4.การสนับสนุนจากภาครัฐ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทรนด์ Pet tourism จึงจัดทำโครงการ Amazing Happy Paws เพื่อประชาสัมพันธ์และโปรโมต Pet tourism ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีสัตว์เลี้ยง ควบคู่ไปกับการสร้างฐานข้อมูลธุรกิจ Pet friendly เพื่อกลุ่ม Pet tourist โดยเฉพาะด้วย ซึ่งส่งผลให้การพาสัตว์เลี้ยงไปท่องเที่ยวได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น
4.ธุรกิจ Pet healthcare & Wellness ด้วยการให้บริการในหลายด้าน เช่น การบริการ Pet care และ Pet grooming เพื่อเตรียมความพร้อมให้สัตว์ก่อนออกไปเที่ยว การตรวจสุขภาพและออกใบรับรองสุขภาพพร้อมฝังไมโครชิพเพื่อใช้ในการเดินทาง และการให้บริการด้านเวลเนสแก่สัตว์เลี้ยง อย่างเช่น การทำสปา การฉีดวัคซีน และการพาไปออกกำลังกายหรือว่ายน้ำ
สำหรับความท้าทายของภาคธุรกิจในการรองรับ Pet tourism คือการสร้างสมดุลในการให้บริการระหว่างกลุ่มลูกค้ารักสัตว์และกลุ่มที่ไม่คุ้นเคยกับสัตว์/เป็นภูมิแพ้สัตว์ และต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริการที่เพิ่มขึ้น โดยในด้านแรก ปฏิเสธไม่ได้ว่าการดำเนินธุรกิจจะต้องพึ่งพาลูกค้าทั้งกลุ่มรักสัตว์และกลุ่มที่ไม่คุ้นเคยกับสัตว์/เป็นภูมิแพ้สัตว์ ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจต้องแบ่งแยกพื้นที่ให้บริการของแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน และกำหนดมาตรฐานความสะอาดในการให้บริการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจแก่ลูกค้าทั้ง 2 กลุ่ม ในอีกด้านหนึ่ง ธุรกิจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการรองรับกลุ่ม Pet tourist ที่จะต้องบริหารจัดการในรูปแบบของต้นทุนในการทำความสะอาด บุคลากรที่มารองรับการให้บริการ การบำรุงรักษา และอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับสัตว์เลี้ยง