Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
IRPC ชนะประมูลโซลาร์เซล 74.88 MW - ADVANC โบรกฯ ให้เป้า 294 บ.
MAI
CHO ลุยส่งมอบรถลำเลียงอาหาร ลุ้นออเดอร์ปี 68 พุ่ง
IPO
PIS ปิดฉากโรดโชว์หัวเมืองใหญ่ ลุยระดมทุนตลาด mai
บล./บลจ
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ไฟเขียวผู้เสียหายจาก STARK ดำเนินคดีแบบกลุ่ม
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
กอช. จัดใหญ่ส่งท้ายปี “ยิ่งออมมาก รับสิทธิเพิ่ม"
การค้า - พาณิชย์
พิชัย หารือเลขา ครม.ญี่ปุ่น ดึงดูดการลงทุนเข้าไทย
พลังงาน - อุตสาหกรรม
IRPC คว้าประมูลผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 74.88 เมกะวัตต์
คมนาคม - โลจิสติกส์
“สุริยะ” เปิดงานรณรงค์ลดอุบัติเหตุช่วงปีใหม่
แบงก์ - นอนแบงก์
EXIM BANK ออกมาตรการของขวัญพิเศษปีใหม่ 68
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘มันนี่ทันเดอร์’ คว้ารางวัล Prime Minister’s Export Award 2024
SMEs - Startup
บีคอน วีซี เดินหน้ากองทุน Beacon Impact Fund
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต จ่ายสินไหมกรณีอุบัติเหตุสายการบินเชจูแอร์
รถยนต์
กระหึ่มโลก! “เปิดฤดูกาล MotoGP2025” ครั้งแรกในไทย
ท่องเที่ยว
ทีทีบี ชวนเที่ยว “พิพิธภัณฑ์ครุฑ” ช่วงเทศกาลปีใหม่
อสังหาริมทรัพย์
PROUD ลุยยกระดับสุขภาพคนไทยกับโครงการ "Wellness District ชุมชนสุขภาพดี"
การตลาด
PLUS ได้รับการรับรองเป็นสมาชิก CAC ยกระดับองค์กรโปร่งใส
CSR
บีคอน วีซี เดินหน้ากองทุน Beacon Impact Fund
Information
ไทยวา คว้ารางวัล Prime Minister’s Export Award 2024 ด้านความยั่งยืน
Gossip
DEMCO ย้ายกลุ่มธุรกิจต้อนรับปีใหม่
Entertainment
เดินหน้าจัดกิจกรรม "ส่งเสริมสุขภาพใจ ใส่ใจสุขภาพจิต"
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO รุกซื้อหนี้เติมพอร์ต อัพผลงานโตเกิน 20%
ttb analytics ส่องยอดขายรถยนต์ในประเทศหดตัว สวนทางตลาด EV โตร้อนแรง
2023-09-28 18:05:25
226
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ttb analytics ประเมินยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 66 ไม่ถึง 8.4 แสนคัน สวนทางรถยนต์นั่ง EV โต 5 เท่า ชี้ตลาดในประเทศยังเผชิญแรงกดดันจากมาตรการคุมเข้มและกำลังซื้อชะลอตัว
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2566 อยู่ที่ 8.35 แสนคัน หรือ หดตัว 1.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน แม้ว่าจะได้อานิสงส์ตลาดรถยนต์นั่งไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเกือบแตะ 6 หมื่นคัน แต่ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังเผชิญกับแรงกดดันรอบด้านทั้งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่แผ่วลงค่อนข้างเร็ว กำลังซื้อชะลอตัวลงจากหนี้ครัวเรือนสูง รายได้เกษตรกรเปราะบาง ตลอดจนการชะลอซื้อรถยนต์ของภาคธุรกิจเพื่อรอความชัดเจนจากมาตรการรัฐ ขณะเดียวกันสถาบันการเงินก็เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถ จากคุณภาพสินเชื่อเช่าซื้อที่มีแนวโน้มด้อยลง และต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มสูงขึ้นตามวัฎจักรดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงยาวนานเช่นนี้
โดยภาพรวมตลาดรถยนต์ในประเทศมีทิศทางซบเซาต่อเนื่อง เห็นได้จากตัวเลขยอดขายรถยนต์ในประเทศ 8 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 524,784 คัน หรือหดตัว 6.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ซึ่งเมื่อพิจารณาลงลึกเป็นรายพื้นที่จากยอดจดทะเบียนใหม่ ก็พบว่า ตัวเลขรถยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่หดตัวถึง 22.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน รองลงมาคือ ภาคกลางและภาคใต้ที่หดตัว 19.2% และ 9.6% ตามลำดับ ยกเว้นกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีทิศทางทรงตัว
ทั้งนี้ การชะลอตัวของยอดขายรถยนต์ในประเทศมาจากรถยนต์เชิงพาณิชย์เป็นหลัก โดยหดตัวสูงถึง 13% จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แผ่วกว่าที่คาด แต่ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในกลุ่มรถกระบะและรถยนต์เอนกประสงค์ (PPV) ระดับพรีเมียมกลับยังขยายตัวได้ดีในเกือบทุกภูมิภาค ส่วนยอดขายประเภทรถยนต์นั่งยังขยายตัวได้ 3.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายกลุ่มนี้จะอ่อนไหวต่อภาพของเศรษฐกิจน้อยกว่ารถยนต์เชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังได้กระแสความนิยมในรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ได้อานิสงส์จากมาตรการสนับสนุนด้านราคาของภาครัฐ ส่งผลให้ยอดขายรถ EV สะสมตั้งแต่ต้นปีสูงถึง 59,025 คัน หรือขยายตัวถึง 433.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ส่วนแบ่งตลาดรถยนต์นั่งโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 3% ในปี 2565 เป็น 15-20% ในปัจจุบัน
แม้ยอดขายในประเทศโดยรวมหดตัว แต่ตัวเลขส่งออกกลับขยายตัวได้ดี ดันยอดผลิตรถยนต์ 8 เดือนแรกของปี 2566 ให้ขยายตัวได้ 3.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสัดส่วนการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกที่สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2559 ที่ระดับ 59.2% สวนทางกับการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศที่เหลือเพียง 40.8% ซึ่งสอดคล้องกับการชะลอตัวของตลาดในประเทศ ทั้งนี้ ยอดผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกในช่วงที่ผ่านมาที่ขยายตัวถึง 19.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน มาจากการเร่งชดเชยการส่งมอบรถที่ล่าช้า หลังเกิดปัญหาอุปทานชิ้นส่วนสำคัญชะงักงันจนทำให้การผลิตล่าช้าออกไป (Supply Lag) ในปีก่อนหน้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยอดส่งออกรถยนต์นั่งทั้งแบบเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) และ EV รวมไปถึงรถ PPV ที่เพิ่มขึ้นทั้งในตลาดเอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง รวมถึงสหภาพยุโรป
ทั้งนี้ ttb analytics จึงประเมินว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2566 จะอยู่ที่ 8.35 แสนคัน หรือหดตัว 1.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แบ่งเป็นรถยนต์เชิงพาณิชย์ 4.47 แสนคัน หรือหดตัว 10.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และรถยนต์นั่ง 3.88 แสนคัน ขยายตัว 11.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังเผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากการเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อของสถาบันการเงิน ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็ส่งสัญญาณแผ่วลง กำลังซื้อในภาพรวมยังชะลอตัวลงจากหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ผลพวงจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่จะกระทบต่อผลผลิตและรายได้เกษตรกร ตลอดจนการชะลอซื้อรถเพื่อการพาณิชย์ของภาคธุรกิจที่รอความชัดเจนจากมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ
ด้านตลาดรถEV ในปี 2566-2567 จะยังเป็นอีกปีที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยคาดว่ายอดขายรถยนต์นั่ง EV ปีนี้อาจสูงถึงเกือบ 6 หมื่นคัน หรือเติบโตไม่น้อยกว่า 5 เท่า ส่วนหนึ่งมาจากจำนวนรุ่นรถ EV ที่จำหน่ายในประเทศมีให้เลือกมากกว่า 50 รุ่นย่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะภายหลังจากที่ภาครัฐออกมาตรการสนับสนุนการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ หรือ มาตรการอีวี 3.0 (และล่าสุดได้ออกมาตรการอีวี 3.5 ต่อเนื่องจากมาตรการเดิมที่จะหมดอายุสิ้นปี 2566) ส่งผลให้แบรนด์ผู้ผลิตรถ EV จีนรายใหญ่เร่งนำเข้ารถสำเร็จรูปจากจีนเพื่อเข้ารับการส่งเสริมการลงทุนในประเทศกันอย่างคึกคัก กดดันให้ราคารถใหม่ในตลาดปรับตัวลงไม่น้อยกว่า 10-20% จนเรียกได้ว่าเป็นสงครามราคา (Price War) ที่กระตุ้นให้รถ EV มีความน่าสนใจในสายตาผู้บริโภคมากขึ้น
สำหรับธุรกิจเช่าซื้อของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในปี 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวจากปีก่อน ซึ่งมีส่วนกดดันอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ เนื่องจากมาตรฐานการให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในช่วงที่เหลือของปียังเข้มงวดต่อเนื่อง จากความกังวลต่อความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้และความเสี่ยงของมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกันจากอุปทานรถยนต์ในตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงคุณภาพสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่คาดว่าจะด้อยลงต่อจากแนวโน้มที่ Stage 2 ในปัจจุบันจะไหลมาเป็นหนี้เสีย (NPLs) เพิ่มเติมอีกไม่ต่ำกว่า 2-3 พันล้านบาท รวมไปถึงต้นทุนการกู้ยืมของสถาบันการเงินที่ยังปรับตัวสูงขึ้นตามวัฎจักรดอกเบี้ยที่ยืนสูงในรอบ 10 ปี ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้เป็นพิเศษ และส่งผลให้อัตราการอนุมัติสินเชื่อมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน
IRPC ชนะประมูลโซลาร์เซล 74.88 MW - ADVANC โบรกฯ ให้เป้า 294 บ.
HFT มั่นใจรายได้ปี 67 เข้าเป้า โต 15%
EP เตรียมลุย COD วินด์ฟาร์มเวียดนาม
PRM เปิดแผนปี 68 บุ๊กรายได้ลูกค้าใหม่ประเดิมต้นปี
ACC อนุมัติล้างขาดทุนสะสม ย้ำ! กลับมาเทิร์นอะราวด์ - GFC ลุยแผนเปิด2สาขาใหม่
ACC เดินเกมล้างขาดทุนสะสม โวผลงานปีนี้เทิร์นอะราวด์