Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
TSR เคลียร์! ทุกข้อสงสัย กรณีผู้สอบไม่แสดงความเห็นต่องบปี 67
MAI
APM ยื่นไฟลิ่งหุ้นกู้ DHOUSE มูลค่าไม่เกิน 120 ล.
IPO
BKA เคาะ IPO หุ้นละ 1.80 บาท เปิดจองซื้อ 8-10 เม.ย.นี้
บล./บลจ
SCBAM ประกาศแผนธุรกิจปี 68 ปั้นAUM สู่ 2 ล้านล้าน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
กรุงศรี วางกรอบเงินบาท 33.70-34.30 จับตากำแพงภาษีสหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. ร่วมงาน “พาแบงก์รัฐ มาช่วยราษฎร์” ดันเศรษฐกิจท้องถิ่น
พลังงาน - อุตสาหกรรม
‘ไทยออยล์ - KTB’ ลงนาม MOU ธุรกรรมบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SINO ขยายคลังสินค้าหลังใหม่ในนิคมฯ แหลมฉบัง
แบงก์ - นอนแบงก์
ไทยเครดิต เปิดตัว “น้องตังค์โต” มาสคอตการเงิน
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
PUEAN ผุดหุ้นกู้มีประกัน ดอกเบี้ยคงที่ 7.50% ต่อปี
SMEs - Startup
World นำร่องในไทย 3 แห่ง เปิดตัวเทคโนโลยีพิสูจน์ความเป็นมนุษย์
ประกันภัย - ประกันชีวิต
TQM Home Insurance ประกันภัยบ้าน คุ้มครองมากกว่าแค่อัคคีภัย
รถยนต์
Autoclik ชวนตรวจเช็กรถฟรี 37 รายการ ก่อนเดินทางสงกรานต์
ท่องเที่ยว
BEYOND ปี 68 ดัน รายได้โรงแรมแตะ 3,700 ล้านบ.
อสังหาริมทรัพย์
MK ประกาศ! ชำระคืนหุ้นกู้ 3,383 ล้านบ. ตามกำหนด
การตลาด
TTB ร่วมเปิดโชว์การแสดงระดับโลก Disney On Ice
CSR
World นำร่องในไทย 3 แห่ง เปิดตัวเทคโนโลยีพิสูจน์ความเป็นมนุษย์
Information
MEDEZE แบ่งปันความสุขแก่เด็ก บ้านศรีนครินทร์ มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม
Gossip
DTCENT จัดโปรฯรับสงกรานต์ อัพยอดขาย
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
NER ปี 68 ดันยอดขาย 5 แสนตัน
EPG ผลงานไตรมาส 3 ปีบัญชี 67/68 ยอดขาย 3,388 ลบ.
2025-02-14 10:41:53
108
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - EPG เปิดผลดำเนินงานไตรมาส 3 ปีบัญชี 67/68 (ต.ค.-ธ.ค.67) ยอดขาย 3,388 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 168 ล้านบาท และมีอัตรากำไรขั้นต้นที่ 30.7% โตตามเป้า
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 รศ.ดร.เฉลียว วิทูรปกรณ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ EPG ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โพลีเมอร์และพลาสติกแปรรูปชั้นนำของโลก เปิดเผยว่า ไตรมาส 3 ปีบัญชี 67/68 (ต.ค.-ธ.ค.67) บริษัทมียอดขาย 3,388 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขาย 3,374 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.4% และปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนที่มียอดขาย 3,606 ล้านบาท หรือลดลง 6.0% มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ 30.7% ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 30 - 33% และมีกำไรสุทธิที่ 168 ล้านบาท ลดลง 45.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 23.8% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากบริษัทมีการตั้งสำรองผลขาดทุนทางเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ 58 ล้านบาท และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าลดลง 58.8 % เนื่องจากยอดขายชะลอตัวและมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ทั้งธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น และธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์
สำหรับการดำเนินงานตามกลุ่มธุรกิจ มีดังนี้ ธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น ภายใต้แบรนด์ Aeroflex มียอดขาย 983 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ ลดลง 6.0% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากช่วงปลายปีเป็นเทศกาลที่มีวันหยุดยาว ส่วนยอดขายในสหรัฐอเมริกายังคงเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการสินค้าฉนวนกันความร้อน/เย็น เกรดพรีเมี่ยม และสินค้าเพื่อใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรม Ultra Low Temperature Insulation และ ระบบ Air Ducting system ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นในกลุ่มลูกค้าโครงการ ได้แก่ กลุ่ม Semi-Conductor/ Cloud/ และยานยนต์ เป็นต้น อีกทั้งยอดขายในญี่ปุ่นเติบโตดี
ธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์และตกแต่งยานยนต์ ภายใต้แบรนด์ Aeroklas มียอดขาย 1,709 ล้านบาท ลดลง 0.3 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง 11.6% จากไตรมาสก่อน โดยหลังคาครอบกระบะ (Canopy) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งคำสั่งซื้อสินค้าใหม่จากค่ายยานยนต์ญี่ปุ่นซึ่งจะรับรู้รายได้เต็มปีในปีบัญชีนี้ ส่วนธุรกิจในออสเตรเลียมียอดขายปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ยอดขายทั้งในประเทศและต่างประเทศชะลอตัวจากไตรมาสก่อนเนื่องจากช่วงปลายปีเป็นเทศกาลที่มีวันหยุดยาว
ธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติก ภายใต้แบรนด์ EPP มียอดขาย 696 ล้านบาท ลดลง 1.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 11.2% จากไตรมาสก่อน โดยบริษัทได้รับประโยชน์จากกิจกรรมเฉลิมฉลองช่วงปลายปี 2567 ที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง บริษัท อีสเทิร์น โพลีแพค จำกัด ได้ใช้จุดเด่นจากมาตรฐานต่าง ๆ เช่น มอก./ GMP/ HACCP/ BRC และ FSC จึงเป็นที่ไว้วางใจจากกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมเลือกให้เป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก
ทั้งนี้ บริษัทมีต้นทุนขายสินค้า เพิ่มขึ้น 4.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ช้ากว่าการเพิ่มขึ้นของยอดขาย บริษัทได้จัดหาวัตถุดิบจากแหล่งผลิตในหลายประเทศเพื่อให้ต้นทุนเฉลี่ยจากราคาวัตถุดิบมีราคาเหมาะสม สำหรับค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น 6.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นมาจากค่าใช้จ่ายในการจัดส่งของแอร์โรเฟลกซ์ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการบริหารของ บริษัท ทีเจเอ็ม เอเชีย แปซิฟิก จำกัด ในประเทศไทย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารจากธุรกิจในออสเตรเลีย ที่เพิ่มขึ้น
ในไตรมาสนี้บริษัทมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 48 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 68 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 92 ล้านบาท และเป็นขาดทุนที่เกิดขึ้นจริง 140 ล้านบาท ภาพรวมความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนใน ไตรมาสนี้ ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ แต่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ออสเตรเลีย จึงมีผลกระทบรวมที่เป็นบวกเล็กน้อยต่อการดำเนินงานของบริษัท
บริษัทมีการตั้งสำรองผลขาดทุนทางเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ที่ 58 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากรายการลูกหนี้การค้าของบริษัท แอร์โรคลาส จำกัด ซึ่งจำหน่ายวัตถุดิบเพื่อใช้ผลิตสินค้าให้แก่ธุรกิจร่วมทุนในแอฟริกาใต้ ซึ่งได้รับคำสั่งซื้อสำคัญจากค่ายยานยนต์รายใหญ่ในมูลค่าที่เพิ่มขึ้น การแก้ไขปัญหาอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับ Supply chain ทั้งหมด โดยผลการเจรจาคืบหน้าไปด้วยดี เป็นผลให้ในไตรมาสนี้บริษัทร่วมทุนมีเงินสดรับเพิ่มขึ้นและทยอยชำระหนี้ให้ บริษัท แอร์โรคลาส จำกัด แล้ว คาดว่าในไตรมาสถัดไปจะได้รับชำระหนี้อีกจำนวนหนึ่ง
นอกจากนี้ บริษัทได้รับส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าที่ 42 ล้านบาท มาจากผลประกอบการของ ธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น และธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ ทั้งในและต่างประเทศ
TSR เคลียร์! ทุกข้อสงสัย กรณีผู้สอบไม่แสดงความเห็นต่องบปี 67
SVI ประเมิน ‘ทรัมป์’ ขึ้นกำแพงภาษีคู่ค้า กระทบไม่มาก
TU อนุมัติเพิ่มวงเงิน "ซื้อหุ้นคืน" เป็น 5,000 ล้านบาท
PIN ทุ่มงบ 1,500 ล้านบาท ขยายนิคมฯ โครงการ3 - KUN เจาะ 3 ทำเลทอง ดันรายได้โต 15%
PLUS "ทรัมป์" ขึ้นภาษีนำเข้า ไม่กระทบธุรกิจ
TMAN บุกธุรกิจดิสทริบิวเตอร์ครบวงจร