Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
NL คว้างานใหม่ 2 โครงการ หนุน Backlog ทะลุ 2.5 พันล.
MAI
MMM เสิร์ฟข่าวดีก่อนขาย PO แจกปันผลระหว่างกาล 0.12 บ.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
โกลเบล็ก คัด 5 หุ้นเด่นเด้ง “เที่ยวไทยคนละครึ่ง”
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
ยูโอบี จับมือ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ เสริมแกร่งการลงทุนอาเซียน
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต ส่งมอบโครงการปรับปรุงศูนย์กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
A5 ตุน Backlog กว่า 730 ลบ. แย้มผลงานครึ่งปีหลังสดใส
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
Information
ออมสิน มอบการ์ตูนขายหัวเราะอักษรเบรลล์ วางรากฐานทางการเงินแก่ผู้พิการสายตา
Gossip
BLC เตรียมเปิดโรงงานต้อนรับผถห.
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
SCB EIC แนะกลยุทธ์ 4P รับมือนโยบาย ‘ทรัมป์ 2.0’
2025-04-12 16:21:24
419
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า แม้ทรัมป์จะประกาศเลื่อนการขึ้นภาษีตอบโต้เต็มรูปแบบออกไปอีก 90 วัน แต่ก็จะไม่ช่วยให้ธุรกิจไทยรอดพ้นจากมรสุมทางเศรษฐกิจที่กำลังจะตามมาได้ โดยการเก็บภาษีตอบโต้ที่ระดับ 10% ในระยะ 90 วัน อาจช่วยลดแรงกระแทกในระยะสั้นต่อภาคธุรกิจไทยได้บางส่วน อย่างไรก็ดี SCB EIC ประเมินว่า ภาคธุรกิจไทยก็จะยังคงต้องเผชิญกับผลกระทบที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากกฎกติกาการค้าโลกที่จะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป โดยไม่ว่าผลการเจรจาจะออกมาในรูปแบบใด ธุรกิจไทยก็จะยังคงได้รับผลกระทบทั้งทางตรง (Direct impact) ผ่านการส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ และทางอ้อม (Indirect impact) อีกหลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น 1. ความต้องการสินค้าขั้นกลางจากประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ของไทยที่อาจชะลอตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนที่มีการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกต่อไปยังสหรัฐฯ ซึ่งจีนโดนกำแพงภาษีในอัตราที่สูงถึง 145%
2. สินค้าจีนมีแนวโน้มทะลักเข้ามาในไทยและตลาดโลกมากขึ้น, 3. อุปสงค์ต่อสินค้าในตลาดโลกโดยรวมมีแนวโน้มแผ่วลง, 4. การเปิดตลาดสินค้าบางประเภทเพื่อใช้ในการเจรจาต่อรองลดแรงกดดันจากรัฐบาลสหรัฐฯ, 5. ไทยอาจได้รับอานิสงส์ในการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ เพื่อทดแทนสินค้าจากประเทศที่มีการออกมาตรการตอบโต้สหรัฐฯ และ 6. แนวโน้มการปรับเปลี่ยนและออกแบบห่วงโซ่อุปทานใหม่ของโลกที่อาจส่งผลให้มีการชะลอการลงทุนหรือย้ายฐานการผลิตออกจากไทย และอาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกของไทยตามมาได้
ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินว่า กลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบเชิงลบในระดับสูง ในกรณีที่ไทยโดนภาษีตอบโต้ที่ 36% ในช่วงครึ่งปีหลัง ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ จักรยานยนต์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก ยางพาราและไม้ยางพารา สินค้าประมงโดยเฉพาะกุ้ง สิ่งทอ แผงโซลาร์เซลล์และส่วนประกอบ ถุงมือยาง เป็นต้น สำหรับกลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบเชิงลบในระดับปานกลาง เช่น กลุ่มสินค้าเกษตรอื่น ๆ ผักผลไม้สดและแปรรูป เนื้อสัตว์และอาหารแปรรูป ยานยนต์ เม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่กลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบเชิงลบในระดับต่ำ ได้แก่ ข้าว นมและผลิตภัณฑ์นม และเครื่องดื่มต่าง ๆ
นอกจากนี้ ระดับความรุนแรงของผลกระทบจาก Reciprocal tariffs ต่อภาคธุรกิจไทยมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามเงื่อนเวลา เนื่องจากยิ่งภาษีถูกใช้นานขึ้น ผลกระทบก็จะยิ่งมากขึ้น สอดคล้องกับค่าความยืดหยุ่นของความต้องการนำเข้าต่อราคาที่สูงขึ้นตามระยะเวลา โดยหากใช้สมมติฐานการวิเคราะห์โดยกำหนดให้ Reciprocal tariffs อยู่ที่ระดับ 36% โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯ ลดลงสะสมราว 8.1 แสนล้านบาท เมื่อมีการบังคับใช้มาตรการด้านภาษีครบ 5 ปี ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับมือกับสงครามการค้าที่มีแนวโน้มจะยืดเยื้อออกไป
ทั้งนี้ การชะลอการเก็บภาษีตอบโต้เต็มรูปแบบของสหรัฐฯ ออกไปอีก 90 วัน ซึ่งทุกประเทศรวมทั้งไทยจะโดนเก็บภาษีที่อัตราพื้นฐาน (Universal rate) ที่ 10% (ยกเว้นจีนซึ่งโดนเก็บที่ 145% ทันที) จะช่วยลดแรงกระแทกในระยะสั้นต่อภาคธุรกิจไทยได้บางส่วน จากอานิสงส์ 3 ประการ ได้แก่ 1. การเร่งส่งออกสินค้าในช่วงเวลาที่สหรัฐฯ ยังไม่ปรับขึ้นภาษีนำเข้าอย่างเต็มรูปแบบกับไทย อย่างไรก็ดี ผลบวกในด้านนี้อาจถูกลดทอนลงได้ เนื่องจากมีการเร่งส่งออกสินค้าไปบ้างแล้วบางส่วนตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา, 2. ระดับภาษีที่ไทยถูกเก็บจากสหรัฐฯ ในช่วงเวลา 90 วันต่อจากนี้ จะอยู่ในระดับเดียวกันกับคู่แข่ง ซึ่งจะช่วยรักษาความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของไทยในระยะสั้น ๆ เอาไว้ได้ และ 3. โอกาสในการเข้ามาทดแทนการส่งออกสินค้าจากจีนไปยังตลาดสหรัฐฯ และจากตลาดสหรัฐฯ ไปยังจีน โดยเฉพาะในสินค้าที่ไทยมีอุปทานในประเทศและมีกำลังการผลิตส่วนเหลือมากเพียงพอ
SCB EIC ประเมินว่าผู้ประกอบการไทยสามารถใช้กลยุทธ์ 4P ในการปรับตัวเพื่อรับมือกับแรงกดดันจากนโยบายของ Trump 2.0 และจากปัญหาโครงสร้างการผลิตที่ยังอ่อนแอ ประกอบด้วย 1. Product : พัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์/แตกต่าง/สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า, 2. Place : กระจายตลาด, 3. Preparedness : บริหารความเสี่ยงในทุกมิติทั้ง Supply chain และ Balance sheet และ 4. Productivity : การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และถือโอกาสใช้วิกฤติครั้งนี้ยกเครื่องโครงสร้างการผลิตของไทยให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นและตอบโจทย์ความต้องการในตลาดโลกที่เปลี่ยนไป เพื่อให้ภาคธุรกิจไทยสามารถแข่งขันและเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
NL คว้างานใหม่ 2 โครงการ หนุน Backlog ทะลุ 2.5 พันล.
TEGH ผงาด! ติดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 ปี 2025
BANPU รุกลงทุนแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย - DOD เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ หนุนรายได้ปีนี้ 800 ล.
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.