Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
MAI
DOD ส่งซิก ปั้นรายได้รวมปี 68 แตะ 800 ล้านบ. ลุ้นจ่ายปันผล
IPO
‘BKA’ ฮอต หุ้น IPO 60 ล้านหุ้น ขายเกลี้ยง
บล./บลจ
Webull ส่ง ‘Daily Interest’ รับมือตลาดผันผวน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY ชี้เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า จับตาบอนด์สหรัฐ
การค้า - พาณิชย์
บสย. โชว์ผลงานไตรมาส 1/68 ลุยปลดล็อก SMEs
พลังงาน - อุตสาหกรรม
RT ผนึก กรมโยธาฯ ตรวจสอบอาคารในกรุงเทพฯ
คมนาคม - โลจิสติกส์
WSOL ส่ง SABUY Speed ชิงส่วนแบ่งตลาดขนส่ง 5%
แบงก์ - นอนแบงก์
KBANK ขยายบริการ QR สแกนจ่ายผ่าน K PLUS ตั้งเป้าธุรกรรมโต 9 เท่า
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
‘กรุงศรี มอเตอร์ไซค์’ ครองแชมป์สินเชื่อสองล้อ ดันยอดสินเชื่อโต 10%
SMEs - Startup
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
ประกันภัย - ประกันชีวิต
“เมืองไทยประกันชีวิต” คลอดแคมเปญ “ShieldLife”
รถยนต์
GPI ลุยธุรกิจใหม่จัดอีเวนต์ด้าน Sport สู่กลุ่มเด็ก
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
“อรสิริน” ได้ฤกษ์มงคล ลงเสาเอก “อะไรซ์ ไวบ์ ภูเก็ต”
การตลาด
CardX ลุยช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
CSR
KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab
Information
วิริยะประกันภัย สนับสนุนน้ำดื่มบริการประชาชนแก่ กทพ.
Gossip
TPS เชิญประชุม ผถห. รูปแบบออนไลน์
Entertainment
ไทยประกันชีวิต จัดแคมเปญวิ่ง “PASSION FOR LIFE”
สกุ๊ป พิเศษ
"กองทุนรวม Thai ESGX" โอกาสลงทุนใหม่ เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี
fintips by ttb ชวนมนุษย์เงินเดือนพิชิตเงินล้าน
2023-02-21 18:10:22
242
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - มนุษย์เงินเดือนหลายคนอาจจะเคยเจอกับปัญหาเรื่องการออมเงิน เช่น ออมเท่าไหร่ก็ไม่ถึงเป้าหมายสักที เงินไหลออกทุกเดือน นั่นอาจไม่ได้เป็นเพราะว่าเราเป็นคนเก็บเงินไม่เก่ง แต่บางครั้งเราอาจกำลังติดนิสัยหรือความเคยชินบางอย่าง วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ ชวนมาลองสำรวจกันว่าคุณกำลังมี 6 นิสัยที่เป็นอุปสรรคในการออมเงินอยู่หรือไม่ และเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนชีวิตทางการเงินให้ดีขึ้นด้วยทริคง่าย ๆ
1. เลิกใช้เงินก่อน แล้วออมทีหลัง
เงินเดือนเข้าบัญชีปุ๊บ ก็โอนออกไปใช้จ่ายปั๊บ เหลือเท่าไรค่อยนำมาเป็นเงินเก็บ ลองเปลี่ยนวิธีเป็นการออมเงินก่อนแล้วค่อยใช้ทีหลังแทน จะช่วยให้ออมเงินตามเป้าหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ควรกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการออมในแต่ละเดือนไว้ด้วย เพื่อสร้างความสม่ำเสมอ และทำจนเป็นนิสัย เช่น เมื่อเงินเดือนเข้า จะหัก 10% ของเงินเดือนมาเป็นเงินออมทันที เหลือเท่าไรค่อยนำไปใช้จ่าย หรือ สร้างนิสัยรักการออม โดยการหยอดกระปุกทุกวัน ๆ ละ 100 บาท เป็นต้น
2. เลิกตามกระแส
ปัจจุบัน โซเชียลมีเดียเข้ามามีผลต่อนิสัยของมนุษย์เป็นอย่างมาก ทำให้ผู้บริโภคตกเป็นทาสการตลาด ช้อปจนอาจลืมคำนึงถึงความจำเป็น ทำให้บ่อยครั้งที่เรามักจะหมดเงินไปกับกระแสนิยม ดังนั้น ก่อนใช้จ่ายสิ่งใด ควรคำนึงถึงความจำเป็นก่อนเสมอ ซื้อของเพราะต้องใช้ ไม่ใช่เพราะของมันต้องมี
3. เลิกก่อหนี้ โดยไม่จำเป็น
รูดไปก่อน ค่อยจ่ายทีหลัง เพื่อตัดปัญหาเหล่านี้จึงควรเลิกก่อหนี้โดยไม่จำเป็น และรู้จักบริหารเงินอย่างชาญฉลาด เช่น รูดบัตรเครดิตในจำนวนเงินที่ผ่อนไหว, ไม่ใช้จ่ายเกินตัว เป็นต้น สามารถเลือกใช้บัตรเครดิตที่ตอบโจทย์การใช้จ่ายของมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ได้มากยิ่งขึ้น เช่น บัตรเครดิตที่มีบริการแบ่งชำระค่าสินค้าและบริการ 0% ตามกำลังที่สามารถแบ่งจ่ายได้
4. เลิกใช้เงินแบบไม่วางแผนอนาคต
หากประสบปัญหาเงินเดือนไม่พอใช้ถึงสิ้นเดือน หรือวางแผนทางการเงินไม่ดีพอ ลองหันมาทำรายการสรุปค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยจดบันทึกค่าใช้จ่ายรายวัน-รายสัปดาห์ รวมถึงการทำงบการเงินล่วงหน้าเพื่อประเมินรายรับ-รายจ่ายที่จะเกิดขึ้น จะช่วยให้บริหารเงินได้ดียิ่งขึ้น
5. เลิกลงทุนโดยไม่ศึกษาให้รอบคอบ
ไม่ว่าจะลงทุนอะไรก็ตาม ควรศึกษาให้ละเอียดด้วยตัวเอง โดยทำความเข้าใจ พร้อมทั้งศึกษารายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ วางแผนการลงทุนให้รอบด้าน หากต้องการคำแนะนำ ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
6. เลิกเก็บเงินบัญชีเดียว
การใช้จ่าย และเก็บเงินในบัญชีเดียวกันนั้น อาจทำให้เผลอใช้เงินเก็บไปโดยไม่รู้ตัวได้ ดังนั้น ควรแยกบัญชีเงินออม และเงินสำหรับใช้จ่ายออกจากกัน และควรแยกบัญชีตามจุดประสงค์ในการออมเงิน เช่น แบ่งเงินเป็น 3 ส่วน คือ สำหรับใช้จ่าย, สำหรับออมเพื่อลงทุน และสำหรับออมไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เป็นต้น
หลังจากได้สำรวจตัวเองเพื่อ ลด-ละ-เลิก นิสัยที่ทำให้เก็บเงินไม่อยู่กันไปแล้ว fintips by ttb ยังมีเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการพิชิตเงินล้านแบบฉบับมนุษย์เงินเดือนมาฝากกัน เพียงแค่ 3 ป. พิชิตเงินล้าน ฉบับพนักงานเงินเดือน
1. ป้องกันความเสี่ยง: การมีเงินทุนสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เป็นหนึ่งสิ่งสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงด้านการเงิน เนื่องจากอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน การมีเงินสำรองไว้สักก้อนจึงเป็นสิ่งที่ทำอุ่นใจมากกว่า โดยควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน สำหรับใช้อย่างน้อย 6-12 เดือน เผื่อไว้ในกรณีขาดรายได้ หรือเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น หากมีรายรับ 25,000 บาทต่อเดือน และมีรายจ่ายรวมต่อเดือน 14,000 บาท ดังนั้น ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินประมาณ 84,000-168,000 บาท (6-12 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน) และอีกหนึ่งสิ่งที่คนมักมองข้ามนั่นคือ การซื้อประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน เพราะเมื่อเจ็บป่วยขึ้นมากะทันหัน ประกันสุขภาพก็ช่วยประหยัดเงินก้อนไปได้อีกเยอะ
2. ปลอดหนี้: รักษาสภาวะ “ปลอดหนี้” เพื่ออนาคตทางการเงินที่มั่นคง เช่น ก่อนรูดบัตรเครดิตซื้อของ ควรศึกษาเงื่อนไขและโปรโมชันให้ดีก่อน และ 3. เปลี่ยนเงินออมให้งอกเงย: หากแบ่งเงินเดือนละประมาณ 5,000 บาท เพื่อออม หรือลงทุนในกองทุนที่น่าสนใจ ได้ผลตอบแทนดี และเลือกความเสี่ยงในระดับที่สบายใจ จะช่วยเปลี่ยนเป้าหมายชีวิตให้กลายเป็นความจริง การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ฉะนั้นควรศึกษาให้ดีก่อนเลือกลงทุน
ที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็น ลด ละ เลิก นิสัยทั้ง 6 ข้อ ที่จะทำให้เก็บเงินไม่อยู่ และทริคดี ๆ เพื่อพิชิตเงินล้าน หากลงมือทำอย่างจริงจัง พร้อมเปลี่ยนตัวเอง ก็จะสามารถทำให้ชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน
มาร่วมออกแบบชีวิตทางการเงินในวันนี้และในอนาคต เพื่อพิชิตเป้าหมายการมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ด้วยเคล็ดลับทางการเงินดี ๆ ได้ที่ “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ เพียงคลิก https://www.ttbbank.com/th/fin-tips-hm24 หรืออ่านบทความเต็มได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/fin-tips-6habits
BBL กำไรโค้งแรกโต 20% รายได้ดอกเบี้ย-ค่าฟีพุ่ง
JMART เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ชุดใหม่ 5.50% เสริมแกร่งการเงิน
WSOL ยื่นฟ้องลูกหนี้-อดีตผู้บริหาร SABUY กว่า 2,600 ล้านบ.
ASIA ปักธงรายได้ปี 68 โต 10% - SGC ลุย “Lock Phone” เป้าสินเชื่อ 8 พันล.
ASIA ผถห.ไฟเขียวปันผล 0.13 บ. ปักธงรายได้ปีนี้โต10%
SGC ชูธุรกิจ Locked Phone ทะยานโต