนวโน้มราคาน้ำมันโลกที่จะต่ำลงตามการเพิ่มกำลังการผลิตของสหรัฐฯ จะช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อโลกลงได้บ้างในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยเฉพาะในยูโรโซนที่ยังเผชิญปัญหาด้านพลังงาน SCB EIC จึงยังคงมุมมองนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักในปีนี้ว่า จะเห็นความแตกต่างกันมากขึ้น (Monetary policy divergence) และมีความไม่แน่นอนสูง โดย Fed มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวมเพียง 0.50% ในปีนี้ เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงเงินเฟ้อที่จะเพิ่มขึ้นทั้งแรงกดดันเศรษฐกิจในประเทศและนโยบาย Trump 2.0 แต่ ECB กลับมีแนวโน้มเร่งลดอัตราดอกเบี้ยรวม 1.25% ในปีนี้ จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าสหรัฐฯ มากและเงินเฟ้อที่ทรงตัวในระดับใกล้เป้าหมายของธนาคารกลางมากกว่า ขณะที่ BOJ มีแนวโน้มปรับดอกเบี้ยขึ้นรวม 0.50% ในปีนี้จากมุมมองเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและเงินเยนอ่อนค่า
SCB EIC ประเมินโมเมนตัมเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งแรกของปีนี้จะดีต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2567 และยังพอมีปัจจัยบวก จากการทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยช่วงที่ผ่านมายังสะท้อนว่าภาคการท่องเที่ยวและบริการเป็นแรงส่งสำคัญ เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เติบโตต่อเนื่อง ซึ่งแม้จะมีกระแสข่าวด้านความปลอดภัยแต่การเดินทางมาไทยของนักท่องเที่ยวจีนในช่วงเทศกาลตรุษจีนยังเติบโตได้ดี สำหรับการออกคำสั่งบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์ในช่วงนี้ประเมินว่าจะยังไม่ส่งผลลบต่อไทยมากนัก จึงคาดว่าการส่งออกไทยในช่วงต้นปีจะขยายตัวได้ดี โดยยังคงได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และหลายประเทศเร่งนำเข้าสินค้าไทย ก่อนมาตรการกีดกันการค้าจะมีทีท่ารุนแรงขึ้น ด้านการใช้จ่ายภาครัฐจะขยายตัวสูงตามการเบิกจ่ายงบประมาณที่ทำได้ต่อเนื่องจะเป็นอีกแรงส่งสำคัญ นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกจะยังมีปัจจัยบวกเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ เช่น โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 2 และเฟส 3 รวมทั้งมาตรการ Easy E-receipt ที่จะช่วยประคองการบริโภคภาคเอกชนให้ขยายตัวได้ในช่วงแรกของปีนี้
อย่างไรก็ดี SCB EIC มองเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งหลังของปีจะขยายตัวชะลอลง สาเหตุสำคัญมาจากผลของมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ที่จะกระทบการค้าโลกรุนแรงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง กดดันการส่งออกไทย รวมถึงมีปัจจัยฐานสูง ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกในครึ่งปีหลังจะขยายตัวต่ำ อีกทั้ง ช่วงนี้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะทยอยหมดไป ประกอบกับภาวะการเงินที่ยังมีแนวโน้มตึงตัว โดยเฉพาะการเข้าถึงสินเชื่อของลูกหนี้รายย่อยซึ่งยังคงมีความท้าทายอยู่ ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มแผ่วลงในช่วงครึ่งหลังของปี สำหรับเงินเฟ้อในภาพรวมปี 2568 มีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้นจากราคาพลังงาน ทั้งจากราคาน้ำมันในตลาดโลก ราคาค่าไฟฟ้าที่มีแนวโน้มลดลง รวมทั้งมาตรการช่วยค่าครองชีพด้านพลังงานที่คาดว่าจะยังมีอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ SCB EIC ปรับมุมมอง กนง. จะลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง แต่จะเลื่อนออกไปเป็นช่วงกลางปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากที่ กนง. มีข้อมูลประเมินผลกระทบนโยบาย Trump 2.0 ต่อเศรษฐกิจไทยชัดขึ้น ซึ่งคาดว่า กนง. จะเห็นทิศทางเศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตชะลอลงต่ำกว่าศักยภาพ นอกจากนี้ แนวการสื่อสารของ กนง. ในช่วงต้นเดือน ม.ค. ส่งสัญญาณโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในช่วงต้นปีลดลง และยังเน้นย้ำว่า การลดดอกเบี้ยในภาวะความไม่แน่นอนสูงจะมีประสิทธิผลจำกัด อย่างไรก็ดี SCB EIC ประเมินว่าความเปราะบางของอุปสงค์ในประเทศ ภาวะการเงินตึงตัว และความเสี่ยงด้านลบของเศรษฐกิจไทยที่จะชัดเจนขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ กนง. จะสามารถพิจารณาลดดอกเบี้ยเพื่อผ่อนคลายนโยบายการเงินลงได้อีก ควบคู่กับภาครัฐที่จะเตรียมความพร้อมเศรษฐกิจไทยให้สามารถเผชิญผลลบจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่ชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
สำหรับเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมาตามค่าเงินในภูมิภาคจากดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า หลังประธานาธิบดีทรัมป์มีท่าทีผ่อนคลายต่อมาตรการขึ้นภาษีนำเข้า และตลาดเกิดภาวะหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk-off) ทำให้เกิดการปรับฐานต่อสินทรัพย์สหรัฐฯ ที่มีมูลค่าสูงมากในช่วงก่อนหน้านี้ โดยในระยะสั้นมองเงินบาทอาจผันผวนสูงและกลับมาอ่อนค่าได้อยู่ที่ 34.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หากสหรัฐฯ ใช้มาตรการขึ้นภาษีนำเข้ากับประเทศในเอเชียตามที่ประธานาธิบดีทรัมป์ได้กล่าวไว้ก่อนหน้า และ Fed อาจยังใช้แนวทาง Higher for longer ต่อ สำหรับช่วงครึ่งหลังของปีมองเงินบาทอาจกลับมาแข็งค่าได้ หาก Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายช้าออกไปเป็นเริ่มช่วงกลางปี เนื่องจากมูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ สูงไปมาก สำหรับมุมมอง ณ สิ้นปีนี้ ประเมินว่าเงินบาทอยู่ที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
อ่านต่อบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่...
https://www.scbeic.com/th/detail/product/eic-monthly-0125
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
NL สอยงานใหม่เข้าพอร์ต Backlog ทะลุ 2.5 พันล. - PRAPAT ขยายตลาดบังคลาเทศ
NL คว้างานใหม่ 2 โครงการ หนุน Backlog ทะลุ 2.5 พันล.
TEGH ผงาด! ติดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 ปี 2025
BANPU รุกลงทุนแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย - DOD เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ หนุนรายได้ปีนี้ 800 ล.
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์