Phones





THAI ปั้นรายได้โต 1.9 แสนล. จ่อยื่นขอยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ เม.ย. นี้

2025-02-26 17:11:28 166



นิวส์ คอนเน็คท์ - THAI ตั้งเป้ารายได้ปี 68 โตเกิน 1.9 แสนล้านบาท ลุยขยายเที่ยวบินเพิ่มมากขึ้น เตรียมเซ็น MOU กับ BA ร่วมลงทุนศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท ล่าสุดเตรียมแผนนำหุ้น THAI กลับเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ จ่อยื่นคำร้องขอยกเลิกการฟื้นฟูกิจการช่วงปลายเดือน เม.ย. นี้

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานปี 68 บริษัทตั้งเป้ารายได้ที่ 2% หรือเติบโตไม่ต่ำกว่า 190,000 ล้านบาท จากปีก่อนที่ 187,989 ล้านบาท โดยบริษัทมีแผนเพิ่มจำนวนเที่ยวบินที่มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีอากาศยานที่ใช้ทำการบินรวมทั้งสิ้น 79 ลำ แบ่งเป็นแบบลำตัวกว้างและลำตัวแคบ จำนวน 59 ลำ และ 20 ลำตามลำดับ 

โดยตารางบินฤดูหนาวประจำปี 68 ของบริษัทวางแผนทำการบินไปยัง 64 จุดบิน เช่นเดียวกับในปี 67 แต่มีจำนวนเที่ยวบินทั้งหมด 883 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 40 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ จากปี 67 ที่มี 843 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เพื่อรองรับการเดินทางของผู้โดยสารในเส้นทางบินยอดนิยม รวมถึงรองรับการเดินทางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเร่งขยายขนาดฝูงบินให้เพียงพอต่อแผนเส้นทางบิน จำนวนเที่ยวบิน และความต้องการเดินทางของผู้โดยสาร 

ปัจจุบันบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีอากาศยานที่ใช้ทำการบินรวมทั้งสิ้น 79 ลำ แบ่งเป็นแบบลำตัวกว้างและลำตัวแคบ จำนวน 59 ลำ และ 20 ลำตามลำดับ โดยตารางบินฤดูหนาว ประจำปี 2568 ของบริษัทฯ วางแผนทำการบินไปยัง 64 จุดบินเช่นเดียวกับในปี 2567 แต่มีจำนวนเที่ยวบินทั้งหมด 883 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 40 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ จากปี 2567 ที่มี 843 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เพื่อรองรับการเดินทางของผู้โดยสารในเส้นทางบินยอดนิยม รวมถึงรองรับการเดินทางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเร่งขยายขนาดฝูงบินให้เพียงพอต่อแผนเส้นทางบิน จำนวนเที่ยวบิน และความต้องการเดินทางของผู้โดยสาร เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการหารายได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ และนำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป 

โดยในปีนี้บริษัทได้ปรับกลยุทธ์มุ่งเน้นตลาดใหม่ โดยการเพิ่มเที่ยวบินในเส้นทางประเทศอินเดียและปากีสถานมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีเที่ยวบินในประเทศอินเดียจำนวน 10 เมือง หรือ 82 เที่ยวบิน ขณะเดียวกันบริษัทมีแผนจะเช่าเครื่องบินเข้ามาในฝูงบินปีนี้เพิ่มเติมประมาณ 9 ลำ แบ่งเป็นรุ่น 330 จำนวน 7 ลำ , รุ่น 321 จำนวน 1 ลำ และรุ่น 330-300 จำนวน 1 ลำ โดยคาดว่าจะเริ่มเข้ามาช่วงปลายไตรมาส 2/68

นอกจากนี้บริษัทเตรียมเซ็น MOU กับ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ในการร่วมลงทุนในโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) มูลค่าโครงการประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการเข้าหารือกับทาง EEC หลังจากมีความประสงส์ให้ผู้ประกอบการในประเทศเข้าไปดำเนินการ

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ กล่าวว่านายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ กล่าวว่า เตรียมแผนนำหุ้น THAI หุ้นกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในช่วงปลายเดือน มิ.ย. 2568 โดยบริษัทเตรียมจะดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอยกเลิกการฟื้นฟูกิจการในช่วงปลายเดือน เม.ย.2568 ภายหลังจะมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 18 เม.ย.นี้

นอกจากนี้ภายหลังจากการฟื้นฟูกิจการแล้ว บริษัทยังคงมีหนี้ที่ต้องชำระอยู่จำนวน 87,000 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากเดิมที่ 120,000 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าจะมีการทยอยจ่ายหนี้ปีละประมาณ 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถชำระหนี้จำนวนดังกล่าวทั้งหมดภายในปี 2579

สำหรับการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการในขั้นตอนถัดไป ที่ประชุมคณะผู้บริหารแผนดำเนินการเพื่อบรรลุเงื่อนไขผลสำเร็จของแผนฟื้นฟูกิจการข้อสุดท้าย โดยได้มีมติเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นซึ่งจะจัดขึ้นตามข้อกำหนดของแผนฟื้นฟูกิจการในวันศุกร์ที่ 18 เม.ย. 2568 และกำหนดวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงในที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (Record Date) เป็นวันศุกร์ที่ 14 มี.ค. 2568 เพื่อพิจารณาอนุมัติกำหนดจำนวนกรรมการบริษัท จำนวน 11 ท่านหรือ 12 ท่าน 

ซึ่งประกอบด้วยกรรมการในปัจจุบันจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร และพลอากาศเอก อำนาจ จีระมณีมัย และกรรมการเข้าใหม่จำนวน 8 ท่านหรือ 9 ท่าน (ตามแต่จำนวนกรรมการที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติอนุมัติ) โดยรายนามกรรมการเข้าใหม่ที่เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจำนวน 6 ท่าน ได้แก่ นายลวรณ แสงสนิท ดร. กุลยา ตันติเตมิท นายชาครีย์ บำรุงวงศ์ พลตำรวจเอก ธัชชัย ปิตะนีละบุตร นายชาติชาย โรจน์รัตนางกูร และนายชาย เอี่ยมศิริ 

และกรรมการอิสระจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ นายณปกรณ์ ธนสุวรรณเกษม นายยรรยง เดชภิรัตนมงคล และนายสัมฤทธิ์ สำเนียง ทั้งนี้ ภายหลังจากบริษัทฯ ได้รับมติอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นแล้ว และได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายกลางแล้ว บริษัทฯ จะดำเนินการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงจำนวนกรรมการ และการแต่งตั้งจดทะเบียนกรรมการใหม่ ก่อนที่จะดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอยกเลิกการฟื้นฟูกิจการต่อไป

ทั้งนี้ที่ประชุมคณะผู้บริหารแผนเมื่อวันที่ 25 ก.พ.68 มีมติอนุมัติการลดมูลค่าที่ตราไว้ (Par Value) ของหุ้นของบริษัทฯ จากหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 1.30 บาท เพื่อชดเชยผลขาดทุนสะสมทางบัญชีของบริษัท ให้ใกล้เคียงศูนย์มากที่สุด โดยจะทำให้ทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วของบริษัท ลดลงจากประมาณ 283,033 ล้านบาท เป็น 36,794 ล้านบาท และทำให้ผลขาดทุนสะสมลดลงเหลือ 180 ล้านบาท

ส่วนในปี 2567 การบินไทยมีรายได้รวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เท่ากับ 187,989 ล้านบาท เพิ่มจาก 161,067 ล้านบาทในปี 2566 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตที่ 16.7% ในขณะที่กำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงิน (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) เท่ากับ 41,515 ล้านบาทในปี 2567 เพิ่มขึ้นจาก 40,211 ล้านบาทในปี 2566 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตที่ 3.2% โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัตรากำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงิน (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) (EBIT Margin) สำหรับปี 2567 อยู่ที่ 22.1% ซึ่งดีกว่าประมาณการตามแผนฟื้นฟูกิจการ 

ทั้งนี้ ตามงบการเงินรวมสำหรับปี 2567 การบินไทยมีผลขาดทุน 26,901 ล้านบาท เกิดจากผลขาดทุนทางบัญชีที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวจากการแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการจำนวน 45,271 ล้านบาท ที่บริษัทฯ ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา โดยผลขาดทุนทางบัญชีส่วนใหญ่ประมาณ 40,582 ล้านบาท เกิดจากการใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนของเจ้าหนี้ที่ราคาตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม และส่วนที่เหลือมาจากการแปลงหนี้เป็นทุนของเจ้าหนี้ที่ได้รับการชำระหนี้ที่เร็วกว่ากำหนดที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ อย่างไรก็ดี รายการดังกล่าวเป็นผลขาดทุนทางบัญชีซึ่งเป็นรายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และไม่ได้ส่งผลต่อการออกจากการฟื้นฟูกิจการ เนื่องจากส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ภายหลังการปรับโครงสร้างทุนยังคงเป็นบวก