Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
AGE ฟอร์มดี โชว์กำไร Q1/68 ต่อเนื่อง
MAI
ECF ลุยปรับโครงสร้างองค์กร ลดต้นทุน มุ่งสินค้ามาร์จิ้นสูง
IPO
NUT โรดโชว์ข้อมูลธุรกิจ แก่นักลงทุนทั่วประเทศ
บล./บลจ
“โกลเบล็ก” ล็อกเป้าหุ้นเข้าคำนวณ SET50
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
คลัง ระดมแบงก์รัฐ ช่วยผู้ประกอบการรับมือกำแพงภาษีสหรัฐฯ
การค้า - พาณิชย์
กต. จับมือ กรุงศรี ยกระดับบริการการเชื่อมต่อระบบ e-Payment
พลังงาน - อุตสาหกรรม
BAFS ปลื้มกระแสตอบรับ ปิดดีลขายหุ้นกู้ทะลุเป้า 1 พันล.
คมนาคม - โลจิสติกส์
ETL คาด Q2 โตต่อเนื่อง ขนส่งทุเรียนรับบทพระเอก
แบงก์ - นอนแบงก์
SCB 10X ประกาศตั้ง “กวีวุฒิ” นั่งแท่นซีอีโอ
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
SGC โชว์กำไร Q1/68 พุ่ง 298% รับ Lock Phone โตแรง
SMEs - Startup
'Tools for humanity' ตั้ง ‘ภัคพล’ นําทัพ ‘World' ประเทศไทย
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิตแกร่ง! งบไตรมาส 1/68 กำไรสุทธิ 2,683 ล้านบ.
รถยนต์
MGC-ASIA ฟอร์มเจ๋ง Q1/68 กำไรพุ่งกระฉูด 678%
ท่องเที่ยว
หอการค้ากระบี่ หนุนสร้างเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวกระบี่ ช่วงโลว์ซีซัน
อสังหาริมทรัพย์
BAM อัดแคมเปญ “โปรผ่อนที่ร้อนแรงที่สุดแห่งปี ดอกเบี้ย 0% 2 ปีแรก”
การตลาด
พีที สเตชั่น จับมือ “โป๊ยเซียน” เติมน้ำมัน-แจกยาดม
CSR
'Tools for humanity' ตั้ง ‘ภัคพล’ นําทัพ ‘World' ประเทศไทย
Information
MEDEZE” เผยผลการดำเนินงานไตรมาสแรก ปี 2568 เดินหน้ากลยุทธ์เติบโตต่อเนื่อง
Gossip
DMT จ่ายปันผลไม่เคยพัก! เตรียมรับทรัพย์อีก 23 พ.ค.นี้
Entertainment
SCBX จัดนิทรรศการ “ตามรอยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ฯ เจ้าฟ้านักอนุรักษ์”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
SCB EIC หวั่นศก.ไทยเสี่ยง Technical recession หั่นจีดีพีเหลือ 1.5%
2025-04-28 19:34:39
127
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – SCB EIC ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 68 เหลือ 2.2% จากเดิมคาดขยายตัว 2.6% จากกำแพงภาษีสหรัฐฯ และการโต้กลับสงครามการค้ารอบใหม่ ขณะที่ความไม่แน่นอนในระดับสูงกดดันเศรษฐกิจไทยเสี่ยง Technical recession ในช่วงกลางปี ปรับลดจีดีพีของไทยปี 68 เหลือ 1.5% จากเดิมคาดขยายตัว 2.4%
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2568 เหลือ 2.2% จากเดิมคาดว่าจะขยายตัว 2.6% จากกำแพงภาษีสหรัฐฯ และการโต้กลับ โดยปัจจุบันสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าขั้นต่ำ (Universal tariff) 10% กับเกือบทุกประเทศทั่วโลกแล้ว และเก็บภาษีเฉพาะรายสินค้า (Specific tariff) หลายรายการ เช่น ยานยนต์ เหล็ก อะลูมิเนียม รวมถึงเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal tariff) สินค้าจีนสูงถึง 125% (หากรวม Specific tariff จะเป็น 145%) สหรัฐฯ มีแนวโน้มจะเริ่มเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้คู่ค้าราว 60 ประเทศที่เกินดุลกับสหรัฐฯ ในช่วงไตรมาส 3 หลังพ้นช่วงเจรจา 90 วัน โดยเอเชียและอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่อาจได้รับผลกระทบสูง เนื่องจากเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ สูง
ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินภาครัฐทั่วโลกใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อพยุงเศรษฐกิจ แต่ความไม่แน่นอนยังสูง โดยมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะลดดอกเบี้ยรวม 0.75% เพื่อลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย แม้ความเสี่ยงเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเร่งลดดอกเบี้ยรวม 1.25% เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ ขณะที่ความเสี่ยงเงินเฟ้อไม่สูงนัก ธนาคารกลางจีน (PBOC) มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (7-day reverse repo) รวม 0.50% ในปีนี้ และอาจคงระดับอัตราดอกเบี้ยนี้ไม่ให้ต่ำกว่า 1% เพื่อรักษาพื้นที่ทางนโยบายสำหรับเหตุการณ์ด้านลบอื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
สำหรับเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/2568 ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน อาจขยายตัวได้ราว 3% ตามการขยายตัวของการส่งออกสินค้าที่เร่งตัวก่อนการขึ้นภาษี การบริโภคภาคเอกชน และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ขณะที่เหตุแผ่นดินไหวเริ่มส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวชัดเจนขึ้น สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยรวมหลังเกิดเหตุการณ์จนถึงช่วงสงกรานต์ที่ปรับลดลงจากปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวบางกลุ่มยังคงเติบโตดี เช่น อินเดีย และรัสเซีย
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังเสี่ยงเผชิญ Technical recession จากผลสงครามการค้ารอบใหม่นี้ และความไม่แน่นอนที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบสูงจากการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ โดยอาจขยายตัวเพียง 1.5% ในปี 2568 จากก่อนหน้านี้คาดว่าจะขยายตัว 2.4% เนื่องจากการส่งออกที่จะหดตัวในช่วงครึ่งปีหลัง และการลงทุนภาคเอกชนที่แผนการลงทุนใหม่ ตลอดจนการบริโภคภาคเอกชนอาจชะลอออกไป ตามแนวโน้มสงครามการค้าที่รุนแรงกว่าคาดและความไม่แน่นอนสูงของนโยบายการค้าสหรัฐฯ และภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มได้รับผลกระทบสูงจากสงครามการค้า เนื่องจากไทยพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งยังนำเข้าสินค้าจีนมากขึ้นด้วยหลังจากจีนทยอยลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ การประเมินผลกระทบทางตรงผ่านสินค้าส่งออกไทยไปสหรัฐฯ มีแนวโน้มได้รับผลกระทบรุนแรง เนื่องจากไทยพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ สูง สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐฯ สัดส่วนกว่า 80% จะโดนเก็บอัตราภาษีตอบโต้สูงกว่าประเทศคู่แข่ง รวมถึงการประเมินผลกระทบทางอ้อมผ่านการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะจีนที่โดนกำแพงภาษีจากสหรัฐฯ สูงมากและตอบโต้กลับในลักษณะเดียวกัน SCB EIC ประเมิน หากสหรัฐฯ เก็บภาษีตอบโต้สินค้าไทย 36% ตามที่ประกาศไว้จริง มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ จะลดลงสะสมราว 8.1 แสนล้านบาท หลังภาษีประกาศใช้นาน 5 ปี อย่างไรก็ดี ต้องติดตามผลการเจรจาของภาครัฐ เพื่อประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจริงอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ สงครามการค้ารอบใหม่จะส่งผลต่อภาคธุรกิจไทยเป็นวงกว้าง แต่ธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบสูง ส่วนใหญ่ผลิตสินค้าที่พึ่งตลาดสหรัฐฯ สูงและอาจเสียส่วนแบ่งตลาดให้คู่แข่ง หรือเป็นสินค้าขั้นกลางและขั้นปลายที่พึ่งอุปสงค์จีนสูง หรือเป็นสินค้าที่อาจถูกกระทบจาก Global slowdown หรือ China influx เข้าไทยรุนแรงขึ้น เช่น เซมิคอนดักเตอร์ คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์สื่อสาร แผ่นวงจรพิมพ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ SCB EIC ยังประเมินว่าลูกจ้างราว 11% ของลูกจ้างทั้งหมดเข้าข่ายที่อาจได้รับผลกระทบสูงตามมา
โดย SCB EIC มองว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 3 ครั้งในปีนี้สู่ระดับ 1.25% ภายในสิ้นปี 2568 เพื่อรองรับเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอลงตามความไม่แน่นอนที่ปรับสูงขึ้นมาก จากนโยบายการค้าสหรัฐฯ ประกอบกับความตึงตัวของภาวะการเงินที่มีอยู่เดิม โดยมีความเป็นไปได้สูงที่ กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในการประชุมวันที่ 30 เม.ย. 2568 ทั้งนี้ประเมินว่าระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปีนี้จะต่ำกว่าช่วงปี 2561–2562 ที่เกิดสงครามการค้า 1.0 ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งขณะนั้นไทยยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง
ในส่วนของเงินบาทกลับมาแข็งค่าเร็วหลัง Trump เลื่อนขึ้น Reciprocal tariffs ในระยะสั้นคาดว่าเงินบาทมีโอกาสกลับมาอ่อนค่าในกรอบ 33.50-34.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากสหรัฐฯ อาจกลับมาขึ้น Reciprocal tariffs บางส่วนได้ และเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะเติบโตชะลอลง ในระยะยาวคาดว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในกรอบ 32.50-33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปี เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าจากความเชื่อมั่นต่อสินทรัพย์สหรัฐฯ ลดลง ขณะที่สกุลเงินหลักอื่นแข็งค่าขึ้น ประกอบกับราคาทองสูงยังช่วยพยุงเงินบาท ในภาพรวมเมื่อพิจารณาดัชนีค่าเงินบาทเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งหลักพบว่ามีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทยถูกกระทบเพิ่มเติมจากประเด็นการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ได้อีกด้วย
AGE ฟอร์มดี โชว์กำไร Q1/68 ต่อเนื่อง
PRM ธุรกิจหลักสุดแกร่ง หนุนกำไรโต 30.7%
SINGER โชว์กำไรแข็งแกร่ง 20 ลบ. ลุยขยายธุรกิจเต็มสปีด
RT แย้ม Q2/68 สดใส เร่งส่งมอบงาน 3 โครงการ
SYNEX อวดผลงาน Q1 กำไรโต 24%
PR9 วางเกมเจาะลูกค้าต่างชาติ หนุนกำไรปี 68 แกร่ง