Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
MAI
IMH เปิดศูนย์ MRI รพ. IMH สีลม หวังครองแชมป์ย่านสีลม–สาทร
IPO
MASTEC ปิดโรดโชว์ 10 จังหวัด ลุย IPO 79 ล้านหุ้น
บล./บลจ
โกลเบล็ก คัด 5 หุ้นเด่นเด้ง “เที่ยวไทยคนละครึ่ง”
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
ยูโอบี จับมือ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ เสริมแกร่งการลงทุนอาเซียน
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต ส่งมอบโครงการปรับปรุงศูนย์กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ORN ครึ่งปีหลัง 68 โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG เดินหน้าจัดงาน ‘KBTG Techtopia’ ปีที่ 3
Information
ผู้บริหารไทยประกันชีวิต รับโล่เกียรติยศศิษย์เก่าดีเด่น ม.ธรรมศาสตร์
Gossip
MENA หุ้นโลจิสติกส์ ผลงานเจ๋ง!
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
TTB ชี้ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นสหรัฐฯ หนุนเงินบาทอ่อนค่า
2021-10-22 14:59:36
1057
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ttb analytics คาดทิศทางเงินบาทยังคงอ่อนค่าต่อในปี 65 หลังสหรัฐฯปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายตามสภาพอัตราเงินเฟ้อและเศรษฐกิจ ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯ มีการแข็งค่าต่อเนื่อง คาดเม็ดเงินไหลกลับสหรัฐฯ ประเมินกรอบค่าเงินบาทปี 65 ไว้ที่ 33.5 – 35.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แนะธุรกิจวางแผนรองรับความเสี่ยง
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หลังจากตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาปรับตัวลดลงตั้งแต่เดือนก.ย.64 ซึ่งข้อมูลทางเศรษฐกิจแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวด้านการบริโภคและตลาดแรงงาน โดยอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ปรับตัวลงต่ำสุดนับตั้งแต่มีการระบาดของโรคโควิด-19 อยู่ที่ 4.8% อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ระดับสูงในระยะยาว อันเป็นผลจากปัจจัยพื้นฐานด้านพลังงานและต้นทุนวัตถุดิบ ส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งและต้นทุนการผลิตมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงในปี 65
ดังนั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจมีแนวโน้มพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 65 หลังจากที่การประชุมเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้แสดงถึงแนวทางการดำเนินนโยบายด้านการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น เห็นได้จากการวางแผนลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ (Quantitative Easing: QE) เพื่อลดขนาดสินทรัพย์ที่ถือครองอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้มากขึ้นว่าปี 65 ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1-2 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ปี 65 อาจไม่สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ที่มีความจำเป็นต้องคงอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ความแตกต่างของอัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยอาจส่งผลให้เม็ดเงินจากภูมิภาคเอเชีย ไหลกลับเข้าสู่สหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ปี 65 สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และส่งผลให้สกุลเงินบาทและสกุลเงินเอเชียอื่น ๆ อ่อนค่าลง
ในอดีต การปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการอ่อนค่าของสกุลเงินบาท โดยในปี 58 ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรก ภายหลังวิกฤตการเงินซับไพร์ม ซึ่งได้คาดการณ์ล่วงหน้าถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ช่วงต้นปี 58 และการคาดการณ์นี้ส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีการแข็งค่าเพิ่มขึ้น สกุลเงินบาทและสกุลเงินเอเชียปรับตัวอ่อนค่าเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทไทยอ่อนค่ากว่า 11.7 % จากระดับ 32.34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนก.พ.58 และขยับไปที่ระดับสูงสุด 36.37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนก.ย.58
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับค่าเงินบาทไทย ส่งผลกระทบเช่นเดียวกันต่อสกุลเงินต่าง ๆ ทั่วเอเชีย โดยสกุลเงินที่ได้รับผลกระทบมากในช่วงเวลาดังกล่าวคือ สกุลเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซีย และรูปีของอินเดีย ซึ่งอ่อนค่าที่ 7%
แม้ภาพรวม ค่าเงินบาทจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลง แต่ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่กำลังฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากการท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัวในปีหน้า อาจส่งผลให้เกิดความต้องการของค่าเงินบาทเพิ่มสูงขึ้นในระยะสั้น ประกอบกับการเป็นประเทศที่มีการอ่อนค่าเงินสูงสุดเป็นอันดับแรกของเอเชียในปี 64 อาจส่งผลให้ค่าเงินบาทที่มีการปรับตัวแข็งค่าในระยะสั้น และมีความผันผวนเพิ่มมากขึ้น จากการเก็งกำไรค่าเงินของนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้น ภาคธุรกิจควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เช่น การทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (FX forward) การจองสิทธิที่จะซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (FX options) เพื่อปิดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินที่อาจพุ่งสูงขึ้นในปี 65 ซึ่งจะสามารถช่วยรักษาความสามารถทำกำไรจากการส่งออกและบริหารต้นทุนการนำเข้าของภาคธุรกิจได้ดีขึ้น
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน
NL สอยงานใหม่เข้าพอร์ต Backlog ทะลุ 2.5 พันล. - PRAPAT ขยายตลาดบังคลาเทศ
NL คว้างานใหม่ 2 โครงการ หนุน Backlog ทะลุ 2.5 พันล.
TEGH ผงาด! ติดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 ปี 2025
BANPU รุกลงทุนแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย - DOD เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ หนุนรายได้ปีนี้ 800 ล.
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์